Author Topic: ไอซีทีส่งปัญหาสัญญาไทยคมให้อัยการชี้ขาด  (Read 837 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      กระทรวงไอซีทีชง 3 ประเด็นปัญหาสัญญาไทยคมให้อัยการสูงสุดชี้ขาด ส่วนการเจรจาการแก้สัญญามือถือเอกชนแค่ซื้อเวลารอรัฐบาลชุดใหม่ ปลัดไอซีทีเผยสิ่งที่เอกชนเห็นตรงกันคือเสนอให้แปลงสัมปทานเป็นใบอนุญาต แต่เป็นเรื่องที่อยู่นอกอำนาจคณะกรรมการ โดยสรุปผลการเจรจาให้ “จุติ” เรียบร้อย แต่ยังไม่เข้าครม.
       
       นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงความคืบหน้าของการเจรจาในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวสัญญาดาวเทียมไทยคมตามผลสรุปของคณะกรรมการมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนร่วมการงานหรือดำเนินในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ว่า แนวทางการแก้ไขใน 3 เรื่องหลักคือ 1.ให้ไทยคมคืนเงินประกันค่าสินไหมจำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ได้จากกรณีที่ดาวเทียมไทยคม 3 เสียหาย และต้องปลดระวางก่อนกำหนดมาให้กระทรวงไอซีที หลังมีการเจรจากลุ่มย่อยตามที่ได้รับนโยบายจากนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที ซึ่งเรื่องนี้เอกชนเห็นว่าเงินจำนวนดังกล่าวยินดีที่จะคืนให้รัฐ แต่การสร้างดาวเทียมสำรองไทยคม 5 ก็ต้องใช้เงินจำนวนดังกล่าวด้วย ซึ่งกระทรวงการคลังก็จะต้องคืนให้กับไทยคมเหมือนเดิม เพราะการสร้างดาวเทียมดวงใหม่ต้องใช้เงินหลัก 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นงบที่ใกล้เคียงกับไทยคม 5
       
       'เรื่องนี้เอกชนเห็นว่าทำไมต้องคืนกลับไปกลับมาให้เสียส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เพราะเงินจำนวนนี้ก็ต้องสร้างดาวเทียมสำรองไทยคม 5 อยู่แล้ว'
       
       2.จะต้องมีการยิงดาวเทียมสำรองไทยคม 3 ขึ้นสู่วงโคจร เนื่องจากไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ไม่ใช่ดาวเทียมสำรองไทยคม 3 เพราะกฤษฎีกาได้ตีความแล้วว่าเป็นดาวเทียมดวงใหม่ และถือว่าเป็นดาวเทียมนอกสัมปทาน ซึ่งกรณีนี้ไทยคมยินดีที่จะส่งดาวเทียมไทยคม 6 เพื่อเป็นดาวเทียมสำรองไทยคม 5 ที่สร้างขึ้นมาทดแทนไทยคม 3 ที่เสียไป และเป็นไปตามมติคณะกรรมการมาตรา 22ซึ่งขณะนี้กระทรวงไอซีทีและไทยคมอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางด้านเทคนิคร่วมกัน
       
       3. กรณีบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทแม่ไทยคมลดสัดส่วนถือหุ้นจาก 51% เหลือ 40% โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. นั้น คณะกรรมการมาตร 22 ได้สรุปว่าชินคอร์ปจะต้องกลับไปถือครองหุ้นในสัดส่วนเท่าเดิม คือ 51% ซึ่งเรื่องนี้เอกชนขอศึกษากฎหมายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อน หากไม่ผิดกฎหมายชินคอร์ปก็ยินดีที่จะกลับมาถือในสัดส่วนเดิม
       
       'เราต้องให้โอกาสเอกชนศึกษาบางเรื่อง แต่แนวทางการแก้ไขทั้ง 3 ข้อกระทรวงไอซีทีจะส่งให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด'
       
       นางจีราวรรณในฐานะประธานคณะกรรมการเจรจาการแก้ไขสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่กล่าวถึงความคืบหน้าของการเจรจาว่า ขณะนี้คู่สัญญาทั้ง 4 สัญญาคือเอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟและบริษัท ดิจิตอลโฟน หรือดีพีซีกับคู่สัญญาสัมปทานคือ บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ทางคณะกรรมการได้สรุปผลการเจรจาให้กับรมว.ไอซีทีไปเมื่อวันจันทร์ที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งผลการเจรจาในช่วงที่ผ่านมาหลักๆ เอกชนทั้ง 4 ราย ยังยืนยันตามแนวทางเดิมว่าดำเนินการถูกต้อง แต่ที่เห็นตรงกันและเสนอต่อคณะกรรมการคือต้องการให้แปลงสัญญาสัมปทานเป็นใบอนุญาต (ไลเซนส์) ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าอยู่นอกเหนืออำนาจของคณะกรรมการเจรจา ต้องรอให้คณะกรรมการชุดใหม่ดำเนินการต่อ
       
       'คณะกรรมการทำงานเต็มที่แล้ว แต่เอกชนยังยึดแนวทางเดิม ซื้อเวลาเพื่อรอรัฐบาลชุดใหม่ เราก็ต้องสรุปผลการเจรจาตามความเป็นจริง และเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (1พ.ค.) คณะกรรมการได้มีการประชุมซึ่งกรรมการเข้าประชุมครบทุกคน และมีการประชุมกันตั้งแต่เช้าจนถึงช่วงบ่าย ก่อนจะเห็นตรงกันว่าเรื่องนี้ต้องให้ครม.ตัดสินและได้สรุปผลการเจรจาดังกล่าวให้รมว.ไอซีทีไปแล้ว'
       
       Company Related Link :
       MICT

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)