Author Topic: SAS เผยรายได้ปี 55 รุ่ง ปั่นยอดโบนัสพนักงานทะลุ 15 เดือน  (Read 912 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


    “แซส ซอฟท์แวร์” เผยผลประกอบการปี 55 สร้างรายได้เป็นประวัติการณ์ที่ 2.87 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 54 ถึง 5.4% และมีผลกำไรต่อเนื่องเป็นปีที่ 36 ส่งผลให้พนักงานบางคนไดัรับโบนัสสูงถึง 15 เดือน ชี้การเติบโตดังกล่าวเกิดจากการทำงานที่รอบด้าน และผลิตภัณฑ์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่มียอดขายที่ดี เตรียมส่ง SAS Visual Analytics รุกตลาดเอสเอ็มอีในเมืองไทยผ่านพาร์ทเนอร์ พร้อมกระตุ้นนักพัฒนาด้วยการจับมือกับซิป้าเพื่อหาซอฟต์แวร์เฮาส์เข้ามาพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกัน หวังผลส่งขายตลาด AEC และขยายสู่ตลาดอื่นทั่วโลก
       
       นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ผลประกอบการของบริษัทแซสทั่วโลกมีการปรับขึ้นในทุกๆ ปี โดยในปี 2555 แซส สามารถสร้างรายได้มากถึงถึง 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 54 ถึง 5.4% และนับเป็นผลกำไรติดต่อกันเป็นปีที่ 36 ซึ่งค่าเฉลี่ยของรายได้ทั้งหมด แบ่งเป็น อเมริกา 47% ยุโรป 41% และเอเชียแปซิฟิก 12% โดยหากแบ่งสัดส่วนรายได้เป็นธุรกิจจะประกอบด้วยสถาบันด้านการเงินและธนาคาร 38% จะอยู่ในอันดับสูงสุด รองลงมาคือส่วนของภาครัฐ 14% และปัจจุบันกำลังมีอุตสาหกรรมเกิดใหม่และกำลังเติบโตไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยคือ ด้านพลังงานและการไฟฟ้า เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
       
       “การเติบโตของรายได้ดังกล่าวเกิดจากการที่ซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของแซสช่วยให้ลูกค้าทำการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และสามารถทำธุรกิจในเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ล่าสุดอย่าง SAS Visual Analytics ที่กำลังจะกลายเป็นแนวทางใหม่ในการจัดการกับปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้นจำนวนมาก และสามารถตอบสนองกับอุตสาหกรรมเกิดใหม่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากผลประกอบการที่ดีนี่เองทำให้พนักงานบางรายของแซสมีการประเมินโบนัสสูงถึง 15 เดือน และทำให้มีการเติบโตของพนักงานทั่วโลก 7%”
       
       นายทวีศักดิ์กล่าวว่า ตลาดของซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยทั่วไปในปี 2555 เติบโตอยู่ที่ 10 % สำหรับประเทศไทยแซสมีผลประกอบการโดยรวมทั้งซอฟต์แวร์การให้บริการและอื่นๆเติบโตขึ้นที่ 71% มากถึง 7 เท่าของตลาดทั่วไป โดยเฉพาะในส่วนของค่าธรรมเนียมซอฟต์แวร์ที่โตถึง 217%
       
       ซึ่งถ้าเทียบกับบริษัท แซสทั่วโลกแล้วถือว่าประเทศไทยเติบโตเป็นอันดับต้นๆ ของบริษัทแซสทั่วโลก และผลประกอบการปี 2555 ยังมีการเติบโตมากที่สุดในตลอดระยะเวลา 12 ปีที่ก่อตั้งบริษัทแซสในประเทศไทย นอกจากนี้ แซสยังได้เพิ่มเงินทุนจดทะเบียนไทยเพิ่มขึ้น 120% เนื่องจากผลประกอบการที่ผ่านมาและการบริหารจัดการที่ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้สามารถรับพนักงานเพิ่มขึ้นรวมถึงส่งไปศึกษางานที่ต่างประเทศ
       
