นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Southern Mississippi พัฒนาพลาสติกรูปแบบใหม่ที่สามารถเลียนแบบพฤติกรรมผิวหนังของมนุษย์ด้วยความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองเมื่อได้รับการบาดเจ็บ โดยจะมีการนำเสนอรายงานชิ้นนี้ที่การประชุม American Chemical Society ในวันจันทร์หน้า"ต้นกำเนิดธรรมชาติทุกชนิดในระบบชีวภาพมีความสามารถในการซ่อมแซมตนเองได้" Marek W. Urban หัวหน้าทีมวิจัย และอาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยมิสซิปซิปี้เผยระหว่างการรายงานการค้นพบที่ซานดิเอโกในสัปดาห์นี้ "อย่างการที่ผิวหนังมนุษย์สามารถรักษาตนเองได้หรือการที่เปลือกไม้สร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ในต้นไม้ที่ถูกบาก" สำหรับพลาสติกรูปแบบใหม่นั้นจะผลิตขึ้นจากโคโพลีเมอร์ที่มีส่วนผสมของน้ำ ที่ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าพลาสติกอื่นๆ และจะถูกบรรจุไว้ด้วยโมเลกุลขนาดเล็กที่จะทำหน้าที่เชื่อมโยงในฐานะ "สะพาน" ในการขยายความยาวของวัตถุ ซึ่งเมื่อวัสดุได้รับความเสียหาย สะพานดังกล่าวก็จะแตกตัวและแสดงสีแดงรอบๆ วัสดุที่แสดงถึงอาการบาดเจ็บ จากนั้น วัสดุก็จะทำการซ่อมแซมตัวเองด้วยการสังเคราะห์แสงหรือแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ ที่มีความเข้มข้น
Source : TechSpot
ที่มา: pantip.com