Author Topic: อินเทลฉลองครบรอบ 40 ปีให้กับไมโครโปรเซสเซอร์แรก  (Read 972 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


เมื่อวันก่อน อินเทล ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิป ได้จัดงานฉลองวันเกิดครบรอบปีที่ 40 ให้กับชิปไมโครโปรเซสเซอร์แรก 'Intel 4004' หน่วยประมวลผลหลัก (ซีพียู) ขนาด 4-บิต ที่เปิดตัวเมื่อปี 1971

โดยอินเทลเป็นเจ้าภาพจัดงานฉลองนี้ในเมืองซานฟรานซิสโก เพื่อสักการะชิปพร้อมคณะผู้บริหาร และใช้โอกาสนี้ทำกาปรึกษาหารือถึงประวัติความเป็นมาของชิปไมโครโปรเซสเซอร์และผลกระทบ เพื่อมองต่อไปยังอนาคต โดยจุดเริ่มต้นเกิดจาก Busicom บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ของญี่ปุ่น ได้เข้าหารือกับอินเทลเพื่อให้ออกแบบชิปสำหรับเครื่องคิดเลข 141-PF ของพวกเขา โดยอินเทลถูกทาบทามให้เป็นผู้ผลิตสินค้าดังกล่าว แต่อินเทลกลับรู้สึกว่า น่าจะสร้างการออกแบบที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่กว้างขวางกว่านี้ และ Busicom ก็เห็นด้วย โดย นาย มาซาโตชิ สึมะ จาก Busicom และ นาย เฟรเดอริโก แฟกกิน จากอินเทล เป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานกับสิ่งที่จะกลายเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ 4004 ต่อไป โดยมี นาย เทด ฮอฟฟ์ นักออกแบบวงจรคอมพิวเตอร์ของอินเทล ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้วางแนวคิดให้กับสถาปัตยกรรมเริ่มแรก โดยในงาน แฟกกิน ได้พูดเกี่ยวกับผลกระทบอย่างใหญ่หลวงในการพัฒนาต่อชีวิตของพวกเขา "สองสิ่งประดิษฐ์ หรือมากกว่า มีผลกระทบสำคัญในชีวิตของเรา ทั้งเครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้ช่วยให้พวกเราสามารถขยายเทคโนโลยีไปยังที่ที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าถึงได้" โดย แฟกกิน ยังได้กล่าวต่อ "เพื่อนร่วมงานหลายคนของผมเชื่อว่า 4004 อาจจะถูกใช้สำหรับเครื่องคิดเลข แต่ผมร้องขอให้แตกต่าง ผมมองเห็นโปรแกรมควบคุมเดี่ยวหลายๆโปรแกรมที่สามารถทำงานได้กับคอมพิวเตอร์" ซึ่งงานนี้เกิดขึ้นหลังจากหนึ่งวันที่อินเทลเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ Sandy Bridge-E ที่จะเข้ามาแทนที่แพลตฟอร์ม i7 LGA-1366 รุ่นแรกที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง พร้อมกับสถาปัตยกรรมซ็อกเก็ต LGA-2011 และมีการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ อย่างเช่น การรองรับหน่วยความจำ 4 ช่องแชนแนล เป็นต้น

Source : TechSpot

ที่มา: pantip.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)