Author Topic: ซี.พี.ฟื้นโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟป้อนไฮสปีดเทรน  (Read 197 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline luktan1479

  • Sr. Member
  • ****
  • Posts: 361
  • Karma: +0/-0
    • http://www.facebook.com/-
    • http://instagram.com//-

ดีเดย์ปี 2564 รถไฟเตรียมเปิดโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ หลังหยุดไป 2 ปี เพิ่มหลักสูตรระบบไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ด้าน ซี.พี.จ่อหารือผลิตคนป้อนไฮสปีดและแอร์พอร์ตลิงก์ ทุ่ม 300 ล้าน ผุดศูนย์ความเป็นเลิศระบบรางที่มักกะสัน

นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เปิดเผยว่า เตรียมจะเข้าไปหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเปิดการสอนที่โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านระบบรางในโครงการรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ตลิงก์ที่บริษัทได้สัมปทานเดินรถ ซึ่งแอร์พอร์ตลิงก์มีบางส่วนจะรับโอนมาจากบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่มีอยู่กว่า 500 คน ทางพันธมิตรร่วมลงทุนซึ่งข่าวอสังหาริมทรัพย์ล่าสุดทราบ คือ บจ.Ferrovie dello Stato Italiane หรือ FS จากประเทศอิตาลี และบริษัทที่ปรึกษากำลังทำแผนงานด้านโอเปอเรตโครงการและเทรนนิ่งคน จะแล้วเสร็จอีก 2-3 เดือนนี้

“จะไปดูโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ทราบว่าหยุดสอนมา 2 ปี มีนักเรียนค้างอยู่ประมาณ 150 คน ยังเข้าไปทำงานในการรถไฟฯไม่ได้ เพราะถูกจำกัด และรุ่นใหม่จะต้องทำยังไง ที่น่าสนใจคือมีหลักสูตรร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จะทำหลักสูตรรถไฟความเร็วสูง ซึ่งใช้เวลาอีก 2 ปี เราคงเข้าไปร่วมตรงนั้นด้วยเลย”

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อจากกลุ่ม ซี.พี. ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟหยุดสอนไปร่วม 2 ปี เนื่องจากจะพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพิ่ม คือ ระบบไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ใช้เวลาเรียน 3 ปี อยู่ระหว่างขออนุมัติหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมระบบราง คาดว่าปี 2564 จะเปิดการเรียนการสอนได้

“การรับนักเรียนขึ้นอยู่กับขีดความสามารถและแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์ผู้สอน หลังจบ ปวส.ก็สามารถไปต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยได้ ส่วนที่จบไปแล้ว 150 คน ตอนนี้ได้รับการบรรจุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”

นายวรวุฒิกล่าวว่า ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.กับกลุ่ม ซี.พี. ผู้พัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีข้อตกลงร่วมกันจะพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และความเป็นเลิศด้านระบบรางที่มักกะสัน ที่ได้สิทธิพัฒนาเชิงพาณิชย์ (T0D) เนื้อที่ 150 ไร่ ซึ่ง ซี.พี.จะลงทุนให้ แต่ยังไม่กำหนดรูปแบบ

รายงานข่าวแจ้งว่า ในข้อเสนอรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทางกลุ่ม ซี.พี.เสนอเงินลงทุน 300 ล้านบาท ให้รัฐเพื่อสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านระบบรางอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน อาคาร


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)