Author Topic: นักวิทยาศาสตร์จาก ม.สแตนฟอร์ด คิดค้นสมาร์ทแบตเตอรี่ ที่สามารถเตือนได้ก่อนลุกไหม้  (Read 670 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


นับเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นสำหรับเทคโนฯในปัจจุบัน เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นพัฒนา แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ที่สามารถเตือนภัยให้รู้ล่วงหน้าได้ว่า เกิดความร้อนสูงและกำลังจะระเบิด

ถึงแม้ว่า จะไม่ค่อยได้เกิดเหตุการณ์กรณีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนความร้อนสูงและระเบิดให้เห็นบ่อยนัก แต่การพัฒนาเพื่อหาวิธีทางป้องกันไว้ก่อน ก็นับเป็นไอเดียที่ดี ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเพียงแต่สมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่อุปกรณ์ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนใดๆที่มีความเสี่ยง ซึ่งรวมถึง คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป, เครื่องอ่านอีบุ๊ค หรือแม้กระทั่งรถยนต์และเครื่องบิน อย่างเช่นกรณี Boeing 787 ที่เกิดไฟไหม้แบตฯในปี 2013 ด้วย

โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้พัฒนาระบบที่จะช่วยเตือนผู้ใช้ถึงภัยที่อาจจะเกิดขึ้น


"เป้าหมายของเราคือ การสร้างระบบเตือนภัยที่จะช่วยชีวิตและทรัพย์สิน" Yi Cui รองศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าว "ระบบสามารถตรวจพบปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานปกติของแบตเตอรี่ แต่ไม่ได้นำไปใช้กับแบตเตอรี่ที่เสียหายเนื่องจากการปะทะหรืออุบัติเหตุอื่น"

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ประกอบด้วย 2 ขั้วที่อยู่ตรงข้ามกัน ได้แก่ ขั้วบวก (anode) ทำจากคาร์บอน และขั้วลบ (cathode) ทำจากลิเธียมออกไซด์ โดยมีเยื่อโพลิเมอร์บางๆแยกระหว่างสองขั้ว แต่หากส่วนที่แยกเกิดความเสียหาย ขั้วไฟฟ้าจะเกิดการลัดวงจรและทำให้ระเบิดได้ โดยชั้นโพลิเมอร์เป็นวัสดุเดียวกับขวดพลาสติก และยังมีรูพรุนเพียงพอที่จะช่วยให้มีการไหลเวียนของลิเธียมไอออนระหว่างอิเล็กตรอนผ่านสารละลายอิเล็กโทรไลต์

โดยระบบที่สร้างขึ้นนี้ จะใช้แผ่นทองแดงบางคั่นด้านหนึ่งของโพลิเมอร์ไว้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวัดความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้วบวกและส่วนที่แยก เมื่อประจุไฟฟ้าพยายามมุ่งหน้าไปยังขั้วลบ ระบบจะช่วยเตือนให้ผู้ใช้ถอดแบตเตอรี่ออกก่อนที่ประจุไฟฟ้าจะถึงขั้วลบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดไฟลัดวงจรได้

ที่มา CNET

ที่มา: pantip.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)