Author Topic: รายงาน : WD หลังวิกฤตน้ำท่วมไทย  (Read 907 times)

0 Members and 2 Guests are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       รายงานข่าวจาก WD ชี้แจงสถานการณ์โดยรวม หลังน้ำท่วมว่า เมื่อต้นเดือนม.ค. ที่ผ่านมา บริษัทได้กลับมาผลิต สไลเดอร์ ที่โรงงานบางปะอิน ภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ทรงประสิทธิภาพ โดยคาดว่าปริมาณของตัวสไลเดอร์สำหรับการผลิตฮาร์ดไดรฟ์จะได้ปริมาณตามเป้าหมายภายในสิ้นไตรมาสปัจจุบัน ในระหว่างนี้ ปริมาณของสไลเดอร์และชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ ยังคงมีข้อจำกัดต่อการผลิตฮาร์ดไดรฟ์ออกสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม ความสามารถของบริษัทในการประกอบและทดสอบฮาร์ดไดรฟ์ไม่ได้มีข้อจำกัดแต่อย่างใด
       
       ขณะที่การฟื้นฟูซัปพลายเออร์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างดี และบริษัทคาดว่าซัปพลายเออร์จะสามารถกลับมาดำเนินงานในระดับปกติได้อย่างจริงจังเหมือนช่วงก่อนน้ำท่วมภายในเดือนมิ.ย. โดย WD กำหนดเป้าหมายการผลิตฮาร์ดไดรฟ์ในไตรมาสเดือนมี.ค., มิ.ย. และก.ย. เพื่อให้ได้ปริมาณ 60%, 80% และ 100% ของเป้าหมายช่วงก่อนน้ำท่วม
       
       WD พยายามที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ห่วงโซ่อุปทานของบริษัท โดยการสนับสนุนให้ซัปพลายเออร์ในประเทศไทยมีภูมิศาสตร์สถานที่ตั้งฐานการผลิตกระจายออกไปในที่ต่างๆ นอกจากนี้ บริษัทจะเสริมกำลังโครงสร้างพื้นฐานโดยขยายการผลิตในส่วนสไลเดอร์ของโรงงานในมาเลเซีย เพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งการปรับปรุงของรูปแบบดังกล่าวจะมีผลในระยะยาวต่อต้นทุนการผลิตของบริษัท และจะส่งผลดีต่อราคาผลิตภัณฑ์ในท้ายที่สุด
       
       บริษัทยังมีความคืบหน้าในการวางกลยุทธ์ลดความเสี่ยง ขณะเดียวกัน บริษัทได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยและทีมบริหารของนิคมอุตสาหกรรมที่ดูแลด้านการวางแผนป้องกันน้ำท่วม โดยจะใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อสะกัดน้ำไม่ให้ท่วมโรงงาน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนเลย์เอาท์สายการผลิตภายในโรงงานและยกพื้นให้สูงขึ้น
       
       ทั้งนี้ ตลอดช่วงเวลาวิกฤติตั้งแต่เดือนต.ค. 2554 บริษัทได้จ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานในประเทศไทยทุกคน ซึ่งพนักงานเป็นพันคนได้ช่วยกันขจัดคราบเปื้อน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และเปลี่ยนถ่ายอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในบางกรณีได้มีการขนย้ายอุปกรณ์ออกไป หรือจัดตั้งระบบทำงานใหม่ ส่วนผนังที่เสียหายได้ถูกดึงออกไป และบริษัทได้ปรับเปลี่ยนห้องการผลิตใหม่ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้มีขอบเขตที่กว้าง ต้องอาศัยการทำงานที่พิถีพิถัน ต้องใช้ความระมัดระวังและความเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูโรงงานให้กลับสู่สภาพเดิมเหมือนตอนก่อนน้ำท่วมและขณะนี้ขบวนการฟื้นฟูยังอยู่ระหว่างปฏิบัติการ
       
       ตามที่รับรู้กันฮาร์ดไดรฟ์เป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนสูง ได้รับการออกแบบผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงมากและการปฏิบัติการของกลไกที่มีขนาดเล็กมากเพียงไม่กี่นาโนเมตร ดังนั้น โรงงานผลิตของ WD จะต้องสะอาดเป็นอย่างมาก บริษัทมีห้องควบคุมความสะอาดหรือ คลีน รูม ที่มีอนุภาคน้อยกว่า 100 อนุภาคต่อลูกบาศก์ฟุต เปรียบเทียบกับอาคารสำนักงานโดยทั่วไปที่มีอนุภาคมากถึงหนึ่งล้านอนุภาคต่อลูกบาศก์ฟุต
       
       เมื่อเร็วๆ นี้ เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) ยังได้จัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ รวมทั้งการสาธิตอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบกลุ่มส่วนบุคคล (personal cloud) พร้อมจัดโชว์ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของ WD ในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้อย่างฉับไว แสดงประวัติองค์กรและแกนสำคัญที่ผลักดันให้ WD สามารถก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมด้านนี้
       
