Author Topic: กสท.ดีเดย์ 1 มิ.ย.57 เปิดทีวีดิจิตอล 11 จังหวัด  (Read 711 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


กสท.รับรองผลผู้ชนะประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่องรายการแล้ว พร้อมเตรียมเปิดให้บริการ 1 มิ.ย.นี้ 11 จังหวัดหรือราว 10 ล้านครัวเรือน เปรยอาจได้ข้อสรุปยุติระบบแอนะล็อกภายในปี 2558
       
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันนี้ 6 ม.ค. มีมติอนุมัติรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจ 24 ช่องที่ประมูลเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้สำนักงานกสทช.จะนำผลรับรองดังกล่าวไปประกาศบนเว็บไซต์กสทช. พร้อมทั้งส่งหนังสืออย่างเป็นทางการแจ้งไปยังผู้ประกอบการที่ชนะการประมูล ทั้ง 24 รายภายในวันที่ 7 ม.ค.2557 พร้อมทั้งจะนำเรื่องผลรับรองการประมูลดังกล่าวเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช.เพื่อ รับทราบอีกครั้งในวันที่ 15 ม.ค.2557
       
       โดยภายหลังจากผู้ประกอบการได้รับหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการแล้ว 30 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือจะต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่ 1 จำนวน50% ของราคาขั้นต้น พร้อมชำระอีก 10% ของราคาที่เกินมาจากราคาตั้งต้นการประมูล โดยเงินทั้งหมดจะนำเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะต่อไป
       
       ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้รับรายงานจากผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดิจิตอล (MUX) ทั้ง4รายประกอบด้วย สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, อสมท., ไทยพีบีเอส และกรมประชาสัมพันธ์ ถึงแผนการติดตั้งสถานีภาคพื้นดิน โดยสรุปว่าภายใน 1 มิ.ย.2557 จะมีการติดตั้งโครงข่ายครอบคลุมพื้นที่ในปีแรก 11 จังหวัด และสามารถให้บริการ ได้แก่กรุงเทพฯ, นครราชสีมา, เชียงใหม่, สงขลา, อุบลราชธานี, สุราษฎร์ธานี, ระยอง, สิงห์บุรี, สุโขทัย, ขอนแก่น และอุดรธานี หรือราว 10 ล้านครัวเรือน ซึ่งถือว่ามากกว่า 50% ตามประกาศกสทช.ที่กำหนดไว้ให้ผู้ประกอบการโครงข่ายจะต้องติดตั้งสถานีให้ครอบคลุมในพื้นที่ 50% ทั่วประเทศในปีแรก
       
       'เบื้องต้นบอร์ดกสท.จะมีการหารือกับ MUX ทุกรายในช่วงเดือนก.ค.นี้ในเรื่องการปิดระบบแอนะล็อก และกสท.จะมีการพิจารณาการยุติระบบอนาล็อกอีกครั้งภายในปี 2558 ต่อไป โดยทั้งนี้คงต้องรอดูการครอบคลุมของโครงข่ายทีวีดิจิตอล และสัญญาสัมปทานการออกอากาศในระบบอนาล็อกอีกครั้งว่าจะหมดเมื่อไร'
       
       ขณะที่ความคืบหน้าการช่วยเหลือประชาชนในการเปลี่ยนผ่านระบบการรับชมโทรทัศน์จาก ระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลในการแจกคูปองเงินสดจำนวน 22 ล้านครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนนำไปเลือกซื้ออุปกรณ์รับชมทีวีในระบบดิจิตอล ทั้งกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล หรือทีวีเครื่องที่สามารถจูนเนอร์สัญญาณทีวีดิจิตอลได้ในมูลค่า 690 บาท แต่ทั้งนี้หากราคากล่องไม่ลดลงจริงบอร์ดอาจมีการพิจารณาราคาคูปองอีกครั้งหนึ่งก็เป็นได้ โดยคาดว่าการแจกคูปองช่วยเหลือดังกล่าวจะสามารถแจกได้ประมาณเดือนเม.ย.2557 นี้
       
       'เชื่อว่าราคากล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลในตลาดที่ปัจจุบันมีราคาอยู่ที่ 1,000 - 1,200 บาทจะลดลงอีกแน่นอนหลังรับรองผลการประมูลแล้วเนื่องจากจะทำให้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีการประกาศออกอากาศทีวีดิจิตอลภายใน 1 มิ.ย.นี้แล้ว'
       
       นอกจากนี้กสทช.จะเชิญตัวแทนผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง24 ช่องรายการที่ได้รับใบอนุญาตเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมการเปลี่ยนผ่านดิจิตอลเพื่อช่วยกันแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่างๆในการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ด้วย
       
       สำหรับรายชื่อผู้ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลในแต่ละหมวดหมู่ ประกอบด้วยหมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง (HD) จำนวน 7 ใบอนุญาต ได้แก่ ลำดับที่1 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 3,530 ล้านบาท ลำดับที่ 2บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 3,460ล้านบาท ลำดับที่ 3 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ ราคา 3,370 ล้านบาท ลำดับที่ 4 บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 3,360 ล้านบาท ลำดับที่ 5 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)ราคาสุดท้ายที่เสนอ 3,340 ล้านบาท ลำดับที่ 6 ร่วม บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด และ บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 3,320ล้านบาท
       
       อย่างไรก็ตามผู้ชนะการประมูลในลำดับที่ 6 ร่วมจะต้องจับสลากเพื่อกำหนดลำดับที่ชนะการประมูลตามข้อ 9.3.1 ของประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556 ต่อไป
       
       ส่วนหมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (SD) จำนวน 7 ใบอนุญาต ได้แก่ ลำดับที่ 1 บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 2,355 ล้านบาท ลำดับที่ 2 บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 2,315 ล้านบาท ลำดับที่3 บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 2,290 ล้านบาท ลำดับที่ 4บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 2,275 ล้านบาท ลำดับที่ 5 บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 2,265 ล้านบาท ลำดับที่ 6 บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 2,250ล้านบาท และลำดับที่ 7 บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 2,200 ล้านบาท
       
       ในส่วนหมวดหมู่ข่าวสารและสาระ 7 ใบอนุญาต ได้แก่ ลำดับที่ 1 บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 1,338 ล้านบาท ลำดับที่ 2 บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 1,330 ล้านบาท ลำดับที่ 3 บริษัท ไทยทีวี จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 1,328 ล้านบาท ลำดับที่ 4 บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 1,318 ล้านบาท ลำดับที่ 5 บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 1,316 ล้านบาท ลำดับที่ 6บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 1,310 ล้านบาท และลำดับที่ 7 บริษัท 3เอ. มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 1,298 ล้านบาท และหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 3 ใบอนุญาต รายชื่อผู้ชนะประมูลได้แก่ ลำดับที่ 1 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 666ล้านบาท ลำดับที่ 2 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ราคาสุดท้ายที่เสนอ 660ล้านบาท และลำดับที่ 3 บริษัท ไทยทีวี จำกัด ราคาสุดท้ายที่เสนอ 648 ล้านบาท
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)