Author Topic: FTTx จุดเปลี่ยน "บรอดแบนด์" จับตายักษ์สื่อสารเริ่มปูพรม  (Read 1945 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

การเกิดเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ได้เข้ามาทดแทนบริการโทรศัพท์ประจำที่จนปัจจุบันประชากรชาวไทยมีมือถือใช้กันแทบทุกคน ขณะที่ โทรศัพท์ประจำที่มีแต่ทรงกับทรุด รายได้หดลงเรื่อย ๆ ตามความล้าสมัยของเทคโนโลยีที่เริ่มตกยุคไปด้วยกัน

ผู้ให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ทั่วโลกจึงเริ่มมองหาแหล่งรายได้ใหม่ นั่นคือการผันตัวมาให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งในยุคแรก ๆ เป็นการให้บริการผ่านโครงข่ายสายทองแดง และเมื่อตลาดเติบโตขึ้นก็มีการลงทุนขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในอีกด้านหนึ่ง ความเร็วในการให้บริการอินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่วิ่งอยู่ที่ 56 Kbps ก็ปรับขึ้นเป็น 128, 256, 512 Kbps พร้อมกับศัพท์ใหม่ที่ผู้บริโภครู้จักนั่นคือคำว่า อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ จนปัจจุบันความเร็วอินเทอร์เน็ตขั้นต่ำอยู่ที่ 4 Mbps และมีความเร็วที่ให้บริการสูงสุดในตลาดถึง 16 Mbps เข้าไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีของสายทองแดงก็มีข้อจำกัดในตัวเอง นั่นคือความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ให้ได้สูงสุดนั่นอยู่ที่ 20 Mbps เท่านั้น แถมยังต้องใช้เงินลงทุนโครงข่ายสูงแต่ได้พื้นที่ให้บริการเท่าเดิม ขณะที่เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เองก็พัฒนาในเรื่องการรับส่งข้อมูลเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีข้อได้เปรียบเรื่องความรวดเร็วในการติดตั้งแถมให้พื้นที่บริการได้กว้างขวางกว่าด้วย

อีกมุมหนึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคก็บริโภคคอนเทนต์และแอปพลิเคชั่นที่ใหญ่และต้องการแบนด์วิดท์สูงขึ้นด้วย เช่นจากเดิมที่มีคอนเทนต์เป็นคลิปวิดีโอสั้น ๆ แต่ปัจจุบันมีหนังทั้งเรื่องให้โหลดกันแล้ว และแนวโน้มในอนาคตยังจะเป็นหนังแบบ HD (high-definition) อีกด้วย

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายทองแดงจึงไม่ใช่อนาคตของผู้ให้บริการในระยะยาวอีกต่อไป แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีใหม่มาแทนที่ ซึ่งเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจและกำลังจะเกิดขึ้นในไทยไม่เกินปีหน้านั่นก็คือการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟเบอร์ออปติก หรือที่รู้จักกันสั้น ๆ ว่า FTTx หรือ fiber to the X (X หมายถึงอะไรก็ได้ทั้งบ้าน โรงเรียน โรงแรม คอนโดฯ อาคารสำนักงาน ฯลฯ) ซึ่งบางรายก็เรียกว่า FTTH (fiber to the home)

"ศิโรตม์ รัตนามหัทธนะ" ผู้อำนวยการส่วนนโยบายองค์กร บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า เทคโนโลยี FTTx จะเป็นตัวเลือกใหม่ของการให้บริการอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสามารถให้ความเร็วได้สูงแทบไม่จำกัดคือตั้งแต่ 10 Mbps-10 Gbps (สูงถึง 1 Tbps ในอนาคต) แถมมีอายุการใช้งานของสายไฟเบอร์ออปติกนานเป็นสิบ ๆ ปี

เทียบตัวอย่างง่าย ๆ หากดาวน์โหลดหนังเรื่อง Braveheart ถ้าใช้เทคโนโลยี ISDN ความเร็ว 128 Kbps จะใช้เวลา 20 ชั่วโมง หากใช้เทคโนโลยี DSL ความเร็ว 1 Mbps ใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง แต่หากใช้ FTTx จะใช้เวลา 4 วินาทีเท่านั้น

