Author Topic: Argo คว้าออสการ์ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แม้ "เบน แอฟเฟล็ค" โดนมองข้าม  (Read 831 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      ออสการ์ครั้งที่ 85 กลายเป็นงานแจกรางวัลที่อะไรหลาย ๆ อย่างไม่ได้เดินไปตามสูตรของงานในช่วงปีหลัง ๆ โดยเฉพาะการคว้ารางวัลสำคัญของ Argo หลังจากก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะหลุดจากวงโคจรไปแล้ว เพราะตัวของ "เบน แอฟเฟล็ค" พลาดชิงรางวัลในสาขาผู้กำกับ แต่สุดท้ายหนังดังแห่งปีเรื่องนี้ก็เข้าวินจนได้
       
       "มีหนังที่ยอดเยี่ยมอยู่อีก 8 เรื่องที่ทุกเรื่องมีสิทธิ์ขึ้นมาอยู่บนนี้แบบเดียวกับที่พวกเราได้มีโอกาส" แอฟเฟล็ค กล่าว หลังหนังของเขาทั้งกำกับ, แสดงนำ และอำนวยการสร้าง ได้รับการประกาศชื่อให้เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปีของสถาบันศิลปะวิทยาการภาพยนตร์ประจำปี 2013 หรือนับเป็นออสการ์ครั้งที่ 85
       
       Argo ยังนับว่าเป็นหนังเรื่องที่ 4 ในประวัติศาสตร์ 85 ปีของออสการ์ ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แม้ตัวของผู้กำกับ เบน แอฟเฟล็ค จะไม่ได้มีชื่อชิงรางวัลสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมก็ตาม
       
       แม้แต่พิธีกรของงานก็ยังแซวประเด็นที่ Argo โดนมองข้ามว่า "หนังมันลับเสียจน สถาบันฯ ไม่รู้เลยว่าใครเป็นคนกำกับ" พิธีกรของงานแซวกรณีที่ เบน เอฟแฟล็ก พลาดชิงรางวัลออสการ์ไปแบบไม่น่าเชื่อ " พวกเขารู้แล้วว่าตัวเองทำพลาดไป เบน ไม่ใช่ความผิดของคุณหรอก"
       
       โดยหนังที่สร้างจากเค้าโครงเรื่องจริง ของปฏิบัติการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ทูตชาวสหรัฐฯ เมื่อปี 1979 ยังได้รับรางวัลไปอีก 2 สาขาได้แก่ บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม และการตัดต่อยอดเยี่ยม
       
       ถือว่าในปีนี้นับว่าเป็นออสการ์ที่ไม่มีหนังเรื่องใดกวาดรางวัลไปสนุกอยู่เพียงเรื่องเดียว นอกจากนั้นหนังที่ได้รับรางวัลมากที่สุด กลับไม่ใช่หนังที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย โดยเป็น Life of Pi ของ อังลี ที่ได้รับรางวัลไปถึง 4 สาขามากกว่าหนังเรื่องใด ๆ รวมถึงสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมของ อังลี เองด้วย
       
       ออสการ์ตัวที่ 2 และตัวที่ 3
       
       สำหรับสาขานักแสดงนำชาย เป็นความยิ่งใหญ่ของนักแสดงวัย 55 ปี แดเนียล เดย์-ลิวอิส ที่คว้าออสการ์ตัวที่ 3 ของตัวเองมาครองได้จากการสวมบทบาทเป็นอดีต ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น ใน Lincoln ผลงานของ สตีเวน สปีลเบิร์ก ถือว่าเป็นนักแสดงที่คว้าสาขานำชายมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
       
       ด้านรางวัลสาขานักแสดงสมทบชายก็เป็นอดีตผู้ชนะออสการ์เช่นเดียวกันสำหรับ คริสตอฟ วอลซ์ ยอดนักแสดงชาวออสเตรีย ที่สามารถคว้ารางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบชายไปได้อีกครั้ง จาก Django Unchained ผลงานของผู้กำกับ เควนติน ตารันติโน หลังจากก่อนหน้านี้ วอลซ์ เคยคว้ารางวัลสาขาเดียวกันนี้ จากการร่วมงานกับ ตารันติโน ใน Inglourious Basterds มาแล้ว
       
