ทุนต่างชาติเล็ง ‘นวนคร’ รอการเมือง
แม้ดัชนีอุตสาหกรรม เดือนมีนาคม 52 จะยังคงลดลงอย่าง ต่อเนื่อง แต่อัตราการลดเริ่มชะลอตัวเหลือ -17.74% จากเดือน ก่อนหน้าที่ติดลบถึง 23.07%
ที่น่าสนใจคืออุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ เริ่มสดใส จากยอดคำสั่งซื้อเพิ่มในไตรมาส 2 ทั้งที่เมื่อต้นปีอุตฯ อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในภาวะย่ำแย่เข้าขั้นโคม่า
ต่อเรื่องนี้ นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุต สาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระ ทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมี.ค.อยู่ที่ระดับ 54.46% เพิ่มขึ้นจากเดือนก.พ. ที่อยู่ในระดับ 50.0%
สาเหตุหนึ่งมาจากอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ที่ ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากประ เทศจีน
“ต้องยอมรับว่าช่วง 2-3 เดือนก่อน หน้านี้ ลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อสินค้าค่อนข้าง มาก จากความกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ช่วงไตรมาสที่ 2 คาดว่าคำสั่งซื้อจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะปริมาณสินค้าคงคลังในหลายอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ต่ำ จึงต้องเร่งการผลิต เพื่อรักษาสภาพสินค้าคงคลังของตนเอง” ผอ.สศอ. กล่าว
อย่างไรก็ตาม! ถึงแม้อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์เริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนภาวะการ ผลิตและการจำหน่ายยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประมาณ -7.4% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานการส่งออกในปีก่อนอยู่ในระดับสูง
และเมื่อเข้าไปดูในอุตสาหกรรมหลักๆ สำคัญก็พบว่ายังคงหดตัวติดลบอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน (มีนาคม 51) ประกอบด้วย
อุตฯ ยานยนต์ ภาวะการผลิตและการจำหน่ายปรับตัวลดลง -51.5% และ -47.8% ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว นอกจากนี้ สถานการณ์การเมืองในประเทศฉุดการฟื้นตัวในประ เทศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดรถยนต์ โดยมีตลาดรถปิกอัพ 1 ตัน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ มีการจำหน่ายปรับลดลงจากปีก่อนถึง -46.5% เช่นเดียวกับตลาดรถยนต์นั่งเครื่องยนต์ไม่เกิน 1800 cc การจำหน่าย ปรับลดลงจากปีก่อน -34.9%
เครื่องปรับอากาศ ยอดการผลิตและ การจำหน่ายปรับตัวลดลง -45.5% และ -33.0% ตามลำดับ เนื่องจากเครื่องปรับอากาศเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงจึงมียอดขายที่ลดลง โดยจะเห็นได้จากมูลค่า การส่งออกในไตรมาสแรกลดลงจากปีก่อน ถึง -33.6% ในขณะที่ปี 2551 ขยายตัวได้ 1.4% อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปตะวัน ออกกลางยังคงขยายตัว
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ภาวะการผลิตและ การจำหน่ายปรับตัวลดลง -11.5% และ -6.8% ตามลำดับ เนื่องจากปัจจุบันการส่งออกปรับตัวลดลงตามเศรษฐกิจที่ถดถอยของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
“ถึงแม้ภาคอุตสาหกรรมจะตกต่ำติดลบต่อเนื่องมาถึง 6 เดือน แต่เมื่อดูจากตัวเลขที่ติดลบเริ่มลดความรุนแรงมากขึ้น หากมองแนวโน้มรายเดือนแล้วจะพบว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าภาวะอุตสาหกรรมเริ่มมีสัญญาณ ที่ดีขึ้น สอดคล้องกับยอดคำสั่งซื้อเพิ่มของ อุตฯ ฮาร์ดดิสก์ ที่ส่งผลต่อการจ้างแรงงาน เพิ่ม ทั้งนี้คาดว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 ยังมีโอกาสที่จะลดลงในอัตราน้อยกว่าในช่วงไตรมาสแรก และหาก ปัญหาทางการเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นและนโยบายการกระตุ้นการใช้จ่ายของ รัฐบาลน่าจะช่วยให้การใช้จ่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้น และส่งผลให้อุตสาหกรรมฟื้นตัวเร็วขึ้น ส่วนการช่วยเหลือแรงงานที่ถูก เลิกจ้าง กระทรวงอุตสาหกรรมได้ส่งหลักสูตรและแผนงานในการอบรมแรงงานให้กับรัฐเพื่อดำเนินการร่วมกับโครงการต้นกล้าอาชีพ และในขณะเดียวกัน ได้เร่งหารือกับภาคเอกชนในการหาพันธ มิตรเพื่อดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง งานต่อไป”
ผอ.สศอ. ยังกล่าว อีกว่า ล่าสุดมีนักลงทุนหลายรายเข้ามาดูพื้นที่ในเขตนวนคร โดยเฉพาะนักลงทุนจากอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน แต่ทั้งนี้ต้องรอการตัดสินใจ และดูสถานการณ์ครึ่งปีแรกก่อน หากปัญหาด้านการ เมืองคลี่คลายลง คาดว่าในปีนี้จะมีการลง ทุนใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
โดยสรุปดัชนีผล ผลิตอุตสาหกรรมเดือน มีนาคม 2551 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนคือ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 159.23 ลดลง -17.74% จากระดับ 193.57 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 154.60 ลดลง -22.88% จากระดับ 200.45
ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 155.93 ลดลง -20.51% จากระดับ 196.18 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 111.62 ลดลง -6.41% จากระดับ 119.27 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 142.93 ลดลง -9.22% จากระดับ 157.45
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 201.43 เพิ่มขึ้น 16.73% จากระดับ 172.56 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 195.42 เพิ่มขึ้น 17.92% จากระดับ 165.72 ส่วนอัตราการใช้กำลัง การผลิต อยู่ที่ 54.46%
ที่มา: siamturakij.com