Author Topic: ไขปริศนา 4G ประเทศไทย  (Read 902 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

ไขปริศนา 4G ประเทศไทย
« on: February 09, 2012, 02:02:33 PM »

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เอไอเอส และดีพีซี พร้อมด้วยกระทรวงไอซีที กสทช. บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จัดงานเปิดทดสอบบริการ 4G Thailand The First 100 Mbps ท่ามกลางข้อสงสัยว่าจะรีบร้อนทดลองบริการทำไม ในขณะที่ใบอนุญาต 3G ยังไม่ได้ประมูลด้วยซ้ำ แต่หากมองภาพกว้างจะพบว่าเทคโนโลยีไม่รอใคร โลกทุกวันนี้ความเร็วในการสื่อสารข้อมูล และบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ตเป็นที่ต้องการของทุกผู้คน
       
       การเปิดทดสอบ 4G ก็เหมือนการประกาศความพร้อมให้เห็นว่า ใครก็ตามที่หวังสกัดการประมูลความถี่ เพื่อหวังแต้มต่อในการแข่งขันปัจจุบัน ควรลดละเลิก ได้แล้ว และควรหันมาสนับสนุนเพื่อให้ระบบโทรคมนาคมไทยก้าวหน้าดีกว่า
       
       ****เทคโนโลยี 4G คืออะไร
       
       4G หรือ Long Term Evolution (LTE) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยลดข้อจำกัดของการรับส่งข้อมูลของ GSM/ GPRS/ EDGE ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ให้เพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง (มากกว่า100Mbps) และจะช่วยลดความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลโดยรวม (Latency)
       
       โดยเทคโนโลยีดังกล่าวมีการใช้ความถี่ใน 2 ลักษณะ คือ Time division duplex (TDD) และ Frequency division duplex (FDD) ซึ่งพัฒนาความเร็ว (Data Downlink speed) จาก 42Mbps (HSPA+ Rel-8) เป็น 150Mbps (LTE Rel-8)
       
       ***ทั่วโลกมีบริการ 4G แล้วหรือยัง
       
       จากข้อมูลล่าสุด (ม.ค.55) ของสถาบัน Global mobile Suppliers Association หรือ GSA พบว่ามีการให้บริการ 4G ถึง 49 โอเปอเรเตอร์ จาก 29 ประเทศ และมีถึง 285 โอเปอเรเตอร์จาก 93 ประเทศ ที่มีแผนงานที่จะลงทุนในเทคโนโลยีนี้ ทั้งยังมีอุปกรณ์ที่รองรับ 4G อย่างแพร่หลาย โดยมีอุปกรณ์ที่รองรับ LTE แล้วถึง 197 รุ่นทั้ง เร้าเตอร์ ดองเกิล สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก พีซีการ์ด
       
       ***ทำไมต้องมีโครงการ 4G Thailand
       
       การทดสอบและทดลอง 4G จะช่วยเตรียมความพร้อมในการรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลก กับประชาชนและวิศวกรของไทย นำมาซึ่งการใช้ทรัพยากรทางโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพ ทัดเทียมกับนานาประเทศ และการเลือกทดสอบ 4G ใน 2 พื้นที่ เนื่องจาก LTE ประกอบด้วย 2 เทคโนโลยีย่อย ทั้ง TDD และ FDD เพื่อความสมบูรณ์แบบในการทดสอบข้อดี ข้อเสียของ 4G รวมทั้งประเมินความเหมาะสมกับพื้นที่ประเทศไทย คือ 1. โครงการทดสอบและทดลองระบบบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง BWA ในย่านความถี่ 2300 MHz ของ ทีโอที ขนาด 20 MHz ด้วย LTE ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ TDD
       
       และ 2.โครงการทดสอบและทดลองระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่4 ในย่านความถี่ 1800 MHz จำนวน 10MHz (ขาขึ้น,Uplink)+10 MHz(ขาลง,Downlink) ด้วย LTE ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ FDD
       
       ***TDD ต่างกับ FDD อย่างไร
       
       TDD กับ FDD เป็นเทคนิคในการใช้ความถี่ในลักษณะต่างกัน โดย FDD เป็นการบริหารการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ กับเครือข่าย ด้วยความถี่ จึงจำเป็นต้องกำหนดความถี่ขาขึ้นกับขาลงที่ชัดเจนตาม Global standard ในขณะที่ TDD เป็นการบริหารการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ กับเครือข่าย ด้วยเวลาที่มีการใช้งาน ซึ่งทั้ง 2 เทคนิคต่างมีข้อดีข้อเสีย ซึ่งต้องทดสอบทดลองในสภาพพื้นที่จริงเพื่อที่จะได้ทราบถึงความสามารถของ4G อย่างแท้จริง
       
       ***พื้นที่การทดสอบและทดลองมีที่ใดบ้าง
       
       เพื่อให้สามารถทดสอบถึงความสามารถในการรับส่งข้อมูลในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งานสูง ในพื้นที่ทดสอบสำหรับ Field Test บริเวณเขตพื้นที่กทม.และปริมณฑล ด้วย LTE ซึ่งใช้ความถี่ในลักษณะ TDD ในย่านความถี่ 2300 MHz และพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ด้วย LTE ใช้ความถี่ในลักษณะ FDD ในย่านความถี่ 1800 MHz
       
       ส่วนกลุ่มผู้ทดสอบแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่เทคนิค และผู้ผลิต ประมาณ 20 คนส่วนอีกกลุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่างลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร ประมาณ 100 คน โดยกลุ่มผู้ทดสอบจะต้องได้รับชุดทดสอบซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์ 4G Dongle (4G Aircard) 1 ชิ้น และ 4G SIM 1 ใบ ซึ่งทั้ง 2 กลุ่ม เนื่องจากอุปกรณ์มีจำนวนจำกัดจึงคัดเลือกจากหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้นยังไม่เปิดรับบุคคลภายนอกในโครงการทดสอบนี้
       
       ***การทดสอบจะมีผลกระทบกับลูกค้าปัจจุบันหรือไม่
       
       ในการทดสอบ 4G ในโครงการนี้จะไม่มีผลกระทบใดๆกับผู้ใช้บริการปัจจุบัน เนื่องจากความถี่ที่ใช้ในโครงการ (2.3GHz ในกทม.) และ อุปกรณ์ที่รองรับ 4G (TDD ในกทม.) เท่านั้น รวมทั้ง SIM ในหมวดเบอร์พิเศษสำหรับโครงการนี้ ทั้ง 3 ปัจจัยจะแยกการทดสอบนี้ออกจากการใช้งานของลูกค้าผู้ใช้บริการปัจจุบัน จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบใดๆอย่างแน่นนอน
       
       Company Related Link :
       AIS

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)