Author Topic: คอบอลต้องระวัง 'ไซแมนเทค'เผยมือถือ-โซเชียลฯเสี่ยงถูกล้วงข้อมูล  (Read 863 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


เปิดโปงภัยคุกคามแนวใหม่ ขยายตัวมาถึงมือถือ ตรวจพบแล้วกว่า 400 รูปแบบ เตือนชาวไซเบอร์ไม่โพสต์ข้อความโจ่งแจ้ง เกรงผู้ไม่หวังดีอาศัยโอกาสช่วงออกเชียร์ทีมโปรด ย่องเบากวาดทรัพย์สิน ...

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน จำกัด เปิดเผยว่า กระแสความนิยมฟุตบอลโลกถือเป็นโอกาสและช่องทางสำคัญสำหรับอาชญากรไซเบอร์ ขณะนี้ มีการตรวจพบภัยคุกคามบนแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือกว่า 400 รูปแบบ แม้จะมีจำนวนไม่เทียบเท่าภัยคุกคามบนคอมพิวเตอร์พีซีที่สูงถึง 4 ล้านภัยคุกคาม แต่ปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากต่างเลือกติดตามข่าวสารผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน ด้วยความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึง ทำให้เกิดความเสี่ยงในการถูกโจมตีจากฟิชชิ่ง เว็บไซต์หลอกลวง และการดาวน์โหลดที่อาจเสี่ยงต่อไวรัส

"ความนิยมและพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้มือถือเป็นแหล่งรวมข้อมูล ทั้งเรื่องส่วนตัวและธุรกิจ อาชญากรจึงมุ่งเข้าถึงข้อมูลสำคัญจากส่วนดังกล่าว แม้มือถือบางรุ่นจะมีระดับป้องกันข้อมูลแต่ขั้นตอนเหล่านั้นสามารถปลดออกได้โดยง่าย ดังนั้น แฟนบอลจึงควรแบ็คอัพข้อมูลเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์หรือแหล่งจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ นอกจากนี้ ยังต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กให้มากขึ้น เนื่องจากอาชญากรอาจใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวเมื่อเหยื่อเดินทางออกจากบ้านไปสนุกกับการดูฟุตบอล" นายนพชัย กล่าว

ทั้งนี้ เว็บไซต์ 2010 Net Threat ของไซแมนเทค ได้ให้คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์มือถือเบื้องต้น อาทิ ให้ระมัดระวังตลอดเวลา อย่าเผลอลืมทิ้งโทรศัพท์มือถือ แบ็คอัพข้อมูลทั้งหมดไปยังคอมพิวเตอร์หรือแหล่งจัดเก็บอื่นๆ ทันทีที่มีโอกาส ลบเอสเอ็มเอสน่าสงสัยและไม่พึงประสงค์โดยทันที เลือกใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉพาะเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ ระมัดระวังการโพสต์ข้อมูลส่วนตัวลงเว็บไซต์เครือข่ายสังคม เพิ่มความระมัดระวังในการใช้งานบลูทูธ ควรใช้ในโหมดซ่อนตัว  ตั้งรหัสผ่านที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานโทรศัพท์มือถือและบริการต่างๆ หรือวางแผนการดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ก่อนออกจากบ้าน โดยผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ทาง www.2010netthreat.com


ที่มา: thairath.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)