Author Topic: "ขาดทุน" ต้นเหตุสนุกดอทคอมถูกขายต่อให$  (Read 2075 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ล้วงเบื้องลึกกรณีสนุกดอทคอม (www.sanook.com) เว็บไซต์ยอดนิยมอันดับหนึ่งของไทย ถูกบริษัทเท็นเซ็นต์ (Tencent) สัญชาติจีนซื้อหุ้นไปด้วยมูลค่าเพียง 10.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 341 ล้านบาท พบ"บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด"ขาดทุนสะสมเกิน 1,000 ล้านบาทมานานกว่า 3 ปีแม้จะสามารถทำกำไรขั้นต้นในแต่ละไตรมาสได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นักสังเกตการณ์เชื่อว่าบริษัทจีนมองเห็นศักยภาพของสนุกดอทคอมในการเป็นทางลัดเพื่อขยายฐานตลาดทั่วเอเชีย และการซื้อขายหุ้นครั้งนี้จะส่งให้การแข่งขันในตลาดออนไลน์ไทยเข้มข้นขึ้นแน่นอน
       
       ผลของการซื้อขาย คือหุ้นของสนุกกว่า 2,496 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 49.92% ของบริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด ซึ่งบริษัท เอ็มเว็บ พอร์ทัล (ประเทศไทย) จำกัดถืออยู่ ได้ตกไปอยู่ในมือยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการเว็บท่าหรือ Web Portal แดนมังกรนามว่าเท็นเซ็นต์ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ประเด็นที่เกิดขึ้นได้รับความสนใจจากคนไทยอย่างมาก เนื่องจากสนุกดอทคอมนั้นมีดีกรีเป็นเว็บไซต์ไทยที่มีเพจวิวสูงที่สุดในประเทศ
       
       ข้อมูลจากทรูฮิตส์ (truehits.net) ระบุว่าปริมาณการใช้งาน sanook.com เฉลี่ยในเดือนกรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมานั้นสูงที่สุดในบรรดาเว็บไทยแต่เป็นอันดับ 6 ของประเทศเพราะแพ้ทางเว็บต่างชาติอย่าง Google (ทั้ง .com และ .co.th), YouTube, Windows Live และ Facebook
       
       ที่ผ่านมา บริการของสนุกดอทคอมนั้นครอบคลุมทั้งส่วนความบันเทิง ข้อมูลข่าวสาร บริการชุมชนคนออนไลน์ และบริการอีคอมเมิร์ช มีรายได้จากธุรกิจโฆษณาออนไลน์บนเว็บท่า, เกมออนไลน์, ลงประกาศ รวมถึงบริการทางโทรศัพท์มือถือ การที่บริษัทจีนเทเงินซื้อหุ้นสนุกดอทคอมย่อมจะทำให้บริการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
       
       ทำไมซื้อ ทำไมขาย (ถูก) ?
       
       รายงานข่าวเบื้องต้นระบุว่า การซื้อหุ้นสนุกดอทคอมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ขยายตลาดในเอเชียของเท็นเซ็นต์ ก่อนหน้านี้ เท็นเซ็นต์ได้ซื้อบริษัท Comsenz ผู้ให้บริการเว็บบอร์ดออนไลน์และเครือข่ายสังคมของจีน โดยผู้บริหารสนุกบอกว่า การเข้าซื้อหุ้นสนุกจะทำให้เท็นเซ็นต์สามารถส่งต่อความรู้ความชำนาญแก่สนุกดอทคอมได้
       
       นี่อาจเป็นเพียงเหตุผลส่วนเดียวที่ทำให้เอ็มเว็บตัดสินใจขายหุ้น เพราะจากการตรวจสอบงบดุลและงบกำไรขาดทุนของสนุก เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้สนุกตัดสินใจขายหุ้นเกือบครึ่งหนึ่งในราคาเพียง 10.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับดีกรีเว็บไทยอันดับ 1) กลับพบว่าสนุกมีตัวเลขการขาดทุนสะสม 1,325 ล้านบาท (ตัวเลขไตรมาส 1 ปี 53) ทั้งที่สามารถทำกำไรขั้นต้นได้เพิ่มขึ้นทุกปี
       
       ตัวเลขขาดทุนไตรมาส 1 ปี 53 ถือว่าดีกว่าตัวเลขขาดทุนสะสมในปี 52 ซึ่งสนุกดอทคอมขาดทุนสะสมถึง 1,408 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 50 ที่ขาดทุน 1,241 ล้านบาท
       
       ส่วนหนึ่งที่ทำให้สนุกขาดทุนสูงผิดปกติในปี 52 คือตัวเลขขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ใช่ต้นทุนการให้บริการเพิ่ม โดยในส่วนของรายได้ ไตรมาสแรกของปี 53 สนุกสามารถทำรายได้ราว 177 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 52 ที่ทำได้ 162 ล้านบาท แต่ยังน้อยกว่าปี 51 ที่สนุกทุบยอดขายได้ถึง 184 ล้านบาท
       