       ซึ่งนอกจาก วอลซ์ แล้วก็ยังมีคนเบื้องหลังชื่อดังอีก 2 คนที่คว้ารางวัลออสการ์ได้เป็นตัวที่ 2 ทั้ง อังลี กับรางวัลผู้กำกับจาก Life of Pi หลังจากเคยได้รางวัลเดียวกันนี้มาแล้วใน Brokeback Mountain ซึ่งครั้งนั้นเขาก็พลาดรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมไปอย่างน่าเสียดายเช่นเดียวกัน
       
       ส่วน Django Unchained ยังเป็นงานที่ เควนติน ตารันติโน พิสูจน์ว่าเขาคือมือเขียนบทอันดับต้น ๆ ของฮอลลีวูดอย่างแท้จริง กับการคว้าออสการ์สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมได้เป็นครั้งที่ 2 หลังเคยได้รางวัลสาขาการเขียนบทครั้งแรกเมื่อปี 1995 จากหนังเรื่อง Pulp Fiction
       
       ออสการ์ตัวแรกของสองสาว
       
       ขณะที่รางวัลในสาขานักแสดงชายตกเป็นของรุ่นใหญ่ที่เคยคว้าออสการ์มาแล้ว รางวัลในสาขานักแสดงหญิงกลับเป็นชัยชนะของนักแสดงที่ไม่เคยคว้ารางวัลมาก่อน
       
       ในสาขาสมทบหญิงเป็น แอน แฮทธาเวย์ จาก Les Misérables ไปตามคาด กับการสวมบทบาทเป็นหญิงสาวชาวฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 19 ผู้มีชะตากรรมอันน่าเศร้า ที่ทำให้เธอได้แสดงฝีไม้ลายมือการการถ่ายทอดอารมณ์ และโชว์เสียงร้องอันไพเราะจับใจกับเพลง I Dreamed a Dream
       
       ถือว่านักแสดงสาวคนสวยประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในขณะที่เธอมีอายุ 30 ปีพอดี หลังจากเริ่มต้นอาชีพกับบทบาทดาราวัยรุ่น ก่อนจะค่อย ๆ สร้างชื่อและพิสูจน์ตัวเองขึ้นมาเรื่อย ๆ ทั้งเคยชิงรางวัลออสการ์ และเคยทำหน้าที่พิธีกรออสการ์ร่วมกับ เจมส์ แฟรงโก ในปี 2010 มาแล้ว
       
       ส่วนรางวัลนักแสดงนำหญิงกลับเป็นของดาราดังแห่งปี 2012 ที่มีอายุเพียง 22 ปีเท่านั้น
       
       "พวกคุณลุกขึ้นยืนตบมือกับแบบนี้ ก็เพราะสงสารที่ฉันสะดุดล้มเมื่อกี้ใช่รึเปล่าค่ะ" เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ จาก Silver Linings Playbook กล่าวหลังเกิดความผิดพลาดขึ้นนิดหน่อยระหว่างที่เธอเดินขึ้นเวทีมารับรางวัลของตัวเอง โดยถือว่าดาราวัย 22 ปีเป็นสาวที่อายุน้อยที่สุดลำดับ 2 ที่ชนะรางวัลสาขานักแสดงนำหญิง เป็นรองเพียงแค่ มาร์ลี แม็ตลิน ที่คว้าออสการ์จาก Children of a Lesser God ตอนอายุ 21 ปีเท่านั้น
       
       ซึ่งนอกจกา Silver Linings Playbook แล้วเมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ ยังโด่งดังเป็นพลุแตกจากหนังที่สร้างจากนิยายวัยรุ่น The Hunger Games โดยเธอแจ้งเกิดจากหนัง Winter's Bone ที่ทำให้ได้ชิงออสการ์ในวัย 20 ปี จากที่ก่อนหน้านั้นแทบไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างเลย
       
       
...........

