Author Topic: สาวก FB ทุกคนมีสิทธิ์ได้แอดเดรส @facebook.com "เพื่อจัดการอีเมล"  (Read 2103 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ส่วนบริการข้อความ (Massaging) ของเฟซบุ๊กกำลังจะมีบริการอีเมลใหม่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยจะแสดงข้อความในลักษณะข้อความโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และผู้ติดต่อ ไม่แบ่งตามข้อความแบบอีเมลดั้งเดิม

ซีอีโอเฟซบุ๊กเปิดตัวบริการรับส่งข้อความออนไลน์เจเนอเรชันใหม่ตามข่าวลือ ระบุว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กทุกคนสามารถมีอีเมลแอดเดรสต่อท้ายว่า @facebook.com จริงตามข่าวลือ แต่จะไม่ใช่แอดเดรสเพื่อการรับส่งอีเมลธรรมดา เพราะสามารถใช้แอดเดรสนี้เพื่อการจัดการการสื่อสารผ่านอีเมล พร้อมยืนยันว่าไม่ได้หวังให้สาวกเลิกใช้อีเมลแอดเดรสเดิมของ Yahoo Mail, Gmail หรือค่ายอื่นๆ แต่หวังให้อีเมลสามารถเติมเต็มการสื่อสารออนไลน์แบบเรียลไทม์ได้ดียิ่งขึ้น
       
       มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ผู้ก่อตั้งบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยมอย่างเฟซบุ๊ก เรียกบริการใหม่ของเฟซบุ๊กว่าเป็นระบบรับส่งข้อความแบบประสานหรือ "convergent" ที่สามารถจัดการจดหมายข้อความแบบครบวงจรได้อย่างไร้รอยต่อบนหน้าต่างเดียว โดยนับแต่นี้ บริการข้อความของเฟซบุ๊กจะรวมเอาข้อความแชต ข้อความสั้น และเครื่องมือสนทนาเรียลไทม์อื่นๆเข้ากับอีเมลดั้งเดิม ซึ่งซีอีโอเฟซบุ๊กมองว่า อีเมลนั้นไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้วัยรุ่นได้เท่าที่ควร
       
       "เป็นความจริงที่ผู้ใช้สามารถมีอีเมลแอดเดรส facebook.com แต่มันไม่ใช่อีเมล เพราะมันจะจัดการอีเมล เราไม่คาดหวังให้ผู้ใช้คิดว่าจะต้องไปปิดบริการอีเมลกับ Yahoo Mail หรือ Gmail account ในวันนี้พรุ่งนี้ แต่ก็ไม่แน่ที่อีก 6 เดือน 1 ปี หรือ 2 ปีข้างหน้า ผู้ใช้จำนวนมากจะเริ่มคิดว่านี่คือสิ่งที่ควรจะเป็นในอนาคต"
       
       ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า หลักการทำงานของระบบข้อความอีเมลใหม่ในเฟซบุ๊กจะไม่มีช่องกรอกข้อมูลหัวเรื่อง (subject) ถึง (to) และสำเนาถึง (cc) แต่ผู้ใช้จะสามารถคลิกชื่อเพื่อนแล้วพิมพ์ข้อความลักษณะเดียวกับโปรแกรมแชตทั่วไป โดยจะแสดงข้อความในลักษณะข้อความโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และผู้ติดต่อ ไม่แบ่งตามข้อความแบบอีเมลดั้งเดิม และจะมีระบบจัดกลุ่ม ส่งต่ออีเมล และการแนบไฟล์ตามปกติ
       
       ซัคเกอร์เบิร์กย้ำว่าหัวใจของกลยุทธ์นี้ไม่ได้อยู่ที่การให้บริการเว็บเมล หรือบริการรับส่งอีเมลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอีเมลไม่ใช่ช่องทางการติดต่อที่สำคัญอย่างที่เป็นมาในอดีต และที่ผ่านมา เฟซบุ๊กก็สามารถดันให้ผู้ใช้เข้าสู่ระบบการสื่อสารเรียลไทม์แล้วในระดับหนึ่ง
       
