Author Topic: ควันหลง ซีบิท 2009 มหกรรมไอทีที่ยังมีสีสัน  (Read 1143 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับงานมหกรรมไอซีทีที่ใหญ่ที่สุด 'ซีบิท 2009 'เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี ที่มีขึ้นช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ถึงแม้ว่า งานนี้จะมีผู้เข้าร่วมงาน 4,300 บริษัท จาก 69 ประเทศ ต่างนำเทคโนโลยีทางด้านไอทีและการสื่อสารมาเข้าร่วมงาน แต่ก็ดูซึมๆ ตามสภาวะเศรษฐกิจ ไม่คึกคักเหมือนทุกปีที่ผ่านมา


       
        โดยทางผู้จัดงานยอมรับว่า ปีนี้บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และโทรคมนาคมรายเล็กๆ จากจีน ไต้หวัน ที่เดิมเคยสร้างสีสันนวัตกรรมใหม่ให้กับงาน มาปีนี้หายหน้าหายตาไปพอสมควร รวมกับบริษัทอื่นๆ ที่ประหยัดงบประมาณ ทำให้มีบริษัทเข้าร่วมงานลดลงถึง 25%
       
        ปีนี้มีความพิเศษอยู่ตรงที่ เป็นปีแรกที่ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย 'อาร์โนลด์ ชวาเซเนกเกอร์' เป็นตัวแทนของ 50 บริษัทในซิลิกอน วัลเลย์ สหรัฐอเมริกาเข้ามาร่วมกล่าวสุนทรพจน์เปิดงานร่วมกับนายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมัน 'แองเจลา เมอร์เคล'
       
       ประเด็นที่ยังคงร้อนแรงและมีการพูดถึงอย่างต่อเนื่อง ก็คือ กรีนไอที หรือเทคโนโลยีสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม กับนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตแบบพกพา เป็น 2 ประเด็นที่วางตัวให้เป็นพื้นที่หลักที่จะสามารถดึงดูดใจผู้บริโภคท่ามกลางภาวะพิษเศรษฐกิจที่กำลังออกลาย
       
       กรีนไอทีที่เชื่อว่าจะถูกให้ความสำคัญเป็นพิเศษคือเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน และการใช้งานระบบไอทีแบบอัจฉริยะ โดยฮาร์ดแวร์ที่จะเปิดตัวในงานนี้ได้แก่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กบางพิเศษประสิทธิภาพสูงตัวแรกของฟูจิตสึที่ได้ชื่อว่า "แล็ปทอปศูนย์วัตต์' หรือ zero-watt laptop ที่สามารถงดใช้พลังงานไฟฟ้าได้เมื่อเข้าสู่โหมดพักการใช้งาน หรือ sleep-mode
       
        นอกนั้น ก็จะเป็นนวัตกรรมเด่นๆ ที่ช่วยให้งานมีสีสัน ไม่ว่าจะเป้น หุ่นยนต์ที่มีชื่อว่า โรลริ่งจัสติน เป็นหุ่นยนต์บริกรที่ค่อยรินน้ำชากล่าวคำทักทายและเขย่ามือผู้เข้าร่วมงานไม่ต่างจากบริกรที่อยู่ตามร้านอาหารตัวจริง
       
        อัสซุสเทคก็นำคอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊กตัวเล็ก อีอีอีพีซี ที91 ที่มีจุดเด่นตรงที่หน้าจอหมุนได้ 180 องศา และถ่านชาร์จซึ่งมาพร้อมตัวเสียบยูเอสบี ที่สามารถชาร์จพลังงานได้ทันทีที่เสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องพกพาที่ชาร์จพร้อมปลั๊กไฟให้ยุ่งยากอีกต่อไป
       
        ทางด้านโตชิบา มีแผนจะเปิดตัวโทรทัศน์ที่สามารถใช้พลังงานน้อยกว่าโทรทัศน์ปรกติราวครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ใหม่ที่จะทำให้บริษัทประหยัดค่าเครื่องบินได้
       
