Author Topic: อินเทล เปิดซีออนใหม่ ตอบโจทย์ ดาต้าเซ็นเตอร์ สมัยใหม่  (Read 803 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


อินเทลไทย เปิดตัวโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ ซีออน E5-2600 ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ดาต้าเซ็นเตอร์โดยเฉพาะ ด้วยประสิทธิภาพที่แรงขึ้น 80% จับ I/O ในใส่ในซีพียูและรองรับ PCI Express 3.0 ช่วยความเร็วส่งผ่านข้อมูล 3 เท่า แถมประหยัดพลังงาน 50% คาดผู้ผลิตพร้อมส่งมอบได้ตั้งแต่เดือนเมษายน
       
       นายพอล เฮนส์ ผู้อำนวยการเอนเตอร์ไพรส์ โซลูชั่นส์ เซลส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีดีไวซ์เชื่อมต่อจำนวน 1.5 หมื่นล้านชิ้นและมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกว่า 3 พันล้านคนภายในปี 2558
       
       ในขณะที่จำนวนข้อมูลที่เข้าออกในไอพีของดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกก็ได้รับการคาดว่าจะเติบโตขึ้น 33% ต่อปีจนกระทั่งถึงปี 2558 ที่จะโตกว่า 4.8 ซีต้าไบต์ต่อปีหรือโตขึ้นคิดเป็น 3 เท่าของจำนวนข้อมูลในปี 25546 การพัฒนาในระดับนี้ ผู้ใช้แต่ละคนจะใช้ข้อมูลส่งผ่านอินเทอร์เน็ตมากกว่า 4 กิกะไบต์ต่อวัน หรือเทียบได้กับขนาดของภาพยนต์ HD ความยาว 4 ชั่วโมง และจำนวนข้อมูลที่เก็บจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 50% ต่อปี เพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตที่กำลังมาถึงนี้ได้มีการคาดการณ์ว่าจำนวนคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าภายในปี 2558
       
       “การเติบโตของคลาวด์คอมพิวติ้ง และดีไวซ์ที่มาเชื่อมต่อได้มามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าที่ภาคธุรกิจจะได้รับจากผลิตภัณฑ์และบริการด้านไอที ภาคธุรกิจต่างๆ ที่ คาดหวังถึงประโยชน์จากการใช้นวัตกรรมนี้ ควรต้องทราบถึงความจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตขององค์ประกอบขั้นพื้นฐานของดาต้าเซ็นเตอร์ ทั้งด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
       
       โดยอินเทลได้พัฒนาซีพียูสำหรับตลาดเซิร์ฟเวอร์ ซีออน E5-2600 ที่มีการออกเบบมาเพื่อตอบรับกับการใช้งานด้านดาต้าเซ็นเตอร์โดยเฉพาะ จุดเด่นของโปรเซสเซอร์ อินเทล ซีออน E5-2600 นั้น มีด้วยกัน 3 เรื่อง เรื่องแรก โปรเซสเซอร์แต่ละตัวสามารถรองรับได้ถึง 8 คอร์ พร้อมเมมโมรี่ของระบบสูงสุด 768 กิกะไบต์ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 80% เมื่อเทียบกับโปรเซสเซอร์ ซีออน 5600 รุ่นก่อนหน้านี้ และยังสนับสนุนการทำงานของ Intel Advanced Vector Extension ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันที่อาศัยการประมวลผลชั้นสูง เช่นการประมวลผลด้านการเงิน การสร้างคอนเทนท์มีเดียและการประมวลผลด้วยประสิทธิภาพสูงถึง 2 เท่า และเทคโนโลยีที่เพิ่มเข้ามาในโปรเซสเซอร์รุ่นนี้ คือ Intel Turbo Boost Technology 2.0 Intel Hyper-Threading Technology และ Intel Virtualization Technology ที่ให้คุณสมบัติที่ยืดหยุ่นด้านไอทีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานทำให้ อินเทล ซีออน E5-2600 สามารถสร้างสถิติโลกในการเป็นโปรเซสเซอร์ที่จับกับซ็อกเก็ตคู่แบบใหม่ได้ 15 ตัว10 บนสถาปัตยกรรม x86
       
