Author Topic: EU สกัด Google นโยบายใหม่ ส่อผิดกฏหมาย  (Read 1381 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


นโยบายความเป็นส่วนตัวที่กูเกิลปรับปรุงใหม่ กำลังเป็นปัญหากับสหภาพยุโรป


เนื้อหาหลักของนโยบายใหม่ที่ถูกปรับปรุง เกี่ยวข้องกับการรวมนโยบายความเป็นส่วนตัวผู้ใช้เป็น 1 เดียวสำหรับใช้งานทุกบริการของกูเกิล

<a href="https://www.youtube.com/watch?v=KGghlPmebCY" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=KGghlPmebCY</a>

EU สกัด Google นโยบายใหม่ ส่อผิดกฏหมาย EU สกัด Google นโยบายใหม่ ส่อผิดกฏหมาย EU สกัด Google นโยบายใหม่ ส่อผิดกฏหมาย


คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประกาศชัด นโยบายความเป็นส่วนตัวผู้ใช้ปรับปรุงใหม่ที่กูเกิล (Google) ประกาศตั้งแต่เดือนมกราคมและกำลังมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคมนี้เข้าข่ายผิดกฏหมายสหภาพยุโรป ระบุว่าเป็นคำตัดสินที่เกิดหลังจากได้ตรวจสอบนโยบายใหม่ของกูเกิลอย่างละเอียดโดยองค์กรสัญชาติฝรั่งเศส
       
       วิเวียน เรดิง (Viviane Reding) คณะกรรมการยุติธรรมแห่งคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปหรืออียู ออกแถลงการณ์โดยอ้างผลการตรวจสอบจากสำนัก CNIL (Commission nationale de l'informatique et des libertés) ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบสิทธิส่วนบุคคลอิสระของฝรั่งเศส หนึ่งในประเทศสมาชิกอียูที่ให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภคอย่างมาก
       
       รายงานระบุว่า CNIL สรุปว่านโยบายความเป็นส่วนตัวผู้ใช้ของกูเกิลนั้นไม่ตรงกับจุดประสงค์ในการปกป้องสิทธิผู้บริโภคของอียู ตามที่อียูเคยชี้แจงแก่กูเกิลไปแล้วว่านโยบายใหม่ของกูเกิลอาจนำไปสู่ความขัดแย้งในอียู เนื่องจากอียูต้องการนโยบายให้สิทธิผู้บริโภคที่โปร่งใสมากกว่านี้
       
       นโยบายความเป็นส่วนตัวผู้ใช้ของกูเกิลนั้นถูกปรับปรุงใหม่เนื่องจากความหลากหลายของบริการกูเกิล ที่ผ่านมา แต่ละบริการของกูเกิลทั้ง YouTube, Search หรือ Google+ จะระบุนโยบายความเป็นส่วนตัวผู้ใช้หรือข้อตกลงในการใช้งานที่ต่างกันไป ผลคือวันนี้กูเกิลมีนโยบายความเป็นส่วนตัวผู้ใช้มากกว่า 70 รูปแบบ เพื่อจัดระเบียบรูปแบบนโยบายเหล่านี้ กูเกิลจึงปิ๊งไอเดีย รวมนโยบายความเป็นส่วนตัวผู้ใช้เป็น 1 เดียวสำหรับใช้งานทุกบริการ
       
       นอกจากรวบรวมนโยบายความเป็นส่วนตัวเป็นชุดเดียวกัน กูเกิลยังปรับเงื่อนไขการใช้งานให้อ่านง่ายและมีความยาวสั้นลง ปรากฏว่าอียูเป็นรายแรกที่ประกาศว่าความเปลี่ยนแปลงนี้อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอียู จึงเรียกร้องให้หน่วยงานของฝรั่งเศสเข้าตรวจสอบ ก่อนจะสรุปว่านโยบายใหม่ผิดกฎหมายจริง

ที่ผ่านมา กูเกิลพยายามปกป้องนโยบายใหม่โดยย้ำว่า นโยบายความเป็นส่วนตัวผู้ใช้ใหม่จะทำให้ทุกบริการของกูเกิลอยู่บนการควบคุมเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้กูเกิลสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าเดิม ขณะเดียวกัน กูเกิลย้ำว่าข้อตกลงที่เปลี่ยนไปจะไม่มีผลกับการตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวใดๆที่ผู้ใช้กำหนดไว้เดิม และนโยบายที่เปลี่ยนไปก็ไม่ได้ทำให้กูเกิลมีสิทธิ์เก็บข้อมูลผู้ใช้มากขึ้น
       
       ทั้งหมดนี้กูเกิลยืนยันว่าบริษัทจะไม่เกี่ยวข้องกับการขายข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ แต่กำลังพยายามเป็นผู้นำด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว เพื่อรักษาข้อมูลของผู้ใช้ให้ปลอดภัยตลอดเวลา
       
       อย่างไรก็ตาม นโยบายใหม่โดยรวมของกูเกิลนั้นถูกวิจารณ์ว่าอาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้ในระดับผิวเผิน แต่หากมองให้ดีก็มีความเป็นไปได้ที่กูเกิลจะมีอำนาจในการส่งข้อมูลข้ามบริการมากกว่าเดิม เนื่องจากในข้อตกลงใหม่ระบุว่าการอัปโหลดเนื้อหาใดสู่บริการของกูเกิล ถือว่าผู้ใช้ได้อนุญาตให้กูเกิลต่อยอดเนื้อหานั้นได้ทุกกรณี
       
       "สรุปโดยย่อคือ อะไรที่เป็นของคุณจะยังเป็นของคุณต่อไป เมื่อคุณอัปโหลดหรือส่งเนื้อหามายังบริการของเรา ถือว่าคุณได้อนุญาตให้ Google (และผู้ที่เราทำงานด้วย) ใช้สิทธิในเนื้อหาของคุณ ไม่ว่าที่ใดในโลก ในการใช้ โฮสต์ จัดเก็บ ทำซ้ำ แก้ไข สร้างงานต่อยอดเนื้อหาของคุณ (เช่น งานการแปลภาษา การปรับเปลี่ยน หรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เราทำเพื่อให้เนื้อหาของคุณสามารถใช้งานได้ดีขึ้นร่วมกับบริการของเรา) สื่อสาร เผยแพร่ แสดงต่อสาธารณะ และแจกจ่ายเนื้อหาดังกล่าว" พร้อมกับทิ้งท้ายว่า "โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณมีสิทธิอนุญาตให้ใช้สิทธินี้แก่เราสำหรับเนื้อหาใดๆ ที่คุณส่งไปยังบริการของเรา"

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
3248 Views
Last post August 12, 2009, 03:13:19 AM
by IT
0 Replies
4873 Views
Last post January 15, 2010, 09:12:18 AM
by Nick
0 Replies
2917 Views
Last post March 20, 2010, 11:09:21 AM
by Nick
0 Replies
3599 Views
Last post April 24, 2010, 02:16:24 PM
by Nick
0 Replies
2396 Views
Last post June 16, 2010, 01:36:56 AM
by Nick
0 Replies
2696 Views
Last post December 16, 2010, 04:53:12 PM
by Nick
0 Replies
2557 Views
Last post May 06, 2011, 12:16:08 PM
by Nick
0 Replies
2700 Views
Last post May 30, 2011, 03:14:50 PM
by Nick
0 Replies
2810 Views
Last post June 30, 2011, 04:41:48 PM
by Nick
0 Replies
14469 Views
Last post December 13, 2011, 03:27:10 PM
by Nick