Author Topic: ทวิตเตอร์จัดระเบียบแอปฯ เสริม  (Read 861 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ผู้ก่อตั้งทวิตเตอร์ "อีวาน วิลเลียม"

ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมไมโครบล็อกกิ้งอย่างทวิตเตอร์ (Twitter) ประกาศแผนจัดระเบียบจักรวาลทวิตเตอร์ครั้งใหม่ เปิดเกมควบคุมนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระที่สร้างแอปฯ เสริมสำหรับใช้งานกับทวิตเตอร์มากขึ้น นักวิเคราะห์เชื่อต้องการปิดทางไม่ให้แอปฯ เสริมที่ไม่ได้รับการรับรองจากทวิตเตอร์สามารถทำตลาดได้ และยังลงมาควบคุมการเติบโตของโปรแกรมเสริมทวิตเตอร์มากขึ้น
       
       ทวิตเตอร์ออกประกาศในบล็อกของตัวเองเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื้อหาว่าด้วยกฎระเบียบใหม่ที่บริษัทต้องการพัฒนาโปรแกรมเสริมสำหรับผู้ใช้ทวิตเตอร์จะต้องปฏิบัติตาม โดยกฎใหม่ทั้งหมดนี้ถูกวิเคราะห์ว่าจะไม่ส่งผลถึงผู้ใช้ทวิตเตอร์ในทันที แต่จะมีผลถึงผู้ใช้ทวิตเตอร์รายใหม่ในอนาคตที่จะใช้งานโปรแกรมเสริมอย่าง Tweetbot หรือ Twicca รวมถึงแอปฯ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทวิตเตอร์ แต่ไม่ได้ผลิตโดยทวิตเตอร์
       
       หนึ่งในกฎใหม่ของทวิตเตอร์ระบุว่า จะอนุญาตให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระซึ่งสร้างแอปฯ บนทวิตเตอร์สามารถมีผู้ใช้ได้สูงสุด 100,000 คนเท่านั้น ยกเว้นว่าจะได้รับอนุญาตจากทวิตเตอร์ ส่วนแอปฯ ที่ได้รับความนิยมอยู่แล้วและมีผู้ใช้มากกว่า 100,000 คนจะสามารถรับผู้ใช้ได้เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ซึ่งทวิตเตอร์จะพิจารณาให้เพิ่มจำนวนผู้ใช้ได้เป็นกรณีไป
       
       แน่นอนว่ากฎใหม่ของทวิตเตอร์นำไปสู่การวิจารณ์ต่างๆ นานา ทั้งจากมุมผู้ใช้ทวิตเตอร์และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยชาวทวิตเตอร์จำนวนหนึ่งโพสต์ข้อความต่อต้านทวิตเตอร์ที่ออกกฎสวนทางกับความอิสระที่ข้อมูลดิจิตอลควรจะเป็น แถมยังมีการเหน็บแนบว่ากฎใหม่ของทวิตเตอร์นั้นเข้มงวดกว่าประเทศเผด็จการอย่างเกาหลีเหนือเสียอีก
       
       ที่ผ่านมาชาวทวิตเตอร์จำนวนไม่น้อยเลือกใช้บริการแอปฯ เสริมจากบริษัทอื่นเพื่อรับและส่งข้อความสู่ทวิตเตอร์อย่างสะดวกสบายขึ้นกว่าที่ทวิตเตอร์ให้บริการ กระทั่งปี 2011 ทวิตเตอร์เริ่มเพิ่มความสามารถเพื่อให้ผู้ใช้ไม่ต้องหันไปใช้งานแอปฯ เสริมอย่างที่เคยเป็นมา กรณีที่เห็นชัดคือการเปิดคุณสมบัติแชร์ภาพอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว ซึ่งทำให้ชาวทวิตเตอร์ไม่ต้องใช้บริการจากบริษัทอื่นอย่าง Twitpic และ Yfrog
       
       การเพิ่มความสามารถด้านภาพในทวิตเตอร์เกิดขึ้นเพียง 1 เดือนหลังจากทวิตเตอร์ตกเป็นข่าวว่าได้ตัดสินใจเซ็นสัญญาซื้อแอปฯ เสริมด้านจัดการการแสดงผลและส่งข้อความทวีตนามว่า TweetDeck
       
       TweetDeck นั้นเป็นโปรแกรมอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้พีซีสามารถอ่านและทวีตข้อความได้โดยไม่ต้องคลิกเปิดหน้าเว็บไซต์ทวิตเตอร์ให้ยุ่งยาก ความนิยมที่แพร่หลายของ TweetDeck ทำให้โลกพร้อมใจจับตามองเมื่อมีข่าวว่าบริษัทไอทีหลายค่ายพร้อมใจทุ่มเงินซื้อ TweetDeck ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา กระทั่งสำนักข่าว TechCrunch อ้างแหล่งข่าววงในว่า TweetDeck ถูกทวิตเตอร์ซื้อไปในราคา 40-50 ล้านเหรียญ ซึ่งไม่มีการประกาศยืนยันใดๆ ตามมา
       
       ทั้งหมดนี้ ทวิตเตอร์ถูกมองว่ากำลังพยายามควบคุมแพลตฟอร์มของตัวเองให้มากขึ้นเพื่อแปลงร่างตัวเองให้เป็นบริษัทดิจิตอลมีเดียทรงพลังที่จะสามารถทำรายได้จากโฆษณาได้มากขึ้น ซึ่งชาวโลกเชื่อว่าทวิตเตอร์จะต้องปรับนโยบายอื่นๆ อีกในอนาคตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้
       
       รายงานระบุว่า ทวิตเตอร์กำลังปรับตัวและออกนอกกรอบที่จำกัดเฉพาะ “ข้อความยาว 140 ตัวอักษร” และการออกกฎใหม่นี้สะท้อนว่าทวิตเตอร์เชื่อว่าการบริการคอนเทนต์อินเตอร์แอ็กทีฟมากขึ้นจะเป็นตัวช่วยให้ทวิตเตอร์สามารถนำเสนอโฆษณาที่ดีกว่าได้ แต่มีข้อแม้ว่าผู้ใช้จะต้องใช้แอปฯ ที่ได้รับการควบคุมอย่างเป็นทางการในการเข้าสู่ทวิตเตอร์เท่านั้น ซึ่งปัญหาคือทวิตเตอร์นั้นเป็นศูนย์กลางของนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระจำนวนมาก เช่นเดียวกับผู้ใช้หลายคนที่ชื่นชอบโปรแกรมเสริมอย่าง Hootsuite, Uber และ Tweetbot มากกว่าผลิตภัณฑ์ของทวิตเตอร์เอง
       
       กฎใหม่ของทวิตเตอร์จึงถูกวิจารณ์ในวงกว้างว่า ทวิตเตอร์ต้องการแทรกแซงแอปฯ เสริมที่แข็งแกร่งและได้รับความนิยมอย่างจงใจ ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการให้แอปฯ เสริมรายใหม่เข้ามาทำตลาดโดยไม่มีการควบคุม
       
       อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่ได้สร้างความประหลาดใจในโลกออนไลน์ โดยเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาทวิตเตอร์เคยให้สัญญาณถึงการจัดระเบียบแพลตฟอร์มดังกล่าวแล้ว แต่ยังไม่ได้ให้รายละเอียดอย่างเป็นทางการเช่นนี้
       
       Company Relate Link :
       Twitter

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)