       ถึงแม้ประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการดาต้าเซ็นเตอร์สมัยใหม่ยังมองถึงการลดพลังงานที่ทำให้ลดค้าใช้จ่ายทางด้านพลังงานลงไปด้วย โดยประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานวัดโดย SPECpower_ssj*2008 เพิ่มขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับซีรี่ส์ อินเทล ซีออน 5600 รุ่นก่อน ซีออน E5-2600 มีตัวช่วยในการดูและควบคุมการใช้พลังงาน เช่น Intel Node Manager และ Inte Data Center Manager ที่ให้กำลังและค่าความร้อนที่ถูกต้องและตรงเวลาที่แสดงอยู่บนแผงคอนโซลควบคุมระบบ นอกจากนั้น ประสิทธิภาพอันล้ำหน้าของอินเทลยังช่วยเหลือให้ผู้จัดการด้านไอทีต่างได้รับโปรเซสเซอร์ที่ตรงตามความต้องการที่สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันยังสามารถใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายในราคาต้นทุนอีกด้วย
       
       เรื่องที่สอง ทางอินเทลได้พัฒนาระบบ I/O ใหม่ ที่เรียกว่า Intel Integrated I/O และ Intel Data Direct I/O โดยรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตัวซีพียู ทำหน้าที่ในการช่วยให้ระบบควบคุมอีเทอร์เน็ตและอะแดปเตอร์ส่งผ่านข้อมูลที่เข้าและออกโดยตรงไปยังแคชของโปรเซสเซอร์ เพื่อเป็นการลดเวลาที่ข้อมูลเดินทางไปยังเมมโมรี่ของระบบ และลดพลังงานรวมทั้งจำนวนข้อมูลเข้าออก นอกจากจะเพิ่มความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเพื่อสนับสนุนแอปพลิเคชั่นที่ต้องใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ และเพิ่มจำนวนแบนด์วิดในดาต้าเซ็นเตอร์อีกด้วย
       
       เรื่องที่สาม ซีออน E5-2600 เป็นโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ตัวแรกที่ผสมผสานระบบควบคุมข้อมูลเข้าออกที่สนับสนุน PCI Express 3.0 ไปยังไมโครโปรเซสเซอร์โดยตรง การผสมผสานกันนี้ช่วยลดปริมาณข้อมูลที่อยู่ในระบบได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ และ PCI Express 3.0 ยังเพิ่มปริมาณการส่งผ่านข้อมูลเข้าและออกจากโปรเซสเซอร์ได้เป็น 3 เท่า
       
       ความปลอดภัย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ ซีออน E5-2600 ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของอินเทลในการนำเสนออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์พื้นฐานที่มีความปลอดภัยสูงขึ้นสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ โดยเทคโนโลยี Intel Advanced Encryption Standard New Instruction ช่วยให้ระบบแปลงรหัสและถอดรหัสของข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลอยู่ในแอปพลิเคชันและการดำเนินการต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย ในขณะที่ Intel Trusted Execution Technology เป็นเทคโนโลยีสำหรับการปกป้องข้อมูล ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อาจได้รับความเสียหายคุณสมบัตินี้ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกับแอปลิเคชั่นซอฟต์แวร์ชั้นนำจะช่วยให้แผนกไอทีสามารถปกป้องข้อมูลต่างๆ ได้ ในกรณีที่ดาต้าเซ็นเตอร์ได้รับการบุกรุกหรือเสียหาย
       
       “ในประเทศไทย ผู้ผลิตพีซีแบรนด์ต่างๆ พร้อมที่จะส่งมอบเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ซีออน E5-2600 แล้ว ณ วันนี้ โดยคาดว่าจะพร้อมส่งมอบได้ตั้งแต่เดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและกลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์ของแต่ละแบรนด์เป็นหลัก การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีซีพียูในเครื่องระดับเซิร์ฟเวอร์ใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงไม่รวดเร็วเท่ากับในตลาดคอนซูเมอร์ซึ่งน่าจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไป”
       
       Company Relate Link :
       Intel

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)