Author Topic: ยุโรป สั่งระงับการใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์ร่างกายในสนามบิน เหตุเป็นกังกลเรื่องสุขภาพ  (Read 1049 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


เครื่องแสกนร่างกายที่ซึ่งตั้งอยู่ในสนามบินและใช้เทคโนโลยีเอ็กซ์เรย์นั้นกำลังจะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการใช้งานอีกต่อไปในประเทศสหภาพยุโรป ตามการแถลงข่าวผ่านหน้าเว็บไซต์ http://europa.eu เนื่องจากเจ้าหน้าที่เชื่อว่า การยุติการใช้เทคโนโลยีเอ็กซ์เรย์ดังกล่าวนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงของประชาชนที่เดินทางในด้านความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย

โดยเครื่องเอ็กซเรย์ดังกล่าวจะทำการแผ่รังสีเล็กๆ ออกมาขณะที่ทำการแสกนร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่เชื่อมโยงให้เกิดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็ง เนื่องจากร่างกายได้รับรังสีที่เป็นอันตรายและทำลายดีเอ็นเอ ขณะที่จดหมายถึงสถาบันโปร์พลับบลิคก้า (ProPublica) จากองค์การอาหารและยา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้อ้างว่าความเสี่ยงที่เป็นอันตรายของโรคมะเร็งจากเครื่องดังกล่าวมีเพียง 1 ใน 400 ล้านเท่านั้น สวนทางจากที่โปร์พลับบลิคก้านำเสนอว่าผู้เดินทาง 6 ใน 100 รายมีโอกาสพัฒนาไปสู่โรคมะเร็งได้ในแต่ละปี ขณะที่หน่วยงานด้านความปลอดภัยในการเดินทางหรือ TSA ได้โต้ตอบต่อการตัดสินใจของอียูเกี่ยวกับการยุติการใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์ ด้วยการเปิดเผยว่าเครื่องดังกล่าวสามารถตรวจจับความเสียหายหรือสิ่งของที่ผิดกฏหมายได้มากกว่า 300 รายการจากตัวผู้โดยสารผ่านเครื่องแสกนนี้ และนอกจากการโต้แย้งดังกล่าวแล้ว สหภาพยุโรปยังได้สั่งแบนเครื่องมือนอกเหนือจากแสกนที่ไม่ใช่เทคโนโลยีเอ็กซ์เรย์เพิ่มเติม ทดแทนด้วยการใช้เครื่องที่มีการส่งคลื่นวิทยุต่ำแทนการแผ่รังสี และปัจจุบัน สนามบินสหรัฐฯ ก็ยังคงใช้เครื่องแสกนเนอร์ทั้งสองชนิดนี้ในการรักษาความปลอดภัย โดยมีเครื่องเอ็กซเรย์ราว 250 เครื่องและเครื่องแสกนความถี่ต่ำอีก 264 เครื่อง ที่ผ่านมา เครื่องแสกนร่างกายได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่ถูกนำมาใช้ภายใต้เงื่อนไขของความเป็นส่วนตัว โดยมันสามารถมองทะลุถึงภายใต้เสื้อผ้าที่เผยให้เห็นถึงวัตถุที่ซ่อนอยู่อย่างระเบิดที่ใช้การตรวจจับโลหะเช่นเดียวกับตรวจตราร่างกายอย่างละเอียด

Source : TechSpot

ที่มา: pantip.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)