Author Topic: Report page สางปม “เพจหมิ่น” บนเฟซบุ๊กได้จริงหรือ? : (Cyber Talk)  (Read 1698 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ภาพอธิบายวิธีการรายงานหรือ Report เพจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

นาทีนี้ ชาวเฟซบุ๊กคนไทยจำนวนไม่น้อยได้รับข้อความส่งต่อวิธีการรับมือกับ “เพจหมิ่น” หรือเพจที่มีเนื้อหาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งแนะนำให้ทุกคนกดรายงานเฟซบุ๊ก หรือ “Report page” เพื่อให้ทีมงานเฟซบุ๊กพิจารณาและลบเพจออกไปโดยไม่ต้องแจ้งผู้สร้างเพจ
       
       หลายคนตั้งคำถามว่า เฟซบุ๊กจะมีมาตรฐานอย่างไรในการพิจารณาปิดเพจ หรือการรายงานจะต้องมีความถี่และจำนวนเท่าใด เฟซบุ๊กจึงจะตัดสินว่าเพจดังกล่าวเข้าข่าย “พฤติกรรมรุนแรงเป็นอันตราย” จริง
       
       คำตอบนั้นไม่มีระบุในคำชี้แจงของเฟซบุ๊ก มีเพียงการยืนยันชัดเจนว่าโปรไฟล์ กลุ่ม เพจ หรือคอนเทนต์ใดๆ ที่ถูกรายงาน หรือ Report แก่เฟซบุ๊ก ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าเฟซบุ๊กจะลงมือลบหรือปิดกั้นการใช้งานไป
       
       เฟซบุ๊กให้เหตุผลว่า เฟซบุ๊กเป็นชุมชนออนไลน์ที่มีความหลากหลายมาก เป็นไปได้ว่าหลายคนจะไม่เห็นด้วยหรือถูกรบกวนโดยความเห็นที่ไม่เข้าข่ายเกณฑ์การลบเพจที่ไม่เหมาะสมซึ่งเฟซบุ๊กกำหนดไว้ อันได้แก่ การข่มขู่คุกคาม การปลุกเร้าให้ทำร้ายตัวเอง ข้อความให้ร้ายแสดงความเกลียดชัง ภาพที่มีความรุนแรง คอนเทนต์ลามกอนาจาร อาชญากรรม การแอบอ้างละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และการล่อลวง
       
       แนวทางที่เฟซบุ๊กยึดถือมาตลอด คือ การแนะให้ผู้ใช้ตั้งค่าส่วนตัว หรือ personal control เพื่อเลี่ยงให้ผู้ใช้ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวและติดตามข่าวสารที่รบกวนและรุกรานจิตใจ แต่กรณีนี้คนไทยทั่วประเทศไม่ต้องการ เพราะการหมิ่นสถาบันนั้นไม่ใช่เรื่องที่คนไทยจะยอมปิดหูปิดตา
       
       เฟซบุ๊กระบุว่า เนื้อหาที่ไม่เข้าเกณฑ์ของเฟซบุ๊กอาจจะถูกลบทิ้งได้ในบางกรณี โดยเฉพาะกรณีที่เฟซบุ๊กต้องดำเนินการตามกฎหมาย เท่ากับการรายงานเพจหมิ่นนั้นจะได้ผลชะงักทันทีหากหน่วยงานไทยยกข้อกฏหมายขึ้นมากล่าวอ้างกับเฟซบุ๊ก


หน้าต่างให้เลือกคำอธิบายความร้ายกาจของภาพ หลังคลิกที่คำว่า “รายงานรูปนี้” หรือ “Report” บริเวณใต้รูปภาพ

การใส่ข้อความ รูปภาพ และวิดีโอหมิ่นเบื้องสูงบนเฟซบุ๊กนั้นเข้าข่ายคดีความมั่นคงแห่งรัฐโดยมุ่งร้ายต่อสถาบัน เรื่องนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีอำนาจเต็มที่ในการขออนุมัติหมายจับหรือคำสั่งศาล หากตรวจพบการเผยแพร่คลิปวิดีโอ รูปภาพ เสียง บทความ หรือข้อความไม่เหมาะสมที่มุ่งก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในประเทศไทย อยู่ที่ว่าจะทำหรือไม่เท่านั้น
       
       ที่ผ่านมา มีรายงานว่ารัฐบาลไทยได้ประสานงานกับเฟซบุ๊ก จนทำให้ราชการไทยสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดที่มีความคิดและพฤติกรรมล้มล้างสถาบันเบื้องสูง โดยตำรวจสามารถนำกำลังชุดสืบสวนสะกดรอยเข้าจับกุมผู้ต้องหาบางรายได้พร้อมของกลางเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารและโทรศัพท์มือถือหลายรายการ อย่างไรก็ตาม การจับกุมครั้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา (กลางปี 2554) และยังไม่มีรายงานความคืบหน้าใดต่อสาธารณชนคนไทย
       
       สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้คนไทยต้องดิ้นรนกันเอง (ไปก่อน) คนไทยรักในหลวงกลุ่มหนึ่งหันมาจัดตั้ง "สมาคม Report แห่งประเทศไทย" ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและให้ความรู้คนไทยไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือแพร่กระจายเพจหมิ่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พร้อมกับที่ชาวเฟซบุ๊กพร้อมใจส่งต่อวิธีการ Report แก่เฟซบุ๊กอย่างรวดเร็ว
       
       เนื้อความในเพจสมาคมระบุว่า การตอบโต้ใดๆ กับเพจหมิ่นนี้อาจจะไปเข้าทางและเข้าแผนของตัวการ ข้อห้ามเมื่อพบเพจหมิ่น คือ ชาวเฟซบุ๊กห้ามกด Share, กด like หรือ กด comment เพื่อชวนเพื่อนไปด่าทอ วิจารณ์ หรือตอบโต้
       
       “การกระทำแบบนี้ อาจจะทำให้เรารู้สึกว่ากำลังปกป้องในสิ่งที่เรารัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลยครับ เรากำลังช่วยเหลือให้ภาพเหล่านี้กระจายไปอย่างรวดเร็วต่างหาก เพราะทุกครั้งที่เรา comment เพื่อนเราจะเห็นกิจกรรมของเราบน News Feed ใน Facebook ทำให้ภาพนี้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว”


ชาวเฟซบุ๊กที่พบเพจหมิ่นสถาบันให้กดที่ Theft or Vandalism ซึ่งเข้าข่ายการทำลายวัฒนธรรมหรือศิลปของชาติ

สิ่งที่ควรทำคือ การรายงานเพจ ให้คลิกเมนู “รายงานเพจนี้” หรือ Report this page บริเวณมุมขวาใต้รูป Profile Picture ของ Page ชาวเฟซบุ๊กที่พบเพจหมิ่นสถาบันให้กดที่ “พฤติกรรมที่รุนแรงและเป็นอันตราย” หรือ Violence or Harmful Behavior แล้วเลือกเมนูว่า Theft or Vandalism (Vandalism เข้าข่ายการทำลายวัฒนธรรมหรือศิลปะของชาติ) ก่อนจะคลิกที่ Targets a race or ethnicity หรือการโจมตีเป้าหมายในเรื่องของเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ หรือกลุ่มชน
       
       หากเป็นรูปภาพให้คลิกที่คำว่า “รายงานรูปนี้” หรือ “Report” บริเวณใต้รูปภาพ จะพบหน้าต่างให้เลือกคำอธิบายความร้ายกาจของภาพ กรณีรูปหมิ่นบนเพจ ชาวเฟซบุ๊กสามารถเลือกคำว่า “โจมตีบุคคลหรือกลุ่ม” หรือ “Attack Individual or Groups” ได้
       
       สิ่งที่ควรทำอีกอย่าง คือ การกดปุ่ม Print Screen เก็บภาพหน้าจอไว้เพื่อแจ้งความจับภาพดังกล่าวสามารถเป็นหลักฐานในการเอาผิดและดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ แต่ต้องระวังห้ามส่งต่อ เพราะการส่งต่อมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 15 ปี นอกนั้นคือการรายงานเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมต่อกระทรวง ICT ซึ่งคนไทยยสามารถใช้เป็นช่องทางแจ้งรัฐบาลได้ตลอดเวลา
       
       บทสรุปของเรื่องนี้คือ แม้พลังการส่งรายงาน หรือ Report แก่เฟซบุ๊ก อาจไม่ใช่ทางเดียวที่สามารถสางปมเพจหมิ่นได้ในวันสองวัน แต่นี่คือทางเดียวที่เราคนไทยทุกคนจะสามารถออกแรงได้ทันทีโดยไม่ต้องรอแขนขาจากรัฐบาล
       
       ส่วนเรื่องจะได้ผลหรือไม่ เวลาเท่านั้นที่จะพิสูจน์ได้

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
2584 Views
Last post August 24, 2009, 11:20:07 AM
by IT
0 Replies
1770 Views
Last post September 02, 2010, 06:10:51 PM
by Nick
0 Replies
2621 Views
Last post June 28, 2011, 03:59:14 PM
by Nick
0 Replies
1910 Views
Last post September 02, 2011, 02:36:48 PM
by Nick
0 Replies
5150 Views
Last post January 18, 2012, 02:03:34 PM
by Nick
0 Replies
1888 Views
Last post March 09, 2012, 02:01:52 PM
by Nick
0 Replies
1358 Views
Last post August 30, 2013, 12:31:48 PM
by Nick
0 Replies
1588 Views
Last post August 14, 2014, 01:28:48 PM
by Nick
0 Replies
1650 Views
Last post March 16, 2015, 08:09:08 AM
by Nick
0 Replies
1213 Views
Last post September 24, 2022, 02:49:06 PM
by Sunahara