       รวมถึงการร่วมแรงร่วมใจของทีมงาน WD ข้อมูลการวิจัยแลการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งล้วนเป็นรากฐานสำคัญแห่งความสำเร็จของบริษัท โดยได้มีการจัดแสดงแยกเป็นซุ้มต่างๆ ภายในบริเวณงานพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม (Prime Minister’s Best Industry Award) เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2555 ที่ทำเนียบรัฐบาลโดย WD เป็นบริษัทหนึ่งเดียวที่รับรางวัลนี้
       
       ข้อมูลเกี่ยวเนื่องกับราคาที่ถีบตัวขึ้น เนื่องจากการเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมฮาร์ดไดรฟ์ และด้วยชิ้นส่วนประกอบที่มีอยู่อย่างจำกัดภายในห่วงโซ่อุปทานของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และความพยายามของผู้ผลิตที่จะกลับมาสู่ระบบตามปกติให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาจมีผลกระทบต่อการเพิ่มราคาฮาร์ดไดรฟ์ นอกจากนี้ กลไกตลาดของห่วงโซ่การจัดจำหน่ายสินค้า (ที่อยู่นอกการควบคุมของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์) ยังอาจส่งผลกระทบต่อราคาอีกด้วย
       
       โรงงานผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์และผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบภายในเพื่อผลิตฮาร์ดไดรฟ์ที่อยู่ในกลุ่มผู้ประสบปัญหาน้ำท่วม มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผนวกกับกลไกตลาด และขั้นตอนการจัดจำหน่าย จึงส่งผลให้ลูกค้าต้องซื้อฮาร์ดไดรฟ์ในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์กำลังเร่งหาทางฟื้นฟูและช่วยปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานร่วมกับซัปพลายเออร์ เพื่อจะส่งผลในระยะยาวต่อต้นทุนการผลิตของบริษัท และจะส่งผลดีต่อราคาผลิตภัณฑ์ในท้ายที่สุด
       
       ส่วนนโยบายด้านการรับประกัน WD มีการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการรับประกันของ WD Caviar Green, WD Caviar Blue และ WD Scorpio Blue มาเป็น 2 ปี ส่วน WD Caviar Black และ WD Scorpio Black ยังคงรับประกัน 5ปีเช่นเดิม
       
       ในขณะที่ WD เน้นนำเสนอบริการหลังการขายที่ดีที่สุดต่อผู้บริโภค บริษัทก็ต้องสามารถอยู่ในจุดที่สามารถแข่งขันในตลาดได้ และจะต้องมีความสมดุลด้านการงิน นอกจากนี้ WD ได้กระจายสาขาให้บริการและจุดบริการรับสินค้าไปสู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ นอกเหนือจากศูนย์บริการของตัวแทนจำหน่ายที่ครอบคลุมแทบทุกจังหวัดของประเทศ สาขาให้บริการและจุดบริการรับสินค้า (เวสเทริน ดิจิตอล เซ็นเตอร์) ของ WD ปัจจุบันอยู่ที่ ชั้น 2 พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า @TC Mobile Shop สาขาเชียงใหม่ @ร้าน KHONKAEN J-NET COMPUTER SHOP จังหวัดขอนแก่น @ร้าน Digital Channel (สาขา2) ห้างบิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ จังหวัดภูเก็ต
       
       แต่ถึงแม้จะมีการลดประกันในสินค้าบางรุ่น WD ยังคงรักษามาตรฐานด้านการออกแบบและผลิตฮาร์ดไดรฟ์ที่มีคุณภาพสูงสุดในอุตสาหกรรม เพื่อรักษาชื่อเสียงและความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม ที่นำเสนอสินค้าคุณภาพที่เหนือกว่า และมีความน่าเชื่อถือสูงสุด
       
       WD มีโรงงานผลิตฮาร์ดไดรฟ์หลักอยู่ที่มาเลเซียและประเทศไทย รวมทั้งส่วน facilities และ R&D ในสิงคโปร์และบราซิล มีโรงงานออกแบบในแคลิฟอร์เนียเหนือและใต้ โคโลราโด รวมทั้งในไทย และมีสำนักงานขายกระขายอยู่ในทุกทวีปทั่วโลก ผลิตภัณฑ์สตรอเรจหรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของบริษัทได้จัดจำหน่ายให้กับบรรดาผู้ผลิตชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดจนผู้แทนจำหน่าย และผู้ค้าปลีก สำหรับเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) มีพนักงานประมาณ 38,000 คน โดยมีโรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน โดยโรงงาน WD ในประเทศไทยได้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์ออกสู่ตลาดโลกโดยประมาณ 60% และที่เหลือจะผลิตโดยโรงงานในมาเลเซีย
       
       Company Related Link :
       Western Digital

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)