       
       ออสการ์ปี 2013 ยังมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักเมื่อในรางวัลสาขาการตัดต่อเสียงยอดเยี่ยมมีผู้ได้รับรางวัลจากหนังถึง 2 เรื่องคือ Skyfall และ Zero Dark Thirty
       
       สำหรับ Skyfall ก็ยังได้รับรางวัลสาขาเพลงประกอบหนังฝีมือนักร้องหญิงคนดังแห่งยุค อะเดล ไปด้วยอีกรางวัล
       
       ด้านรางวัลสาขาอนิเมชั่นตกเป็นของ Brave ผลงานของ Pixar อีกครั้ง ถือเป็นออสการ์สาขานี้ตัวที่ 7 ของ Pixar ในการแจกรางวัลทั้งหมด 12 ครั้งเลยทีเดียว ซึ่งผู้กำกับ มาร์ค แอนดรวูส์ ก็ถึงกับสวมชุดแบบชาวสกอตแลนด์อย่างตัวละครใน Brave ขึ้นมารับรางวัลกันเลย
       
       ในรางวัลหนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรผิดไปจากที่หลายคนคาดเดากันเอาไว้ Amour ผลงานหนังภาษาฝรั่งเศสของ มิคาเอล ฮานาเก้ ที่ยังสามารถทะลุเข้าไปเป็น 1 ใน 9 เรื่องภาพยนตร์ยอดเยี่ยมได้รางวัลไปตามคาด ถือว่าเป็นคนออสเตรียอีกคนนอกจาก คริสตอฟ วอลซ์ ที่ได้รับออสการ์ในปีนี้
       
       ออสการ์กับพิธีกรหน้าใหม่
       
       นอกจากผลรางวัลต่าง ๆ ออสการ์ครั้งที่ 85 ที่จัดกันขึ้น ณ ดอลบี เธียร์เตอร์ ใน ฮอลลีวูด ลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย ยังได้รับความสนใจเป็นพิเศษกับการมอบตำแหน่งพิธีกรให้กับ เซ็ธ แม็คฟาร์แลนด์ ซึ่งหากจะย้อนไปซัก 1 ปีก่อนหน้านี้ ก็ถือว่าไม่ใช่คนดังแห่งแวดวงหนังนัก
       
       แม็คฟาร์แลน สร้างชื่อขึ้นมาจากการเป็นผู้สร้างซีรีส์การ์ตูน Family Guy ก่อนจะกลายเป็นหนุ่มมาแรงแห่งปี 2012 เจ้าของหนังตลกสุดฮิต Ted ที่มีความสามารถหลายอย่างเป็นทั้ง นักเขียน, ผู้กำกับ, อนิเมเตอร์ และนักร้อง เพลงที่เขาแต่งให้หนังเรื่อง Ted ก็ยังมีชื่อชิงรางวัลสาขาเพลงประกอบในออสการ์ปีนี้ด้วย
       
       โดยในช่วงต้นของงานยังมี วิลเลียม แชตเนอร์ ที่ปรากฏตัวขึ้นมาในจอภาพ กับภาพลักษณ์แบบตัวละครอมตะ "กัปตันเคิร์ก" จากซีรีส์ฮิต Star Trek ที่บอกว่าตัวเองเดินทางมาจากโลกอนาคตเพื่อเตือนให้ แม็คฟาร์แลนด์ หยุดทำหน้าที่พิธีกรออสการ์เพราะ "มุขตลกของนายมันไร้รสนิยม และไม่เหมาะสม ทุกคนจะลงเอยด้วยการเกลียดนาย" พร้อมกับยังบอกว่าหนังสือพิมพ์วันรุ่งขึ้นจะพาดหัวตัวโตว่า "เซ็ธ แม็คฟาร์แลน คือพิธีกรออสการ์ที่ห่วยที่สุด"
       
       แม้จะโดนแซวว่ามีสิทธิ์เป็นพิธีกรออสการ์ที่ห่วยที่สุด แต่อันที่จริหนุ่มตลกที่ชาวสหรัฐฯ กำลังปลื้มคนนี้ ถือเป็นว่าความหวังของผู้จัดออสการ์ และสถานีโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดสด ในการดึงเรตติ้ง และทำให้งานแจกรางวัลรายการนี้กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง
       
