Author Topic: ยุโรปเร่งสอบกูเกิล ผูกขาดการค้า  (Read 857 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     คณะกรรมาธิการยุโรปหรือ European Commission (EC) ประกาศเริ่มต้นกระบวนการสอบสวนกูเกิล (Google) ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการค้นหาข้อมูลออนไลน์สัญชาติอเมริกันในข้อหาผูกขาดการค้า โดยต้องการตรวจสอบว่ากูเกิลฝ่าฝืนกฎหมายสหภาพยุโรปด้วยการ "ใช้อิทธิพลในตลาดเสิร์ชออนไลน์ในทางที่ผิด"หรือไม่ เพื่อรักษาประโยชน์แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเสิร์ชออนไลน์สัญชาติยุโรปให้สามารถแข่งขันได้อย่างเสรี
       
       รายงานย้ำว่า การเริ่มกระบวนการสอบสวนกูเกิลในข้อหาผูกขาดการค้าที่เกิดขึ้นไม่ได้แปลว่ากูเกิลถูกตัดสินว่าฝ่าฝืนกฎหมายยุโรปแล้ว โดยกูเกิลออกมาให้ความเห็นรับลูกคณะกรรมาธิการอีซีว่าจะให้ความร่วมมือต่อการสอบสวนอย่างเต็มที่
       
       การสอบสวนนี้เกิดขึ้นหลังจากผู้ให้บริการค้นหาข้อมูลออนไลน์สัญชาติยุโรป 3 ราย ออกมาร้องเรียนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่าได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในบริการค้นหาข้อมูลฟรีของกูเกิล ระบุว่าถูกกูเกิล"ลดคะแนน"หรือการจงใจทำให้ระบบค้นหาของกูเกิลจัดลำดับเว็บไซต์ให้มีความสำคัญต่ำ ทำให้ชื่อเว็บไม่ปรากฏในเพจผลการค้นหาด้านให้บริการฟรี เพราะเว็บไซต์เหล่านี้ให้บริการสืบค้นเช่นเดียวกับกูเกิล สิ่งที่เกิดขึ้นจึงดูเหมือนการกีดกันทางการค้าที่ทำให้ทั้ง 3 บริษัทเสียประโยชน์
       
       เว็บไซต์ 3 รายที่ร้องเรียนเรื่องนี้คือเว็บไซต์ Foundem สัญชาติอังกฤษ เว็บไซต์ Ciao จากฝรั่งเศส และเว็บไซต์ ejustice.fr จากฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามครั้งนั้นกูเกิลแถลงการณ์ปฏิเสธว่ากูเกิลไม่ได้ปรับแต่งผลการค้นหา แต่ผลการค้นหาทั้งหมดเกิดขึ้นจากระบบคำนวณหรืออัลกอริทึมของกูเกิล ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน มีข่าวว่าคณะกรรมาธิการยุโรปได้ส่งคำถามเพื่อให้กูเกิลชี้แจงข้อมูลด้านเทคนิคบางจุดแล้ว
       
       เหตุที่การลบชื่อออกจากหน้าผลการค้นหาข้อมูลออนไลน์ของกูเกิลถูกมองว่าเป็นการกีดกันทางการค้า เพราะเพจการค้นหาของกูเกิลคือประตูชั้นยอดที่จะนำนักท่องเน็ตเข้าสู่เว็บไซต์ โดยภายหลังการร้องเรียน รายงานข่าวระบุว่าชื่อเว็บไซต์เหล่านี้ปรากฏในเพจการค้นหาของกูเกิลอีกครั้ง และ Foundem ซึ่งเป็น 1 ในเว็บไซต์ที่ร้องเรียนระบุว่า เว็บไซต์มีทราฟฟิกการใช้งานเพิ่มขึ้นทันทีถึง 10,000%
       
       รายงานย้ำว่า การสอบสวนกูเกิลของคณะกรรมาธิการยุโรปจะครอบคลุมถึงการหาข้อเท็จจริงว่ากูเกิลจงใจลดคะแนนเว็บไซต์คู่แข่งหรือไม่ ซึ่งหากใช่ กูเกิลจะสูญเสียความเชื่อมั่นในโลกออนไลน์ไปอย่างแน่นอน ทั้งหมดนี้ทำให้นักสังเกตการณ์มองว่าไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นคู่แข่งในโลกค้นหาข้อมูลออนไลน์นั้นมีส่วนได้เสียกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะเมื่อบริษัท Ciao 1 ในเว็บไซต์ที่ฟ้องร้องนั้นเป็นบริษัทของไมโครซอฟท์
       
       ไม่เพียงบริการค้นหาข้อมูลฟรี บริการลงโฆษณาบนหน้าเพจการค้นหาของกูเกิลก็ถูกร้องเรียนเรื่องผูกขาดตลาดในยุโรปเช่นกัน โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัท Navx ในฝรั่งเศสซึ่งจำหน่ายซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ผู้ใช้หลบหลีกตำรวจได้ชำระเงินลงโฆษณาบนกูเกิล แต่กูเกิลตัดสินใจถอดโฆษณาดังกล่าวออกเนื่องจากเห็นว่าซอฟต์แวร์ของ Navx ส่งเสริมให้คนทำผิดกฎหมาย
       
       Navx จึงฟ้องร้องกูเกิลให้กูเกิลลงโฆษณา Navx ดังเดิม เพราะซอฟต์แวร์ GPS จากผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Garmin ก็สามารถช่วยให้ผู้ใช้หลบหลีกตำรวจฝรั่งเศสได้เช่นกัน เมื่อกูเกิลยอมแสดงลิงก์โฆษณาของ Garmin การกระทำของกูเกิลต่อ Navx จึงเป็นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งสร้างผลเสียให้แก่ธุรกิจของ Navx ให้ไม่สามารถแข่งขันได้อย่างเสรี
       
       ปี 2010 ถือเป็นปีที่ประเทศในกลุ่มยุโรปออกมาแสดงความกังวลถึงอิทธิพลของกูเกิลที่กินสัดส่วนใหญ่ในตลาดเสิร์ชเอนจินของหลายประเทศ เช่นในฝรั่งเศสที่ถูกประเมินว่ากูเกิลสามารถกินส่วนแบ่งไปมากกว่า 90% โดยหลายกระแสมองว่าอิทธิพลของกูเกิลอาจทำให้ธุรกิจในประเทศไม่เกิดการแข่งขันที่เสรี ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเสียผลประโยชน์ในที่สุด
       
       สำหรับประเทศไทย กูเกิลมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 98% และยังไม่มีหน่วยงานใดออกมาเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันการผูกขาดที่อาจเกิดขึ้น

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)