Author Topic: ฝ่าย กม. ทีโอที ภักดีเวนเดอร์ ไม่สนฟ้องอีริคสันทำเสียโอกาส 3G  (Read 993 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      ทีโอทีเซ็นสัญญาเอสแอลคอนซอร์เตียม วางโครงข่าย 3G ทั่วประเทศ วงเงิน 15,999 ล้านบาท ด้านบอร์ดสั่งฝ่ายบริหารศึกษาข้อกฎหมายจัดการเวนเดอร์ช่างฟ้องแบบไร้เหตุผล เพราะกลายเป็นคนขายของมาขู่คนซื้อของ แบบไม่มีที่ไหนในโลกทำกัน ส่วนซีอีโอ 'อานนท์' เล็งฟ้องอีริคสัน เรียกค่าเสียโอกาสทางธุรกิจทำ 3G ล่าช้า แฉฝ่ายกฎหมายทีโอทีเอาใจออกห่างเข้าข้างเวนเดอร์ไม่สนขึ้นแบล็กลิสต์หรือแม้กระทั่งฟ้องกลับ
       
       วานนี้ (9 พ.ค.) เวลา 08.29 น. บริษัท ทีโอที โดยนายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างกิจการร่วมค้าเอสแอล ผู้ชนะการประมูลการสร้างโครงข่าย 3G TOT ทั่วประเทศ มูลค่า 15,999 ล้านบาท โดยมีนายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น ตัวแทนกิจการร่วมค้าเอสแอล ซึ่งประกอบด้วย บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ บริษัท โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์ก และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) เป็นผู้ลงนามในสัญญาโดยมีนายวสันต์ จาติกวณิช กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ล็อกซเล่ย์ ร่วมเป็นสักขีพยาน
       
       ตามสัญญาดังกล่าวประกอบด้วย การสร้างระบบโครงข่ายหลัก (Core Network) จำนวน 1 ระบบ ระบบสถานีฐาน (UTRAN) จำนวน 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (Transport Network) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (OSS) จำนวน 1 ระบบ ระบบบริการเสริมพื้นฐาน (VAS) จำนวน 1 ระบบ ระบบสนับสนุนการให้บริการ (Business Support System) จำนวน 1 ระบบ รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ (Site Preparation) และ อุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่าย
       
       ส่วนแผนการวางโครงข่ายจะดำเนินการติดตั้งสถานีฐานทั่วประเทศจำนวน 5,320 แห่ง ครอบคลุม 57 จังหวัด โดยจะเป็นการสร้างสถานีฐานใหม่จำนวน 4,772 สถานี และย้ายสถานีฐานเดิม จากใจกลางกรุงเทพฯไปติดตั้งในปริมณฑลแทนจำนวน 548 สถานี
       
       ทั้งนี้ คาดว่าประมาณกลางไตรมาส 4 ปีนี้ ทีโอทีจะสามารถให้บริการ 3G เต็มรูปแบบในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล และ 13 จังหวัดสำคัญ และประมาณกลางปี 2555 จะสามารถใช้งานได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และหลังจากมีการลงนามในสัญญา คาดว่าจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์สำหรับใช้บริการแล้วเสร็จในพื้นที่มีประชากรหนาแน่นโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ เฟส 1- 2 จะเปิดให้บริการได้ภายใน 180 วัน คือ กรุงเทพฯ ทุกพื้นที่และปริมณฑลอีก 4 จังหวัด และ 13 จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และหนองคาย โดยจะสามารถเริ่มให้บริการได้ภายใน 90 วัน ส่วนเฟสสุดท้าย จะขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการและประชากรกว่า 70 % ภายใน 360 วัน โดยทีโอที จะพิจารณาพื้นที่ที่มีความต้องการสูง
       
