Author Topic: “อนุดิษฐ์” ไม่กล้าฟันธงเซ็นแท็บเล็ต  (Read 724 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     “อนุดิษฐ์” เปรยไม่อยากกำหนดวันเวลาเซ็นสัญญาแท็บเล็ต ชี้ รอเพียงอัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา ยังเชื่อถึงมือนักเรียน ก.ค.นี้ แน่นอน ล่าสุด เปิดงาน 1st ASEAN CIO Forum 2012 ครั้งแรกในประเทศไทย หวังรวมกลุ่มกันต่อรองราคาสินค้าไอทีจากผู้ผลิต
       
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ CIO ของอาเซียน (1st ASEAN CIO Forum 2012 ) ถึงความคืบหน้าโครงการจัดหาแท็บเล็ตเด็ก ป.1 หรือโครงการคอมพิวเตอร์มือถือ สำหรับนักเรียนทุกคน (One Tablet PC Per Child) จำนวน 1 ล้านเครื่อง ราคาต่อเครื่อง 82 เหรียญสหรัฐฯ ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไปเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา
       
       โดยหากพูดถึงความพร้อมในการลงนามสัญญาการจัดซื้อดังกล่าว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดในร่างสัญญาการจัดซื้อจากสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ จากนั้นเมื่อสำนักงานอัยการสูงสุด ส่งร่างสัญญากลับมายังกระทรวงไอซีที และกระทรวงไอซีที จะเรียกสโคแพดมาลงนามในสัญญาได้ทันที ซึ่งในตอนนี้ทางสโคแพดรอเพียงเอกสารให้มาลงนามในสัญญาจากกระทรวงไอซีทีเท่านั้น เพื่อนำไปเป็นหลักฐานขอหลักทรัพย์ค้ำประกัน (แบงก์การันตี)ได้
       
       “เราไม่อยากกำหนดระยะเวลาตายตัว ว่า จะสามารถเซ็นสัญญากับทางสโคปได้เมื่อใด เพราะเป็นการบีบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำสัญญาดังกล่าว แต่ยังเชื่อว่าจะได้รับแท็บเล็ตครบทั้งหมดภายในเดือน พ.ค.นี้ และคาดว่า จะส่งถึงมือนักเรียนทั่วประเทศเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์เสริมในการเรียนได้ภายในเดือน ก.ค.นี้แน่นอน”
       
       ในขณะที่การเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะอย่างเป็นทางการนั้น นายกรัฐมนตรี ได้มีโอกาสพบกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด หรือที่เรียกกันว่า สโคแพด ด้วยแต่เป็นเพียงการเข้าเยี่ยมคาราวะเท่านั้นไม่ได้มีการพูดคุยในเรื่องแท็บเล็ตเพิ่มเติมแต่อย่างใด
       
       ทั้งนี้ เบื้องต้นกระทรวงไอซีทีได้ให้ข้อกำหนด (TOR) กับทางบริษัท สโคป ก่อนหน้านี้ ในประเด็นข้อตกลงการจัดส่งเครื่องแท็บเล็ตมายังไทยนั้น โดยได้กำหนดให้แบ่งการจัดส่งออกเป็น 2 ช่วง คือ จำนวน 4 แสนเครื่อง ภายใน 60 วัน และอีก 5 แสนเครื่อง ภายใน 90 วัน โดยนับตั้งแต่วันเซ็นสัญญาจัดซื้อ
       
       นอกจากนี้ ก่อนที่จะเริ่มการผลิตแท็บเล็ต 1 ล้านเครื่องจากบริษัทส โคป นั้น ทางกระทรวงไอซีทีจะต้องมีการตรวจรับแท็บเล็ตก่อนจำนวน 2,000 เครื่อง เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ และสเปก ว่า ตรงตามที่กำหนดในร่างสัญญาหรือไม่ ก่อนที่จะเริ่มต้นการผลิตแท็บเล็ตครบจำนวนดังกล่าว ซึ่งคาดว่า สโคปมีอัตราการผลิตได้วันละ 10,000 เครื่อง จึงเชื่อว่า น่าจะทันเวลาตามกำหนดเดิมที่วางไว้ก่อนหน้านี้
       
