Author Topic: ทีดีอาร์ไอเสนอ8ข้อใหญ่พัฒนาไอซีทีไทย  (Read 831 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

      "ทีดีอาร์ไอ"แนะ 8 ข้อใหญ่ พัฒนาขีดความสามารถไอซีทีไทย กัด กทช. ไม่ปล่อย จี้ยกเครื่องกทช.ใหม่ เพราะที่ผ่านมาเอาแต่ออกใบอนุญาต พร้อมเสนอเพิ่มขีดความสามารถไอซีทีไทย เชื่อมโยงการลงทุนระหว่างสถาบันวิจัยและสถาบันท้องถิ่น ผลักดันการใช้งานโอเพ่นซอร์สอย่างจริงจังช่วยประเทศลดต้นทุน หนุนนำเข้าแรงงานต่างชาติที่มีทักษะมาช่วยเพิ่มศักยภาพ และเปิดเสรีโทรคมนาคมเต็มรูปแบบ
       
       ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือ  ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่อง “การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้าน ICT ของประเทศไทย” ว่า มีเรื่องสำคัญ 8 เรื่องที่ควรดำเนินการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านไอซีทีของประเทศไทยได้แก่ 1. ปรับปรุงการจัดเก็บระบบฐานข้อมูลให้มีมาตรฐานง่ายต่อการนำมาใช้งานวิเคราะห์กำหนดนโยบายขับเคลื่อนไอซีทีของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.มีกฎหมายที่เข้มงวดด้านคุณภาพไอซีที เพื่อยกระดับมาตรฐานในทุกด้านโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างความแตกต่างจากกลุ่มประเทศที่มีค่าแรงต่ำ แต่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างประเทศจีน และ เวียดนาม ออกกฎหมาย ThaiLow เช่นเดียวกับทวีปยุโรปที่มีการออกกฎหมายรองรับไอซีที


       
       3.เชื่อมโยงการลงทุนระหว่าง สถาบันวิจัยและสถาบันท้องถิ่น โดยที่ผ่านมาประเทศไทยมีความสามารถในการดึงดูดการลงทุนทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นอย่างดี ฉะนั้นหากสามารถเชื่อมโยงการลงทุนดังกล่าวได้ก็จะสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านไอซีทีไทยเป็นอย่างดี ข้อ4.ส่งเสริมนโยบายซอฟต์แวร์ มุ่งสู่การผลัดดันการใช้งานโอเพ่นซอร์ส เพื่อช่วยลดต้นทุน โดยในปี 2552 ที่ผ่านมาตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยมีมูลค่า 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าตลาดโอเพ่นซอร์ส 10,000 ล้านบาท
       
       ข้อ5 .ส่งเสริม ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ไทยออกสู่ตลาดต่างประเทศ ถ้ามุ่งมั่นที่จะเอาดีด้านนี้ก็ควรมีนโยบายผลักดันที่ชัดเจน ข้อ6. มีนโยบายสนับสนุนการดึงแรงงานต่างประเทศที่มีทักษะด้านไอซีทีเข้ามาช่วยพัฒนาไอซีทีของไทย ข้อ7. มีการเปิดเสรีโทรคมนาคมโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาด้านกฎหมายที่ยังจำกัดไม่ให้ผู้ประกอบการต่างประเทศเข้ามาลงทุนโทรคมนาคมในประเทศอย่างเต็มที่ เพราะพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม และพ.ร.บ. การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว กำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นในธุรกิจโทรคมนาคมได้ไม่เกิน 50 %
       
       สำหรับข้อ ข้อ8. การยกเครื่องการกำกับดูแลโทรคมนาคมใหม่เนื่องจากที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ไม่ได้ทำหน้าที่กำกับดูแลเท่าที่ควร ทำได้เพียงออกใบอนุญาตใหม่ส่วนเรื่องจำเป็น อาทิ เลขหมายเดียวทุกระบบ หรือ นัมเบอร์พอร์ต ใบอนุญาต 3G ทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไม่สามารถเดินหน้าได้เท่าที่ควร
       
       ดร.สมเกียติกล่าวต่อว่า ปัจจุบันยังพบว่าค่าบริการบรอดแบนด์ของประเทศไทยสูงกว่าประเทศอื่นแม้จะลดลงเล็กน้อย โดยในปีที่ผ่านมาค่าบริการบรอดแบนด์อยู่ที่ 7-8 % ของรายได้ต่อเดือนของคนไทย แต่พบว่าความเร็วในการใช้งานและประสิทธิภาพในการใช้งานยังต่ำกว่าประเทศอื่น ที่ให้บริการบรอดแบนด์ในระดับความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพ เช่นประเทศสิงคโปร์ให้บริการที่ 20 Mbps เกาหลีไม่ต่ำกว่า 10 Mbps และญี่ปุ่นให้บริการที่ระดับ 8 -50 Mbps
       
       อย่างไรก็ดี จากการศึกษาของ ทีดีอาร์ไอยัง พบว่าประเทศไทยมีการลงทุนด้านโทรคมนาคม ต่ำมากติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีเมื่อเทียบกับประเทศมาเลเชีย  ซึ่งเป็นผลให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้านไอซีทีต่ำ
       
       ขณะที่ นายอังศุมาล ศุนาลัย รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที  กล่าวว่า ภาครัฐจะสนับสนุนการใช้โอเพ่นซอร์สอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อช่วยลดต้นทุนการซื้อไอซีที  และจะมีการสนับสนุนใช้โอเพ่นซอร์สในประเทศมากยิ่งขึ้น ทั้งยังจะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการช่วยการพัฒนา แทนการส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันเองในกลุ่ม

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)