Author Topic: กสทช. ยืมมือไอซีที ลงดาบไทยคม  (Read 810 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       กสทช.เตรียมเข้าพบปลัด ก.ไอซีที พรุ่งนี้ (19 เม.ย.) หวังให้ช่วยในฐานะผู้ให้สัมปทานกับไทยคม หลังปล่อยให้มีโฆษณาที่เป็นอันตราย และเกินจริงต่อผู้บริโภค ก่อนบุกไทยคม 30 เม.ย.หาทางออกปัญหาดังกล่าว ส่วนการออกใบอนุญาตคาดไม่เกินไตรมาส 3 ปีนี้
       
       น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (19 เม.ย.) เวลา 13.30 น.ตัวแทนจากคณะอนุฯ และ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค จะเข้าพบหารือกับ นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อให้เข้าไปดำเนินการตักเตือนขอความร่วมมือ และหาแนวทางแก้ไขกับบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในการปล่อยให้ช่องรายการต่างๆ นำเสนอโฆษณาอาหาร และยาที่เกินความเป็นจริง ก่อนจะเดินทางไปพบบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 30 เม.ย. เวลา 13.00 น.เพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนต่อไป
       
       เนื่องจากก่อนหน้านี้ ทาง กสทช.เคยได้เรียกทางไทยคม เข้าพบเพื่อหาแนวทางแก้ไขในปัญหาดังกล่าวมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่เป็นผล โดยยังคงปล่อยให้มีโฆษณาที่เกินจริงบนทีวีดาวเทียมไทยคมอยู่ ทั้งนี้ กสทช.เองไม่มีอำนาจสั่งการ หรือให้ดำเนินโดยตรง เป็นเพียงแค่ขอความร่วมมือกับไทยคมเท่านั้นในตอนนี้ ซึ่งต้องรอให้มีการบังคับใช้ใบอนุญาตก่อน
       
       ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งที่ กสทช.จำเป็นต้องเข้าไปขอความร่วมมือกับทางกระทรวงไอซีที เนื่องจากกระทรวงไอซีที ถือเป็นผู้ให้สัมปทานโดยตรงกับไทยคมอยู่ จึงมีอำนาจในการแจ้งเตือน หรือสั่งให้หาแนวทาง และทางออกกับไทยคมได้
       
       ส่วนในวันที่ 30 เม.ย.นี้ ที่ทาง กสทช.จะเข้าไปที่ไทยคมนั้น ถือเป็นการเข้าพบเพื่อหาทางออก หรือมาตรการชั่วคราวของปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งจะขอรายชื่อผู้ที่ออกอากาศทั้งหมดด้วย
       
       “คาดว่า ใบอนุญาตจะสามารถบังคับใช้ และประกาศอย่างเป็นทางการได้ไม่เกินไตรมาส 3 ปีนี้แน่นอน ซึ่งในตอนนี้มีเคเบิ้ลทีวีกว่า 1,042 ช่องที่รอใบอนุญาต ซึ่งยังไม่รวมทีวีดาวเทียมของไทยคมอีกประมาณ 400 ช่อง”
       
       นอกจากนี้ ทาง กสทช.ยังได้เตรียมการนำเรื่องปัญหาดังกล่าวเข้าเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช.ทั้งบอร์ด กสท และบอร์ด กทค.เพื่อออกมาตรการชั่วคราวในการหาแนวทางกำกับดูแลผู้ประกอบการดาวเทียม ในรูปแบบการบันทึกความผิด หรือแบล็กลิสต์ เพื่อให้ส่งผลต่อการขอใบอนุญาตต่อไป ก่อนที่ในไตรมาส 2 จะออกเป็นร่างหลักเกณฑ์ และคาดว่า จะออกใบอนุญาตประกอบกิจการช่องรายการทีวีดาวเทียม ฯลฯ อย่างเป็นทางการ และมีผลบังคบใช้ภายในไตรมาสที่ 3 ต่อไป เพื่อเป็นมาตรฐานในการดำเนินการของทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี เพื่อให้เป็นการควบคุมมาตรฐานแบบเดียวกันทั้งหมด
       
       น.ส.สุภิญญา กล่าวต่อว่า ตนเอง พร้อม นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กสทช.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีแนวทางที่จะทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน หรือ MOU ในการกำกับดูแลการโฆษณา และเผยแพร่ออกอากาศของผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
       
       โดยในตอนนี้อยู่ระหว่างปรับแก้ไขรายละเอียดในบ้างประเด็นของ MOU ดังกล่าวเท่านั้น ก่อนจะเสนอเพื่อให้บอร์ด กสทช.พิจารณาต่อไปซึ่งคาดว่าภายในเดือน เม.ย.นี้จะแล้วเสร็จ
       
       อนึ่ง การโฆษณาและเผยแพร่ออกอากาศรายการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว คือ อย.และ สคบ. ได้ชี้แล้วว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย สถานีต่างๆ ก็ไม่สามารถออกอากาศได้ เพราะอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดต่อพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 37
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)