Author Topic: บก.ปอศ. ชี้ซอฟต์แวร์เถื่อน ยิ่งจับยิ่งเจอ เผยปี 56 ละเมิดเพิ่ม 54%  (Read 593 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิต (บก.ปอศ.)

บก.ปอศ.เผยหลังเพิ่มเป้าการจับกุมการละเมิดยิ่งพบการทำผิดเพิ่มขึ้น โดยในเดือนมกราคม-ตุลาคมปีนี้มีทั้งสิ้น 256 คดีมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาถึง 54% และมีมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 510.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47% ชี้ปีหน้าปรับลดเป้าการตรวจค้นลงเหลือ 30% จากปีนี้ที่ตั้งไว้ที่ 50% เนื่องจากบุคลากรไม่เพียงพอ เล็งปี 57 มุ่งตรวจสอบธุรกิจในภาควิศวกรรมและรับเหมาก่อสร้าง เป็นพิเศษหลังพบปีนี้มีอัตราการละเมิดสูง
       
       พ.ต.อ.ชัยณรงค์ เจริญไชยเนาว์ รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิต (บก.ปอศ.) กล่าวว่า ตำรวจเพิ่มความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เพื่อให้ประเทศไทยพ้นจากรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษของสำนักผู้แทนทางการค้าประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปีนี้ตำรวจตั้งเป้าเข้าตรวจค้นองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เพิ่มขึ้นกว่าปี 2555 ประมาณ 50%
       
       ทั้งนี้จำนวนคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมปี 2556 มีทั้งสิ้น 256 คดีมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาถึง 54% (ในปี 2555 มีอยู่ที่ 160 คดี) มีมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 510.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นดังกล่าวเนื่องจากความสามารถในการจับกุมในภาคธุรกิจมีความเข้มข้นขึ้น
       
       'จากสถิติองค์กรธุรกิจที่มีการละเมิดซอฟต์แวร์จำนวน 247 บริษัท พบว่ามีรายรับเฉลี่ยต่อปีกว่า 231 ล้านบาทต่อบริษัท ในขณะที่มูลค่าซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มูลค่าเฉลี่ยเพียง 2.06 ล้านบาทต่อบริษัทเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงบริษัทซอฟต์แวร์ต่างชาติเท่านั้นที่ถูกละเมิด เพราะแม้แต่บริษัทไทยเองอย่าง ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ ซึ่งมีเจ้าของเป็นคนไทย เป็นหนึ่งในบริษัทที่ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุดในปี 2555เช่นกัน รวมไปถึงบริษัทเกมสัญชาติไทยอีกแห่งหนึ่งก็ต้องสูญเสียรายได้ไปหลายร้อยล้านบาท'
       
       พ.ต.อ.ชัยณรงค์ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติวางแผนตรวจสอบองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น 30% ในปีหน้า ซึ่งการตั้งเป้าตรวจสอบเพิ่มขึ้นน้อยกว่าปีนี้เนื่องจากทาง บก.ปอศ.มีกำลังพลน้อย ดังนั้นทางตำรวจจึงอยากจะขอให้ผู้บริหารเร่งตรวจสอบให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์อย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเข้าตรวจค้นและดำเนินดคี ซึ่งอาจจะไม่คุ้มกับสิ่งที่จะเสียไป
       
       ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีบริษัทซอฟต์แวร์ระดับโลก อย่าง ไมโครซอฟท์ (Microsoft) เทคกล้า (Tekla) และ ซีเมนส์ พีแอลเอ็ม ซอฟต์แวร์ (Siemens PLM Software) ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ถูกนำไปใช้งานโดยปราศจากสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ ซึ่งหากมีความผิดจริงเจ้าของธุรกิจจะต้องได้รับบทลงโทษทางการค้าที่อาจเกิดขึ้นได้จากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยในปีนี้พบว่าหลายบริษัทที่ทำธุรกิจกับแบรนด์ระดับโลกทำการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลก ผู้จัดหาบรรจุภัณฑ์ให้กับผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำ และผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ให้กับแบรนด์ชื่อดัง
       
       โดย80% ของบริษัทที่ถูกเข้าตรวจค้นในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปีนี้ มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวไทย นอกนั้นเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น 5% บริษัทสัญชาติจีน 4% บริษัทสัญชาติไต้หวัน 2% บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ 2% บริษัทสัญชาติมาเลเซีย 2% บริษัทสัญชาติเกาหลีใต้ 1% และบริษัทสัญชาติอื่นๆ 3%
       
       ดังนั้นผู้บริหารควรให้ความสนใจอย่างจริงจังกับซอฟต์แวร์ที่บริษัทใช้งานอยู่ และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ทำธุรกิจกับบริษัทต่างประเทศในระบบซัปพลายเชน หรือห่วงโซ่อุปทาน เพราะกำลังถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ซึ่งมาตรการของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้มงวดมากขึ้นนั้น เป็นการดำเนินการควบคู่ไปกับการประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา
       
       'ในปัจจุบันมีบริษัทที่พึ่งพาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ แต่ประเทศไทยก็สามารถรับประโยชน์ในฐานะแหล่งลงทุนที่ดีได้ หากการทำธุรกิจในระบบซัปพลายเชน หรือห่วงโซ่อุปทาน มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ และใช้ซอฟต์แวร์แท้ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง'
       
       สำหรับเป้าหมายการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาคอุตสาหกรรม ในปีหน้านั้นประกอบไปด้วย องค์กรธุรกิจในภาควิศวกรรมและรับเหมาก่อสร้าง ภาคการผลิตสินค้า ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักรกล รับเหมาช่วง ออกแบบ และกระจายสินค้าและค้าส่ง ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ในปีที่ผ่านมามีสถิติการเข้าจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์สูงตามลำดับ
       
       Company Related Link :
       บก.ปอศ.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)