       ปัจจุบันทีโอทีมีผู้ใช้บริการ 3G ประมาณ 200,000 เลขหมาย และตั้งเป้าไว้ว่าสิ้นปีนี้จะมีลูกค้าประมาณ 1.3 ล้านเลขหมาย มีรายได้ปีแรก 1,700 ล้านบาท ส่วนปี 2555 ตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 3,000 ล้านบาท และปี 2558 ตั้งเป้าลูกค้าไว้ที่ 7 ล้านราย มีส่วนแบ่งการตลาดไม่น้อยกว่า 8%
       
       ด้านแผนการตลาด ทีโอที จะให้บริการในลักษณะการขายต่อบริการ (MVNO) เป็นหลัก และทีโอทีจะทำตลาดเองบางส่วน โดยทำการตลาดควบคู่กับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ที่ให้บริการผ่านเทคโนโลยี ADSL ของทีโอที ด้วยความเร็วสูง 14.4 เมกะบิต
       
       เร่งสรุปคุณสมบัติ MVNO
       
       ด้านนายกำธร ไวทยกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทีโอที กล่าวถึงการให้บริการแบบ MVNO ว่า ทีโอทีได้ว่าจ้างบริษัท บอสตัน คอนเซ้าส์ติ่ง กรุ๊ป (บีซีจี) ให้เป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งกำลังสรุปรายละเอียด และคุณสมบัติ MVNO เพื่อเสนอที่ประชุมบอร์ดทีโอทีในครั้งต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ต้องการให้ทีโอทีเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย
       
       ทั้งนี้ บีซีจีได้เสนอรูปแบบของ MVNO 2 ลักษณะ คือ 1. MVNO แบบมีการกำหนดยอดขายตายตัว (Strategic MVNO) และ 2. MVNO แบบซื้อมาขายไป (General MVNO) สำหรับ Strategic MVNO จะมีการทำสัญญาระยะยาว กำหนดเป้าหมายยอดขาย การหาลูกค้าที่ชัดเจน ซึ่งทีโอทีเห็นว่าควรจะมี MVNO ลักษณะดังกล่าวไม่เกิน 1-2 ราย ซึ่งขณะนี้ ก็กำลังสรุปรายละเอียด คาดว่า หลังจากที่เสนอรูปแบบการทำตลาดต่อที่ประชุมบอร์ดแล้วน่าจะใช้เวลาไม่เกินเดือนมิ.ย.จะได้ข้อสรุป ในส่วนของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) หากมีใบอนุญาต (ไลเซนส์) MVNO ก็สามารถร่วมทำตลาดกับทีโอทีได้ ซึ่งเอไอเอสก็เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจา
       
       บอร์ดสั่งจัดการเวนเดอร์เหลวไหล
       
       นายประพันธ์ บุณยเกียรติ โฆษกบอร์ดทีโอทีกล่าวว่าบอร์ดทีโอทีให้นโยบายฝ่ายบริหารไปหารือข้อกฎหมายกรณีเวนเดอร์หรือผู้ที่ติดต่อค้าขายกับบริษัท ทีโอที มีการร้องเรียนหรือฟ้องร้องกรณีต่างๆ โดยไม่มีเหตุผลที่สมควร หรือแม้กระทั่งทีโอทีชี้แจงไปแล้วแต่ไม่ยอมรับฟังเหตุผล และมีเจตนาร้องเรียนเพื่อทำให้โครงการต่างๆของทีโอทีล่าช้าหรือชะงักงัน อันจะทำให้เกิดผลเสียกับทีโอทีในลักษณะการเสียโอกาสทางธุรกิจ
       