        ในส่วนของอุปกรณ์แกดเจ็ต บริษัทผลิตเครื่องเสียงเยอรมนีอย่าง Blaupunkt มีแผนเปิดตัวต้นแบบวิทยุรถยนต์อินเทอร์เน็ตเครื่องแรกที่ผู้ใช้สามารถฟังวิทยุนับหมื่นสถานีผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะที่บริษัทไต้หวันเตรียมเปิดตัวเครื่องติดตาม จีพีเอสกันน้ำที่ไผใช้จะสามารถติดตามหาเบาะแสหากมอเตอร์ไซค์ เรือ หรือของมีค่าใดก็ตามที่ถูกขโมยไป รวมถึงอุปกรณ์ไอทีที่เปิดเครื่องแล้ว ซึ่งจะสามารถส่งตำแหน่งจีพีเอสกลับมาบอกเจ้าของได้ผ่านเอสเอ็มเอส
       
       และยังมีนาฬิกาปลุกที่มาพร้อมระบบติดตามจังหวะการนอนหลับเพื่อหาช่วงเวลาปลุกที่กระปรี้กระเปร่าที่สุด ระบบจำลองกายภาพคนชราที่จะทำให้วัยรุ่นสามารถสวมใส่เพื่อจะได้รู้ถึงร่างกายของคนชราวัย 75 ปี รวมถึงระบบรักษาโรคทางไกล หรือ telemedicine เพื่อการรักษาผู้ป่วยโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาโรงพยาบาล
       
        พจนานุกรมไฮเทค พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไซเบอร์ดิกเทคโนโลยี 'ไซเบอร์ดิก 3 ไดมอนด์' บรรจุพจนานุกรมด้านภาษาและวิชาการ 63 เล่ม สามารถป้อนข้อมูลและออกเสียงได้ 13 ภาษา และวิดีโอภาษาอังกฤษ จอกว้าง 3.5 นิ้ว บันทึกเสียงบนเอสดี การ์ดความจุ 4 กิกะไบต์
       
        อีบุ๊กเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่ถูกนำมาแสดงในงานครั้งนี้ด้วย อย่าง eSlick ที่มาพร้อมหน้าจอขนาด 6 นิ้ว ความละเอียด 600x800 พิกเซล หน่วยความจำภายใน 128 เมกะไบต์ สามารถเสียบเอสดีการ์ด เพิ่มความจุได้สูงสุด 4 กิกะไบต์ ใช้ชิปประมวลผล Samsung S3C2440 ARM 400MHz รันบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ รองรับการอ่านไฟล์จากไฟล์จำพวกพีดีเอฟและเท็กซ์ สามารถเล่นไฟล์เพลง เอ็มพี3 ได้
       
        อีบุ๊กสัญชาติเยอรมัน txtr มาพร้อมหน้าจอแสดงหมึกอิเล็กทรอนิกส์ขนาด 6 นิ้ว ที่รับประกันว่าสามารถอ่านได้นานนับสัปดาห์ รองรับยูเอสบี บลูทูธและเครือข่ายข้อมูลเคลื่อนที่ ยูเอ็มทีเอสและจีพีอาร์เอส
 
ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
1338 Views
Last post May 04, 2009, 06:58:50 PM
by Reporter
0 Replies
1690 Views
Last post May 08, 2009, 03:33:36 AM
by Reporter
0 Replies
1656 Views
Last post May 15, 2009, 06:34:30 PM
by Reporter
1 Replies
2102 Views
Last post August 28, 2009, 05:54:36 PM
by IT
0 Replies
4138 Views
Last post September 26, 2009, 10:02:43 AM
by IT
0 Replies
1449 Views
Last post December 11, 2009, 12:20:22 AM
by IT
0 Replies
1466 Views
Last post December 18, 2009, 10:46:26 AM
by IT
0 Replies
1437 Views
Last post January 05, 2010, 11:03:44 AM
by IT
0 Replies
1399 Views
Last post February 08, 2010, 08:48:11 AM
by Nick
0 Replies
1079 Views
Last post October 14, 2010, 04:06:16 PM
by Nick