Author Topic: ตรวจกระดูก สิ่งสำคัญสำหรับวัยสูงอายุ  (Read 342 times)

0 Members and 3 Guests are viewing this topic.

Offline guupost

  • Platinum Member
  • ****
  • Posts: 5546
  • Karma: +0/-0


ตรวจกระดูก สิ่งสำคัญสำหรับวัยชรา
กระดูกเป็นโครงพยุงร่างกายและแหล่งสะสมแคลเซียมสำคัญ หากละเลยอาจเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุนโดยไม่ทันตั้งตัว เสี่ยงพิการถาวรได้!

กระดูก (Bone) เป็นโครงสร้างที่สำคัญ นอกจากจะทำหน้าที่เป็นโครงร่างพยุงร่างกายแล้ว ยังเป็นแหล่งสะสมแคลเซียมที่สำคัญอีกด้วย ความผิดปกติของกระดูกที่พบในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การหักหรือแตก (Fracture) เนื่องจากอุบัติเหตุ ซึ่งพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ตาม ในผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป การตรวจกระดูกเป็นเรื่องสำคัญเป็นพิเศษ เพราะจะช่วยให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลสามารถวางแผนป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้อย่างทันท่วงที ซึ่งภาวะกระดูกพรุนนี้ หากใครเป็นขึ้นมา เวลาล้มหรือหรือเกิดอุบัติเหตุแล้วกระดูกหัก ก็มีโอกาสพิการตลอดชีวิตได้

การตรวจสุขภาพกระดูกคืออะไร?
การตรวจสุขภาพกระดูก คล้ายกับการตรวจสุขภาพทั่วไปแต่เน้นไปที่สุขภาพของกระดูก เพื่อวางแผนป้องกัน และลดความเสี่ยงต่อต่อภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุเป็นหลัก ซึ่งโดยรวมแล้วถือว่าเป็นภัยเงียบที่อันตรายมากเหตุเพราะภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) หรือกระดูกบาง (Osteopenia) จะไม่มีอาการแสดงใดๆ เลย ผู้เจ็บป่วยโดยมากมักจะทราบเมื่อเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยต่อกระดูก แต่อุบัติเหตุนั้นทำให้กระดูกหักและการเชื่อมต่อกันเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ มีรายงานว่าผู้เจ็บป่วยจำนวนมากมีกระดูกผิดรูป กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเสียชีวิตภายในหนึ่งปีเนื่องจากอาการแทรกซ้อนต่างๆ หลังจากประสบอุบัติเหตุกระดูกหัก ด้วยเหตุนี้การตรวจสุขภาพกระดูกจึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าจะทำให้หมอวางแผนการป้องกัน และรักษาได้อย่างทันท่วงที

วิธีตรวจกระดูก
การตรวจกระดูกปัจจุบันมีหลายวิธี ดังเช่น ซักประวัติ ตรวจร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบพิเศษอีกหลายชนิด เช่น ตรวจเลือด ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เป็นต้น
วิธีตรวจกระดูกที่เป็นที่นิยมมี 3 วิธี ดังนี้
1. การสังเกตลักษณะภายนอกของร่างกาย (General appearance)
วิธีนี้ช่วยบ่งบอกถึงภาวะกระดูกพรุนได้ โดยในผู้สูงอายุที่มีกระดูกสันหลังค่อม ตัวเตี้ยลง อาจจะเป็นสัญญาณของกระดูกสันหลังพรุนหรือทรุดตัวได้ ข้อเสียของการสังเกตคือ กว่าจะพบภาวะผิดปกติดังกล่าว คนไข้มักจะมีภาวะกระดูกพรุนรุนแรงแล้ว
2. ใช้ภาพถ่ายเอกซเรย์ (X-ray)
จากภาพถ่ายเอกซเรย์ของผู้ที่มีกระดูกพรุน จะพบว่าภาพบริเวณกระดูกมีสีดำขึ้น เนื่องจากความหนาแน่นของกระดูกลดลง โพรงกระดูกกว้างขึ้น เห็นลายกระดูกหยาบๆ และในคนไข้บางรายอาจจะเห็นขอบของกระดูกเป็นสีขาวชัดเจน
นอกจากนี้ยังอาจเห็นรอยร้าวของกระดูก หรือการทรุดตัวของกระดูกด้วย มักพบความผิดปกติเหล่านี้โดยบังเอิญ
จุดด้อยคือไม่สามารถบอกระดับความรุนแรงของภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนได้ชัดเจน ทำให้การประเมินผลการรักษาเป็นไปได้ยาก
การถ่ายเอกซเรย์อาจอยู่ในท่ายืนหรือนั่ง ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของผู้ที่รับการตรวจ
อ่านบทความเรื่อง ตรวจกระดูก ต่อได้ที่
เว็บไซต์ : https://www.honestdocs.co/bone-examination


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)