       ซีอีโอเฟซบุ๊กย้ำว่า ระบบข้อความใหม่หรือที่เรียกกันภายในว่า "Titan" จะสามารถให้บริการผู้ใช้เฟซบุ๊กได้ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยปัจจุบัน ผู้ใช้เฟซบุ๊กมากกว่า 350 ล้านคน (จากผู้ใช้ทั้งหมดมากกว่า 500 ล้านคน) นั้นใช้งานบริการข้อความของเฟซบุ๊กอย่างต่อเนื่อง บนยอดการส่งข้อความดิจิตอลมากกว่า 4,000 ล้านข้อความต่อวัน
       
       แม้ซัคเกอร์เบิร์กจะยืนยันว่าไม่หวังแข่งขันกับบริการเว็บเมลอย่าง Hotmail, Yahoo! Mail และ Gmail แต่ด้วยจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กปริมาณมหาศาลย่อมมีโอกาสทำให้ความยิ่งใหญ่ของ 3 ค่ายอีเมลนี้ด้อยลง ปัจจุบัน ฮอตเมลมีจำนวนผู้ใช้มากที่สุดกว่า 361.7 ล้านชื่อ ตามด้วยยาฮู 273.1 ล้านชื่อ และจีเมล 193.3 ล้านชื่อ (ข้อมูลเดือนกันยายน 53)
       
       ล่าสุด มีรายงานว่าอิริค ชมิดท์ ได้กล่าวในงานประชุม Web 2.0 Summit ที่ซานฟรานซิสโก ว่ากูเกิลไม่รู้สึกเดือดร้อนกับการที่เฟซบุ๊คออกมาเปิดตัวบริการอีเมลใหม่ ซึ่งการมีคู่แข่งใหม่ในตลาดเป็นเรื่องดีเพราะจะเป็นตัวช่วยผลักดันให้ตลาดโตขึ้น
       
       "เรามั่นใจในคุณภาพการใช้งานของจีเมล ด้วยความรวดเร็วในการใช้งาน และระบบเสิร์ชที่ทำงานร่วมกับบริการกูเกิลได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีในส่วนของนโยบายความเป็นส่วนตัวของจีเมลที่กูเกิลให้ความสำคัญมาตลอดด้วย"
       
       กูเกิลถูกมองว่าจะเป็นบริษัทที่ได้รับกระทบต่อความเคลื่อนไหวนี้ของเฟซบุ๊ก เนื่องจากผู้ใช้ที่ได้รับข้อความในระบบอีเมลใหม่ของเฟซบุ๊กที่มีไฟล์แนบเอกสารนามสกุล Word, Excel และ PowerPoint จะสามารถกดลิงก์เพื่อเปิดเอกสารบนบริการออนไลน์ของไมโครซอฟท์ Office.com ได้โดยตรง เท่ากับบริการออนไลน์ของกูเกิลย่อมมีโอกาสถูกดึงผู้ใช้ไปไม่มากก็น้อย
       
       Company Related Link :
       Facebook


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
30695 Views
Last post June 07, 2011, 02:39:17 PM
by Nick
0 Replies
1605 Views
Last post May 03, 2012, 01:29:08 PM
by Nick
0 Replies
1867 Views
Last post July 02, 2012, 01:16:36 PM
by Nick
0 Replies
1703 Views
Last post December 19, 2012, 09:02:46 PM
by Nick
0 Replies
1767 Views
Last post February 05, 2013, 06:11:29 PM
by Nick
0 Replies
1900 Views
Last post April 05, 2013, 09:05:44 PM
by Nick
0 Replies
1703 Views
Last post April 17, 2013, 04:26:29 PM
by Nick
0 Replies
1380 Views
Last post May 03, 2013, 07:04:27 PM
by Nick
0 Replies
1573 Views
Last post August 01, 2013, 02:56:37 PM
by Nick
0 Replies
1536 Views
Last post May 10, 2016, 12:56:50 PM
by Nick