       สำหรับการทำตลาดของแซสในปี 2556 จะเน้นเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลชั้นสูง (Advanced Analytic) ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการนำข้อมูลทั้งหมดในอดีตมาใช้ในการประมวลผลเป็น High Performance Analytics และสามารถนำข้อมูลมาพิจารณาหรือใช้ในการคาดคะเนเพื่อวางแผนในการทำงาน และการใช้งาน Big Analytics จะใช้ร่วมกับการวิคราะห์ข้องมูลแบบ near real-time ทำให้ผู้ใช้ สามารถคำนวณสิ่งต่างๆได้ภายในเวลา 2-3 วินาทีก็ทำให้สามารถเห็นข้อมูลได้ทั้งหมด และมองเห็นปัญหา แล้วนำมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยกลุ่มเป้าหมายของปีนี้จะเป็นกลุ่มลูกค้าเดิม ธนาคาร ประกันภัย โทรคมนาคม ภาครัฐ รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ด้านพลังงานและไฟฟ้า การดูแลสุขภาพ การผลิต สาธารณูปโภค เป็นต้น
       
       นอกจากนี้จะเพิ่มตลาดในส่วนของ Volume Business ที่ยังไม่เคยเข้าไปทำการตลาด เช่น SMEs โดยการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ SAS Visual Analytics หรือ SAS High Performance Analytics เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกและสามารถคาดคะเนผลที่จะเกิดได้ เข้าสู่ตลาดผ่านทางพาร์ตเนอร์ของแซส
       
       นายทวีศักดิ์กล่าวว่า เพื่อให้การทำตลาดบรรลุเป้าหมายแซสได้มีการกำหนดกลยุทธ์ของแซสเพื่อประสบความสำเร็จ คือ 4V ประกอบด้วย 1. Volume เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายมากยิ่งขึ้น และ SAS Visual Analytics จะทำให้แซสลงไปตลาดล่างได้มากขึ้น ผ่านทางพันธมิตรทางธุรกิจอย่างเอชพีและเดลล์ ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างเดลล์กับแซสในเมืองไทยยังถือเป็นความร่วมมือครั้งแรกในการทำตลาดทั่วโลก
       
       2. Velocity ความเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้าความเร็วในการเข้าไปในตลาด 3. Variety ความหลากหลายของอุตสาหกรรม และกลุ่มลูกค้า และ 4. Value การสร้างมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
       
       ทั้งนี้ ในส่วนของ Value นั้น แซสได้ทำการร่วมมือกับซิป้า (SIPA) เปิดโอกาสให้ซอฟต์แวร์เฮาส์ในไทยนำเทคโนโลยีของ SAS Visual Analytics เป็นตัวประมวลผลกระบวนการทำงานต่างๆ แล้วใส่ความรู้ของความชำนาญของบริษัทนั้นๆ ใส่เข้าไป เพื่อก่อให้เกิดซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปขายและสร้างรายได้ให้กับซอฟต์แวร์เฮ้าส์เหล่านั้น โดยตลาดแรกที่จะเข้าไปขายคือกลุ่มประเทศ AEC ก่อนที่จะขยายสู่ตลาดอื่นๆ ทั่วโลกต่อไป ตั้งเป้ามีบริษัทเข้าร่วมกับโครงการนี้ประมาณ 50 บริษัท
       
       “เทคโนโลยีของแซสส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าแรก กลยุทธ์แซสเน้นทำข้อมูลให้มีคุณภาพก่อนค่อยวิเคราะห์ ช่วยทำให้ลูกค้ามีเงินลงทุนที่ลดลงจากเดิมมาก ประกอบกับการใช้งานโอเพ่นซอร์สทำให้ค่าใช้จ่ายถูกลงอีก ทำให้การเข้าถึงซอฟต์แวร์ของแซสง่ายขึ้น จึงเกิดการใช้งานอย่างแพร่หลาย ประกอบกับการทำตลาดมีความเหมาะสมกับประเทศต่างๆ ทั้งหมดจึงทำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์ของแซสสามารถสร้างรายได้และผลกำไรที่น่าพึงพอใจ”
       
       Company Relate Link :
       SAS

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)