       ส่วนในกรณีที่คณะกรรมการจัดซื้อแท็บแล็ต ที่มี นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงไอซีที เป็นประธาน จะของบกลางเพิ่มจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเป็นค่าขนส่งแท็บแล็ตไปยังโรงเรียนต่างจังหวัดทั่วประเทศ จากเดิมไม่ได้กำหนดไว้ จำนวน 50 ล้านบาท นั้น ตนมองว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินก้อนใหม่อย่าเอามารวมกับก้อนเดิมที่มีการอนุมัติก่อนหน้านี้ ซึ่งคงต้องผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ก่อน
       
       อีกทั้งในวันนี้ (19 เม.ย.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ร่วมกับ The Authority for Info-communications Technology Industry (AITI) ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม และ สมาคมซีไอโอ 16 (CIO16) แห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 1st ASEAN CIO Forum 2012 ภายใต้แนวคิดการมุ่งให้ความสำคัญในการพัฒนาด้าน ICT (ICT Development) การปรับเปลี่ยนด้าน ICT (ICT Transformation) และการหาแนวร่วมด้าน ICT (ICT Crowd Sourcing)ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการเชิญ 10 ประเทศในอาเซียนเข้าร่วมประชุมครั้งนี้
       
       น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ตัวอย่างหนึ่งที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาขับเคลื่อนเ พื่อรองรับการรวมกลุ่มของประเทศในอาเซียน คือ นโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ของรัฐบาล ซึ่งจะขับเคลื่อนด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่ สมาร์ทเน็ตเวิร์ก คือ การให้ประชาชนเข้าถึงการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ครอบคลุมประชากร 80% ภายใน 3 ปี และสมาร์ทกอฟเวิร์นเมนท์ (Smart Goverment) คือ การสนับสนุนให้บริการภาครัฐผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว รวมถึงสมาร์ทบิสซีเนส คือ การกระตุ้นให้คนไทยนำเอาเทคโนโลยีไอซีทีไปทำธุรกิจต่างๆ นอกจากนี้ อาเซียนเองจะต้องร่วมมือกันโดยการเป็นไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อให้การเชื่อมต่อบรอดแบรนด์ของประชาชนเป็นไปอย่างปลอดภัย
       
       ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวถือเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญยิ่งตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน 2015 และยังจะเป็นพื้นฐานสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ในความร่วมมือระหว่างกัน ตั้งแต่กลุ่มผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ CIO ของอาเซียน ไปจนถึงภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และสถาบันต่างๆ
       
       สำหรับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน 2015 นั้น เกิดจากความร่วมมือของรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จำนวน 10 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดเตรียมทิศทางเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน เพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการสร้างชุมชนอาเซียน
       
       ด้าน นายไชยเจริญ อติแพทย์ นายกสมาคม CIO 16 เปิดเผยว่า การจัดประชุม ASEAN CIO Forum ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทุกภาคส่วนในประเทศตระหนัก และเตรียมการดำเนินการ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการที่อาเซียนจะกลายเป็นประชาคมเดียวกัน ในปี 2558
       
       อีกทั้งยังมองว่า ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับหลังมีการวมตัวกันในกลุ่มประเทศอาเซียนแล้วคือเราจะสามารถต่อรองการซื้อสินค้าด้านไอทีจากประเทศผู้ผลิต อาทิเช่น ในฝั่งยุโรป เป็นต้นได้ในราคาถูกลง พร้อมทั้งยังสามารถจะดึงงบประมาณ และบุคลากรจากประเทศอินเดีย จีน ให้มาลงทุนในฝั่งอาเซียนมากขึ้น รวมไปถึงการรวมกันผลิตซอฟต์แวร์ หรืออะไรสักอย่างขึ้นมาเพื่อออกไปทำตลาดโลกได้
       
       Company Related Link :
       กระทรวงไอซีที

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)