Author Topic: กูเกิล ทุ่มงบอีก 94 ล้านดอลล่าร์ อัดโปรเจ็คพลังงานแสงอาทิตย์  (Read 959 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ถึงแม้กูเกิลจะประกาศถอดใจในการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการภายในไปเป็นที่เรียบร้อย แต่กับภายนอกกูเกิลไม่ยอมวางมือยังคงสั่งอัดฉีดเงินลงทุนในโครงการโซล่าเซลล์ต่อ

โดย Axel Martinez ผู้ช่วยเหรัญญิกของกูเกิลได้เปิดเผยผ่านบล็อกเมื่อวานนี้ว่า กูเกิลกำลังจะทำการลงทุนเพิ่มอีกราว 94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับสี่โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใน Sacramento ที่ใช้ในเชิงพานิชย์ ร่วมกับบริษัทเอกชน KKR และกูเกิลจะทำการลงทุนใน SunTap Energy ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ถูกสร้างขึ้นโดย KKR สำหรับการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ตัวโปรเจ็คดังกล่าวจะถูกจัดการผ่าน Recurrent Energy ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการค้าและยูทิลิตี้ในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 88 เมกะวัตต์ หรือผลิตได้ราว 160 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี เทียบเท่าการใช้พลังงานในบ้านเรือนถึง 13,000 หลังคา โดยสามโครงการใน Sacramento จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในต้นปี 2012 ก่อนการมาถึงของโครงการสุดท้ายในช่วงปลายปี ซึ่ง Arno Harris ซีอีโอ Recurrent Energy ให้ความเห็นว่า 'การลงทุนนี้เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงความสามารถของพลังงานแสงอาทิตย์ในการดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนที่ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่าง Google และ KKR' และถ้าหากย้อนกลับไปเมื่อเดือนก่อน กูเกิลได้ยุติความพยายามภายในที่ให้วิศวกรทำการรวมเทคโนโลยีพลังงานสีเขียว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปรับปรุงประสิทธิภาพครั้งใหญ่ แต่อย่างไรก็ดี Martinez ระบุว่ากูเกิลยังคงมุ่งมั่นที่จะลงทุนในโครงการพลังงานทดแทน ถึงแม้จะยากต่อการคาดเดาของผลตอบแทนก็ตาม สำหรับการลงทุนในครั้งนี้ส่งผลให้กูเกิลมียอดหลักทรัพย์รวมในพลังงานเพื่อโลกทั้งหมด 915 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึงการลงทุน 880 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อตอนต้นปีที่ผ่านมาด้วย ซึ่งการลงทุนที่ Sacramento ในรัฐแคลิฟอร์เนียถือเป็นสถานที่แรกที่กูเกิลตัดสินใจลงทุนในฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์

Source : CNET

ที่มา: pantip.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)