Author Topic: ควอลคอมม์ท้าชน "แอลซีดี"  (Read 1517 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


บรรยากาศงานเปิดตัว Kyobo eReader ในเกาหลีใต้

<a href="https://www.youtube.com/watch?v=TDFkfpOupVg" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=TDFkfpOupVg</a>

ควอลคอมม์ท้าชน "แอลซีดี" ควอลคอมม์ท้าชน "แอลซีดี" ควอลคอมม์ท้าชน "แอลซีดี"


ควอลคอมม์ (Qualcomm) ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิปสัญชาติอเมริกันลุยเปิดตลาดหน้าจอเทคโนโลยีใหม่เพื่ออุปกรณ์พกพาอย่างเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-reader) ชูจุดขายประหยัดพลังงานกว่าหน้าจอแอลซีดี (LCD) ขณะเดียวกันก็สามารถรองรับการสัมผัสและการแสดงผลสีได้ดีกว่าอี-อิงค์ (E Ink) ดั้งเดิม ประเดิมตลาดเกาหลีใต้ด้วยการวางจำหน่ายอีรีดเดอร์หน้าจอใหม่ช่วง 1 ธันวาคมนี้
       
       อีรีดเดอร์หน้าจอเทคโนโลยีใหม่นี้มีชื่อว่า "เคียวโบอีรีเดอร์ (Kyobo eReader)" ถูกเปิดตัวต่อสาธารณชนในกรุงโซล เกาหลีใต้ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์นี้เป็นผลงานความร่วมมือระหว่างควอลคอมม์และบริษัทผู้จัดจำหน่ายหนังสือในเกาหลีใต้นามเคียวโบบุ๊กเซ็นเตอร์ (Kyobo Book Centre) ซึ่งให้ข้อมูลว่าอีรีดเดอร์รุ่นนี้จะเริ่มจำหน่ายจริง 1 ธันวาคมนี้
       
       ความพิเศษของเคียวโบอีรีดเดอร์ไม่ได้อยู่ที่การใช้ชิป Snapdragon 1.0 GHz ของควอลคอมม์ หรือการใช้ระบบปฏิวัติการแอนดรอยด์ (Android) แต่อยู่ที่การใช้หน้าจอเอ็กซ์จีเอ (XGA) หรือจอไมราโซล (Mirasol) ขนาด 5.7 นิ้ว ทำให้อีรีดเดอร์รุ่นนี้คือเครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นแรกที่ใช้จอภาพไมราโซล
       
       ไมราโซลคือจอภาพแห่งอนาคตที่ถูกวางตัวให้สามารถรองรับเทคโนโลยีทัชสกรีนหรือการสัมผัสและการแสดงผลภาพสีที่หน้าจออีอิงค์ยังทำได้ไม่ดีพอ (E Ink คือหน้าจอหมึกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีจุดเด่นเรื่องการประหยัดพลังงานเพราะไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงตลอดเวลา แต่จะใช้ไฟเมื่อมีการเปลี่ยนข้อความหรือภาพบนหน้าจอเท่านั้น) ขณะเดียวกันก็สามารถประหยัดพลังงานได้ดีกว่าจอแอลซีดีซึ่งผู้ผลิตอีรีดเดอร์เริ่มนำมาใช้ในอีรีดเดอร์มากขึ้น
       
       เคล็ดลับของไมราโซลคือการใช้แสงรอบตัวในการส่องสว่างแทนที่จะใช้แสงในตัวเอง ลักษณะการทำงานคล้ายหางนกยูงที่จะทอแสงเมื่อกระทบแสงภายนอก ขณะเดียวกัน หน้าจอไมราโซลไม่จำเป็นต้องมีไฟเลี้ยงตลอดเวลาแบบแอลซีดี แต่ใช้ไฟเลี้ยงเมื่อหน้าจอมีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น จุดนี้ทำให้ไมราโซลมีความโดดเด่นเรื่องการประหยัดพลังงาน โดยที่ผู้ใช้สามารถเลื่อนดูภาพและวิดีโอ ถัดไปได้อย่างรวดเร็วเหมือนแอลซีดี
       
       ที่ผ่านมา จอไมราโซลของควอลคอมม์ถูกใช้ในโทรศัพท์มือถือที่วางจำหน่ายในจีนและเกาหลีใต้บางรุ่น และในเครื่องเล่นเพลง MP3 ในสหรัฐฯ เท่านั้น เนื่องจากผู้ผลิตอีรีดเดอร์ส่วนใหญ่ในตลาดโลกยังเลือกใช้หน้าจอแอลซีดีและหน้าจออีอิงค์เป็นหลัก การเปิดตลาดของเคียวโบอีรีดเดอร์จึงเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า หน้าจอทั้ง 2 เทคโนโลยีกำลังจะมีคู่แข่งตัวจริงในเร็ววันนี้
       
       หน้าจอไมราโซลขนาด 5.7 นิ้วของเคียวโบมีความละเอียด 1024x768 พิกเซล (223 พิกเซลต่อนิ้ว) สามารถแสดงภาพสีแบบคมชัดภายใต้แสงแดด ไม่เปิดเผยอายุใช้งานแบตเตอรี่ต่อเนื่อง ระบุเพียงว่าผู้ใช้สามารถซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรืออีบุ๊กจากเครื่องมากกว่า 9,000 เล่ม ราคาจำหน่ายคือ 349,000 วอน (9,500 บาท)
       
       ซีอีโอควอลคอมม์ พอล จาค็อบส์ (Paul Jacobs) นั้นมีความมั่นใจในการเลือกเกาหลีใต้เป็นพื้นที่ประเดิมตลาด โดยกล่าวระหว่างการเปิดตัวเคียวโบอีรีดเดอร์ว่า เกาหลีใต้นั้นเป็นประเทศที่มีประชากรอ่านออกเขียนได้และมีทักษะใช้งานอุปกรณ์ดิจิตอลเกือบ 100% และยังเป็นประเทศที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในครัวเรือนมากถึง 80%
       
       ที่สำคัญ จากการศึกษาขององค์การพัฒนาและประสานงานด้านเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development) พบว่าวัยรุ่นวัย 15 ปีของเกาหลีใต้สามารถแสดงความสามารถในการดึงข้อมูลจากอุปกรณ์ดิจิตอลได้คิดเป็นคะแนนสูงสุด ทั้งหมดนี้เป็นการศึกษาในช่วงปี 2009 ที่ผ่านมา


เคียวโบอีรีเดอร์ (Kyobo eReader)


เครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นแรกที่ใช้จอภาพ Mirasol


จอภาพ Mirasol รองรับการสัมผัส แสดงภาพสี และเปลี่ยนภาพเร็วไม่แพ้แอลซีดี แต่ประหยัดพลังงานได้เหมือนจอ E Ink

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6468 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
8140 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
4700 Views
Last post January 11, 2011, 01:45:43 PM
by Nick
0 Replies
7859 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
5531 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6994 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
3392 Views
Last post April 16, 2011, 03:17:14 PM
by Nick
0 Replies
3407 Views
Last post May 03, 2011, 02:41:58 PM
by Nick
0 Replies
3784 Views
Last post July 03, 2011, 09:25:17 AM
by Nick
0 Replies
3628 Views
Last post July 08, 2011, 03:26:19 PM
by Nick