"เรามีโครงการลงทุนโครงข่าย FTTx ในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี หรือเรียกว่า "กรุงเทพฯ+3" โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมด 6,000 ล้านบาท โดยระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี จาก 2553-2555 โดยจะสามารถรองรับผู้บริโภคได้ถึง 400,000 ครัวเรือน ซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการแล้วเมื่อ 27 เม.ย. 2553 ที่ผ่านมา และกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุง TOR ซึ่งคาดว่าในอีก 2-3 เดือนจะสามารถประมูลได้และเริ่มให้บริการได้ตั้งแต่ต้นปี 2554"

ในชั้นแรก กสทฯจะทำตลาดเน้นในเรื่องบริการ triple play นั่นคือ ลูกค้าสามารถใช้ทั้งอินเทอร์เน็ต บริการเสียงและดูทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย โดยเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน เพราะการให้บริการในช่วงแรกราคายังถือว่าแพงอยู่

"เราวางแผนทำโปรโมชั่นในการให้บริการ 2 ระดับคือ จ่าย 1,500 บาท/เดือน ได้ความเร็ว 20 Mbps และราคา 5,000 บาท/เดือน ได้ความเร็ว 100 Mbps ซึ่งหากลูกค้าใช้โปรโมชั่นทั้ง 2 นี้เต็ม 400,000 พอร์ต เราจะคืนทุนภายใน 5 ปี แต่เชื่อว่าในอนาคตค่าบริการจะลดลงและระยะเวลาการคืนทุนจะช้ากว่านั้น"

นอกจากนี้ กสทฯยังมีแผนที่จะให้บริการในต่างจังหวัดหลัก ๆ 10 จังหวัดด้วย แต่ รูปแบบการลงทุนจะไม่เหมือนในกรุงเทพฯ กล่าวคือจะใช้วิธีประมูลผู้จัดทำโครงข่าย FTTx แล้ว กสทฯไปเช่าใช้โครงข่ายนั้นอีกทอดหนึ่งแทน วิธีนี้จะมีความคล่องตัวมากกว่าเพราะไม่ต้องเสนอ ครม. และขนาดโครงการยังมีขนาดเล็กคล่องตัวกว่า เผลอ ๆ ผู้บริโภคในต่างจังหวัดอาจได้ใช้บริการก่อนในกรุงเทพฯด้วยซ้ำไป

นอกเหนือจาก กสทฯที่อยู่ระหว่างการประมูลโครงการแล้ว ผู้ให้บริการคู่แข่งในตลาดอย่างทีโอทีและทรูก็มีแผนที่จะลงทุน FTTx ด้วยเช่นกัน ซึ่งในส่วนของทรู ประกาศแล้วว่าจะเริ่มทยอยลงโครงข่าย ใหม่ตั้งแต่ครึ่งปีหลังเป็นต้นไป แถมบัญญัติศัพท์ใหม่ว่าเป็น "อัลตราบรอดแบนด์"อีกด้วย

ปี 2554 จึงนับเป็นปีที่น่าตื่นเต้นอีกปีหนึ่งของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่จะได้มีของเล่นใหม่ ๆ ให้ทดลอง และหลังจากนี้เราคงได้ยินศัพท์ใหม่ ๆ ทั้ง FTTx, triple play, อัลตราบรอดแบนด์ และเห็นโฆษณาอินเทอร์เน็ตความเร็วถึง 100 Mbps ในไม่ช้าไม่นานนี้แน่นอน


ที่มา: prachachat.net


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
7268 Views
Last post February 14, 2009, 12:00:18 AM
by Webmaster
0 Replies
6003 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
2696 Views
Last post March 06, 2009, 11:17:31 PM
by Reporter
0 Replies
2599 Views
Last post March 10, 2009, 08:43:28 AM
by Reporter
0 Replies
2317 Views
Last post April 29, 2009, 11:26:27 AM
by Reporter
0 Replies
4968 Views
Last post May 03, 2009, 05:52:53 PM
by IT
0 Replies
2670 Views
Last post June 03, 2009, 01:07:14 PM
by IT
0 Replies
3774 Views
Last post August 28, 2009, 09:43:46 AM
by IT
0 Replies
4264 Views
Last post February 24, 2010, 08:43:26 AM
by Nick
0 Replies
2627 Views
Last post June 02, 2010, 02:52:50 PM
by Nick