       ตัวเลขรายได้ที่ค่อนข้างสวยงามนี้เองส่งให้สนุกมีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 22 ล้านบาทในปี 51 มาเป็น 35 ล้านบาทในปี 52 และเป็น 48 ล้านบาทในปี 53 จุดนี้เองที่ทำให้เท็นเซ็นต์ยอมเสี่ยง เพราะมองเห็นคุณค่าของสนุกในการเป็นพันธมิตรชั้นยอดเพื่อรุกตลาดนอกประเทศจีน
       
       แหล่งข่าวในวงการอินเทอร์เน็ตให้ความเห็นว่า สนุกนั้นมีฐานผู้ใช้ขนาดใหญ่ ทำให้เท็นเซ็นต์ประหยัดเวลาในการสร้างฐานตลาดได้ ขณะเดียวกันสนุกก็มีศักยภาพสูงเพราะมีคอนเทนท์และบริการใหม่ตลอดเวลา เช่นการร่วมกับอีเบย์ให้บริการ shopping.co.th มีการร่วมมือกับทีวีไดเร็คเพื่อผลักดันบริการจากโลกออนไลน์มาสู่ออฟไลน์
       
       "ที่ผ่านมา จีนมีบทบาทต่อการพาณิชย์ประเทศไทยเยอะมาก การซื้อสนุกจะทำให้จีนมีบทบาทในวงการอินเทอร์เน็ตไทยมากขึ้น จากก่อนนี้ที่เป็นประเทศอย่างญี่ปุ่น เช่นราคุเทนที่มาซื้อหุ้นตลาดดอทคอมไป ตรงนี้ในแง่ทุนนิยมต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และน่ายินดีกับสนุกเพราะจีนก็เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจออนไลน์มาก ขณะที่คู่แข่งอย่างกระปุกดอทคอม เมื่อรู้ถึงดีลที่เกิดขึ้นก็ต้องตื่นตัวเพื่อพัฒนาแผนมาสู้กัน ก็จะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค"
       
       ระวังการครอบงำ
       
       "หน้าที่ของรัฐนับจากนี้ ก็คือต้องดูแลไม่ให้ต่างชาติเข้ามาครอบงำอุตสาหกรรม และให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมที่เสรี รัฐบาลต้องต้อนรับการลงทุนลักษณะนี้อยู่แล้ว เพราะจะเป็นอีกทางที่ทำให้คนได้มีความรู้ความชำนาญเพิ่มขึ้น เป็นโอกาสเกิด Technology Transfer ซึ่งจะทำให้คนไทยเก่งขึ้น" แหล่งข่าวระบุ
       
       สำหรับโครงสร้างบริษัทหลังการซื้อขายหุ้น รายงานชี้ว่าเท็นเซ็นต์จะได้สิทธิเข้ามาบริหารและสามารถเข้าเป็นคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) 2 ตำแหน่งในสนุกดอทคอม โดยทีมผู้บริหารในประเทศไทยล่าสุดยังเป็นซีอีโอคนเดิมคือ "ต่อบุญ พ่วงมหา"
       
       ก่อนหน้านี้ ต่อบุญยืนยันเสมอว่าเงินที่หมุนเวียนในวงการออนไลน์เมืองไทยนั้นมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะธุรกิจตลาดกลางซื้อขายออนไลน์ของสนุกนามว่า shopping.co.th นั้นมียอดขายอยู่ที่ 200-300 ล้านบาทต่อปี ยอดจำนวนร้านค้าราว 3,000 ร้าน เพิ่มขึ้นกว่า 50-60% จากปี 52 ยอดผู้ซื้ออยู่ที่ราว 300,000 ราย จำนวนเพจวิวอยู่ที่ 1 ล้านเพจวิวต่อวัน
       
       นอกจากสนุกดอทคอม เท็นเซ็นต์ได้จ่ายเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9,750 ล้านบาทเพื่อถือหุ้น 10% ในกลุ่มทุนนาม Digital Sky Technologies ซึ่งเป็นบริษัทออนไลน์รัสเซียด้วย ทั้งหมดเป็นสัญญาณว่าเท็นเซ็นต์จะสยายปีกธุรกิจออนไลน์ในตลาดโลกอย่างจริงจัง
       
       Company Related Link :
       สนุกดอทคอม

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
4274 Views
Last post February 06, 2009, 12:26:04 AM
by Webmaster
0 Replies
2442 Views
Last post February 10, 2009, 11:51:50 AM
by IT
0 Replies
6008 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
6901 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
3088 Views
Last post November 17, 2010, 06:48:45 PM
by Nick
0 Replies
3559 Views
Last post November 17, 2010, 06:56:32 PM
by Nick
0 Replies
3974 Views
Last post November 17, 2010, 06:58:34 PM
by Nick
0 Replies
3704 Views
Last post November 17, 2010, 07:00:28 PM
by Nick
0 Replies
2273 Views
Last post July 14, 2011, 10:38:39 AM
by HR@Orisma
17 Replies
8716 Views
Last post June 04, 2013, 09:38:16 PM
by visavivamarts