ภายใต้แนวคิด Collaborative with Confidence ด้วยบริการอัจฉริยะรูปแบบใหม่ หันมาประสานการทำงานของเครือข่ายอุปกรณ์ทั่วโลก ตั้งศูนย์ "CSIO" เพื่อรับมือการเติบโตของภัยคุกคามทั้งมัลแวร์ และบ็อตเน็ต ช่วยลดเวลาแต่ประสิทธิภาพสูงกว่า...
นายมงคล อัศวโกวิทกรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีขั้นสูง บริษัทซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ภัยคุกคามบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น อีกทั้งยังมีการหลอกหล่อผู้ใช้งานให้ติดตั้งมัลแวร์ หรือ โทรจัน โดยเฉพาะปี 2550 อัตราการเติบโตของมัลแวร์เพิ่มขึ้นกว่า 5.5 เท่า และมูลค่าความเสียหายจากการโจมตีแต่ละครั้งเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5 แสนเหรียญสหรัฐ โดนแฮกเกอร์เริ่มมันมาสนใจทรัพย์สินจากการเจาะระบบ หรือขโมยข้อมูลมากขึ้น รวมไปถึงการขู่เรียกค่าไถ่ข้อมูล หรือ ทำให้ระบบเครือข่ายล่มถ้าเหยื่อไม่ยอมจ่ายเงินให้แฮกเกอร์ เป็นต้น
ผอ.ฝ่ายเทคโนโลยีขั้นสูง บ.ซิสโก้ฯ กล่าวต่อว่า ภายใต้แนวคิด Collaborative with Confidence: CWC ที่เป็นการออกแบบระบบการป้องกัน ประสานการทำงานของอุปกรณ์ทั่วโลก ที่รู้เท่าทันการบุกรุกในทุกรูปแบบ ทุกเวลา และทุกสถานที่ ทั้งไวรัส เวิร์ม โทรจัน และสปายแวร์ โดยหากมีการตรวจพบการโจมตี หรือบุกรุกทั้งรูปแบบใหม่ และแฮกเกอร์จากที่ใดก็ตาม ระบบจะดำเนินการรายงานกลับไปยังระบบตรวจสอบกลาง คือ Cisco Security Intelligence Operation: CSIO เพื่อประมวลผลแล้ว ส่งรายงานไปแจ้งเตือนอุปกรณ์ของซิสโก้ที่มีทั่วโลกให้รับทราบ และอัพเดทฐานข้อมูลเพื่อป้องกันการบุกรุกนั้นๆ ได้ทันที
นายมงคล กล่าวอีกว่า วิธีดังกล่าวนี้จะเป็นการผลิกโฉมระบบการป้องกันบนเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะสร้างความคุ้มทุนให้กับธุรกิจ โดยศูนย์ CSIO นี้ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ประมวลผลรูปแบบการบุกรุกนักพันตัว ที่รวบรวมมาจากอุปกรณ์ของซิสโก้ทั่วโลกกว่า 7 แสนชิ้น ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญจากกว่า 10 หน่วยงานของซิสโก้ ใน 7 ศูนย์หลักทั่วโลก ทำงานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และมีฐานข้อมูลที่วิ่งผานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกว่า 30%ด้วยแนวคิด CWC จึงนำไปสู่ความปลอดภัย ทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันสูงขึ้น และเป็นประโยชน์วงกว้าง เมื่อเทียบกับการทำงานผ่านระบบเดิมที่อาจต้องใช้ระยะเวลาในการตอบสนองต่อภัยคุกคามนาน ทำให้ไม่ทันต่อการจู่โจมบุกรุกระบบ และไม่อาจแจ้งเตือนไปยังระบบอื่นๆ ได้
ผอ.ฝ่ายเทคโนโลยีขั้นสูง บ.ซิสโก้ฯ กล่าวด้วยว่า จากพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายในปัจจุบันที่มีการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ จำนวนข้อมูลที่ส่งผ่านที่ขนาดใหญ่มหาศาล และการโจมตีที่มีรูปแบบปรับเปลี่ยนไปตามการพัฒนาของเทคดนดลยี จึงทำให้ซิสโก้ต้องนำเสนอระบบป้องกันการโจมตีเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง รู้เท่าทันการโจมตี และเอื้อกับการทำงานมากที่สุดสู่ผู้บริโภค ในรูปแบบคลาวด์ เซอร์วิส ใต้แนวคิด "คลาวด์ ซิเคียวริตี้" ที่จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าของซิสโก้ฯ อันจะทำให้ซิสโก้ฯ สามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดอุปกรณ์ป้องกันเครือข่าย เช่น ไอพีเอส และไฟร์วอลล์ ทั้งจากลูกค้าเก่า และลูกค้ารายใหม่ๆ
ที่มา: thairath.co.th