       นอกจาก แม็คฟาร์แลดน์ แล้วออสการ์ 2013 ยังมีการดึงนักแสดงดัง ๆ มาขึ้นร่วมโชว์บนเวทีมากมาย ทั้ง แดเนียล แรดคลิฟฟ์ กับ โจเซฟ กอร์ดอน-เลวิตต์, ชาริซ เธอรอน, แชนนิง ตาตัม รวมถึงโชว์จากหนังชุด เจมส์ บอนด์ ที่อายุครบ 50 ปี และ Chicago ที่ถึงวาระครบรอบ 10 ปีในการคว้าออสการ์พอดีด้วย
       
       ผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 85
       
       ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: Argo
       ผู้กำกับ: อังลี (Life of Pi)
       นักแสดงนำชาย: แดเนียล เดย์-ลิวอิส (Lincoln)
       นักแสดงนำหญิง: เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ (Silver Linings Playbook)
       บทภาพยนตร์ดั้งเดิม: เควนติน ตารันติโน (Django Unchained)
       บทภาพยนตร์ดัดแปลง: คริส เทอร์ริโอ (Argo)
       นักแสดงสมทบชาย: คริสตอฟ วอลซ์ (Django Unchained)
       นักแสดงสมทบหญิง - แอน แฮทธาเวย์ (Les Misérables)
       เพลงประกอบ - Skyfall ของ อะเดล และ พอล เอปเวิร์ธ
       ดนตรีประกอบ - ไมเคิล เดนนา (Life of Pi)
       ตัดต่อ - วิลเลียม โกลด์เดนเบิร์ก (Argo)
       ตัดต่อเสียง - เพอร์ อัลเบิร์ก, คาเรน เอม. เบเกอร์ (Skyfall) และ พอล เอ็น.เจ. อ็อตโตสัน (Zero Dark Thirty)
       มิกซ์เสียง - แอนดี นีลสัน, มาร์ค แพทเตอร์สัน, ไซมอน เฮย์ส (Les Misérables)
       ภาพยนตร์ขนาดสั้น - Curfew โดย ชอว์น คริสเตนเซน)
       แต่งหน้า,ออกแบบทรงผม - ลิซา เลสต์ค็อต, ลูลี ดาร์ทเนล (Les Misérables)
       ออกแบบเสื้อผ้า - แจ็คเกอร์ลีน ดูร์แรน (Anna Karenina)
       เทคนิคพิเศษด้านภาพ: บิล เวสเตนโฮเฟอร์, กีโยม โรแชรอน, อิริค เด บัวร์, โดนัลด์ เอลเลียต (Life of Pi)
       ถ่ายภาพ: เคลาดิโอ มิแรนดา (Life of Pi)
       หนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม - Amour (ฝรั่งเศส)
       สารคดียอดเยี่ยม Searching for Sugar Man โดย มาลิก เบนด์เจลลูล, ไซมอน ชินน์
       สารคดีขนาดสั้น - Inocente โดย ฌอน ไฟน์, แอนเดรีย นิกซ์
       ภาพยนตร์อนิเมชั่น: Brave
       อนิเมชั่นขนาดสั้น: Paperman

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
5768 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
7248 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
5416 Views
Last post January 18, 2012, 02:03:34 PM
by Nick
0 Replies
6857 Views
Last post May 15, 2012, 09:59:24 PM
by Nick
0 Replies
4680 Views
Last post July 13, 2012, 05:12:23 PM
by Nick
0 Replies
1755 Views
Last post October 04, 2012, 07:27:49 PM
by Nick
0 Replies
5526 Views
Last post December 02, 2012, 04:31:30 PM
by Nick
0 Replies
1229 Views
Last post January 16, 2013, 04:49:44 PM
by Nick
0 Replies
783 Views
Last post January 28, 2013, 09:02:14 PM
by Nick
0 Replies
841 Views
Last post February 11, 2013, 06:04:46 PM
by Nick