       'ก่อนผมมาเป็นบอร์ด ติดตามข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ อย่างโครงการ 3G เมื่อเอกชนอย่างอีริคสันร้องเรียนว่าแค่ไม่ส่งแคตตาล็อก ทำให้ถูกปรับตก ผมยังสงสัยว่าทำไมทีโอทีปรับให้ตก ไม่ให้ความเป็นธรรมหรือเลือกปฏิบัติจริงหรือไม่ แต่เมื่อผมเข้ามาเป็นกรรมการบอร์ด ทำให้เห็นเอกสารข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ ทำให้รู้ว่ามันไม่ใช่แคตตาล็อก แต่เป็นการไม่ส่งเอกสารการประกวดราคาที่เป็นสาระสำคัญ กรรมการจำเป็นต้องให้ตก ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนขายของให้ทีโอที เลือกที่จะให้ข้อมูลสาธารณะไม่ครบถ้วน และเมื่อทีโอทีชี้แจง ก็ไม่ยอมจบเรื่อง มาข่มขู่คนที่จะซื้อของ บอร์ดเลยให้ฝ่ายบริหารหาทางรับมือด้านกฎหมายกับเวนเดอร์พวกนี้ เพราะถ้าร้องเรียนด้วยเจตนาบริสุทธิ์ มีข้อมูลครบถ้วน บอร์ดก็พร้อมรับฟังและให้ความเป็นธรรม แต่การร้องเรียนแบบไม่มีเหตุผล ประเภทดูเหมือนจงใจถ่วงเวลาทำให้ทีโอทีเสียโอกาสทางธุรกิจ ก็คงต้องหาทางจัดการด้านกฎหมายเช่นกัน'
       
       นายประพันธ์ย้ำว่าบอร์ดไม่ต้องการให้กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในอนาคตอีก จึงต้องการให้ฝ่ายบริหารหาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า โดยดูข้อกฎหมายเป็นหลักว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง อย่างเช่นการขึ้นบัญชีดำหรือแบล็กลิสต์ หรือการขึ้นบัญชีเวนเดอร์ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ
       
       ซีอีโอเล็งฟ้องกลับ
       
       นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า ทีโอทีกำลังดูข้อกฎหมายอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาว่าเลือกปฏิบัติหรือไม่ให้ความเป็นธรรมกับเวนเดอร์รายใดรายหนึ่ง
       
       'มีความเป็นไปได้สูงที่ทีโอทีคงต้องฟ้องร้องเวนเดอร์บางรายที่ทำให้ทีโอทีเสียหายและเสียโอกาสทางธุรกิจ'
       
       คนทีโอทีภักดีเวนเดอร์
       
       นายกำธรกล่าวถึงกรณีที่บริษัท อีริคสัน ยื่นฟ้องทีโอทีให้ยกเลิกการประมูล 3G ว่า ขณะนี้ฝ่ายบริหารทีโอทีมอบให้ฝ่ายกฎหมายโดยนายพิทักษ์ เขมรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักกฎหมาย ทีโอที เป็นผู้ดำเนินการเรื่องดังกล่าว
       
       ขณะที่แหล่งข่าวจากฝ่ายกฎหมายทีโอทีกล่าวว่า กรณีที่อีริคสันยื่นฟ้องศาลปกครองเกี่ยวกับ 3G จะไม่มีการฟ้องเรียกค่าเสียหายกลับ หรือขึ้นบัญชีดำอีริคสันหากมีการประมูลโครงการอื่นของทีโอที ที่ทำให้โครงการดังกล่าวล่าช้า เพราะถือเป็นสิทธิของเอกชนที่จะฟ้องร้อง ขณะที่ฝ่ายกฎหมายก็ต้องเดินหน้าตามกระบวนการกฎหมายเพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงการ 3G TOT คณะกรรมการดำเนินงานได้ทำถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่าง
       
       'การที่มีใครมาฟ้องแล้วก็ขึ้นแบล็กลิสต์ถือว่าไม่ถูก เพราะเป็นสิทธิของเอกชน เมื่อสู้กันทางคดีแล้วอีริคสันอาจจะถูกก็ได้และเรียกค่าเสียหายจากทีโอทีได้ ซึ่งทางคดีเราก็ต้องแก้ให้ทีโอทีไม่ผิดตามดุลพินิจทุกรูปแบบ'
       
       Company Related Link :
       3G TOT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)