Author Topic: ฉนวนกันเสียง: มาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ  (Read 368 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Online siritidaporn

  • Pro Member
  • *
  • Posts: 829
  • Karma: +0/-0

มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน หรือที่ NIOSH เรียกว่า โครงการป้องกันภาวะการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน เป็นโครงการที่กำหนดขึ้นตามกฎหมายเพื่อให้สถานประกอบการต่างๆ สามารถป้องกันและลดจำนวนผู้มีภาวะสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากเสียงดัง โดยการดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์การได้ยินนี้ครอบคลุม ทั้งการเฝ้าระวังเสียงดังในสถานประกอบการให้อยู่ในระดับที่กฎหมายกำหนด การเฝ้าระวังสมรรถภาพการได้ยิน การควบคุมการสัมผัสเสียงดังและการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล การติดป้ายเตือนอันตรายจากเสียงดัง รวมถึงการจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน

โดยข้อกำหนดตามกฎหมายของประเทศไทยคือ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561 กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่สนับสนุนให้สถานประกอบกิจการต่างๆ ที่มีสภาพแวดล้อมเสียงดัง ได้จัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดภาวะการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากการทำงานสัมผัสเสียงดัง โดยให้นายจ้างจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ ในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียง ที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน  8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป และหากผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน พบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยินที่หูข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่ 15 เดซิเบล ขึ้นไป ที่ความถี่ใดความถี่หนึ่ง

สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น คณะกรรมการบริหารงานความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยจากการประกอบอาชีพ (OSHA) ได้กำหนดมาตรการอนุรักษ์การได้ยินขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดภาวะการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากการทำงานสัมผัสเสียงดัง นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน (NIOSH) ก็มีโครงการป้องกันภาวะการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากการทำงานสัมผัสเสียงดังขึ้นเช่นกัน



กฎหมายความปลอดภัยเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง เสียง

นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงมิให้ลูกจ้างได้รับสัมผัสเสียงในบริเวณสถานประกอบกิจการ ที่มีระดับเสียงสูงสุด ของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก เกิน ๑๔๐ เดซิเบล หรือได้รับสัมผัสเสียงที่มีระดับเสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่เกินกว่า ๑๑๕ เดซิเบลเอ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงพ.ศ. ๒๕๕๙

นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. ๒๕๕๙

หมวด ๓ เสียง

ข้อ ๗ นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงมิให้ลูกจ้างได้รับสัมผัสเสียงในบริเวณสถานประกอบกิจการ ที่มีระดับเสียงสูงสุด (peak sound pressure level) ของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (impact or impulse noise) เกิน ๑๔๐ เดซิเบล หรือได้รับสัมผัสเสียงที่มีระดับเสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (continuous steady noise) เกินกว่า ๑๑๕ เดซิเบลเอ

ข้อ ๘ นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

ข้อ ๑๐ ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กําหนดในข้อ ๗ หรือข้อ ๘ นายจ้างต้อง จัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน

ข้อ ๑๑ ในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงตั้งแต่ ๘๕ เดซิเบลเอขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด


พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔

หมวด ๘ บทกำหนดโทษ

มาตรา ๕๓ นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา ๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



ฉนวนกันเสียง: มาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)