Author Topic: กูเกิล อ่วม ข้อหา "สอดแนม"  (Read 688 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ทนายความ และคู่แข่งรายสำคัญอย่างไมโครซอฟท์ (Microsoft) พร้อมใจกันยัดเยียดตำแหน่งผู้ต้องหาคดีสอดแนมและละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวผู้ใช้ให้กับกูเกิล (Google) ระบุกูเกิลตั้งใจหลบเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอดภัยในโปรแกรมเบราว์เซอร์เพื่อสอดแนมข้อมูลสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการนำเสนอโฆษณาของตัวเอง ด้านกูเกิลปัดไม่ได้หวังกำไรจนมองข้ามความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างที่ถูกกล่าวหา แม้ศาลจะรับคำฟ้องของผู้ใช้อเมริกันที่เรียกค่าเสียหายจากการถูกกูเกิลสอดแนมแล้ว
       
       ดีน ฮาชาโมวิตช์ (Dean Hachamovitch) รองประธานฝ่ายปฏิบัติการผลิตภัณฑ์เบราว์เซอร์ไออี (Internet Explorer) โพสต์ข้อความในเว็บไซต์ของบริษัทว่าบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่ากูเกิลมีความพยายามหลีกเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้ไออี เพื่อสอดแนมและติดตามการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ไออีจริงหรือไม่อย่างไร โดยยอมรับว่าไออีคือเหยื่ออีกรายหลังจากเบราว์เซอร์ซาฟารี (Safari) ของแอปเปิลมีแนวโน้มถูกหลบเลี่ยงเช่นกัน
       
       "กูเกิลกำลังใช้วิธีการเดียวกันเพื่อเลี่ยงการป้องกันที่ไออีตั้งไว้เป็นค่าเริ่มต้น (default) และติดตามผู้ใช้ด้วยคุกกี้ เรากำลังตรวจสอบเพื่อหาทางปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น"
       
       การประนามกูเกิลครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าววอลล์สตรีทเจอร์นอลได้เปิดเผยผลการศึกษาจากโจนาธาน เมเยอร์ (Jonathan Mayer) นักวิจัยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดซึ่งพบช่องโหว่บนเบราว์เซอร์ซาฟารี โปรแกรมท่องเว็บไซต์ที่แอปเปิลติดตั้งในไอโฟน ไอแพด และไอพ็อด โดยช่องโหว่ดังกล่าวทำให้ผู้ให้บริการโฆษณาออนไลน์รวมถึงกูเกิลสามารถติดตามพฤติกรรมการเข้าเว็บไซต์ต่างๆ ของผู้ใช้ผ่านไฟล์คุกกี้ ที่มักเป็นเครื่องมือของเว็บไซต์ให้ผู้ใช้เปิดเว็บได้เร็วขึ้นในครั้งถัดไป
       
       รายงานระบุว่า ปกติแล้วเบราว์เซอร์ทั่วไปจะยอมรับไฟล์คุกกี้จากเว็บไซต์ที่ถูกเปิดใช้งานเท่านั้น และจะปิดกั้นคุกกี้รูปแบบอื่นซึ่งค่ายโฆษณาออนไลน์มักจะแอบส่งมาด้วย แต่นักวิจัยของสแตนด์ฟอร์ดพบว่ากูเกิลสามารถหลอกล่อให้เครื่องรับไฟล์คุกกี้ได้อย่างไม่ตั้งใจ โดยใช้ปุ่ม "+1" ที่ถูกสร้างขึ้นจากเทคโนโลยี DoubleClick เป็นตัวบังหน้า
       
       ทันทีที่ข่าวถูกเผยแพร่ในช่วงต้นสัปดาห์ กูเกิลเริ่มดำเนินการลบไฟล์คุกกี้เพื่อการโฆษณาหรือ advertising cookie ที่ใช้กับเบราว์เซอร์ซาฟารีทันที พร้อมกับยอมรับว่าระบบปุ่ม +1 ทำให้กูเกิลสามารถติดตามพฤติกรรมการเข้าเว็บไซต์จากไฟล์คุกกี้ได้จริง แต่เป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้ ทำให้ไม่เกี่ยวข้องกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแต่อย่างใด
       
       แอปเปิลออกมาชี้แจงในเวลาไล่เลี่ยกันว่าบริษัทกำลังหาวิธีหยุดยั้งการละเมิดทุกชนิดบนซาฟารี พร้อมกับกลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนที่ดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลสหรัฐฯ ให้กูเกิลจ่ายค่าเสียหายแก่ผู้ใช้ซาฟารีจำนวนหลายล้านคน ขณะที่ผู้แทนมลรัฐแคลิฟอร์เนียส่งจดหมายเรียกตัวแทนกูเกิลเข้าชี้แจงต่อสาธารณชน ว่าบริษัทเก็บข้อมูลอะไรจากผู้ใช้และจะใช้ข้อมูลดังกล่าวอย่างไร
       
       สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ไมโครซอฟท์ออกมาผสมโรงว่า ผู้ใช้เบราว์เซอร์ไออีก็ถูกกูเกิลละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวเช่นกัน พร้อมกับระบุว่าจะดำเนินการตรวจสอบเพื่อปกป้องผู้ใช้ไออีอย่างที่สุด
       
       อย่างไรก็ตาม กูเกิลออกมาตอบโต้ว่าไมโครซอฟท์นั้นรู้ปัญหานี้มานานหลายปีแล้ว โดยอ้างว่าไมโครซอฟท์ไม่ใส่ใจที่เว็บไซต์อย่างเฟซบุ๊กและอเมซอนใช้ประโยชน์จากเทคนิกเลี่ยงระบบปิดกั้นคุกกี้ในไออีมาตลอด จุดนี้ คริสโตเฟอร์ โซโกเอียน (Christopher Soghoian) นักวิจัยอิสระแสดงความเห็นด้วยโดยบอกว่าแทนที่จะแก้ปัญหาในไออีที่เฟซบุ๊กและอเมซอนใช้ประโยชน์ ไมโครซอฟท์กลับไม่ดำเนินการใดๆ แต่ตอนนี้กลับมาต่อว่าเมื่อกูเกิลใช้ประโยชน์จากเทคนิกนี้บ้าง
       
       เช่นเดียวกับนักวิจัยนามลอเรน เวน์สไตน์ (Lauren Weinstein) ซึ่งวิจารณ์การผสมโรงของไมโครซอฟท์ว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่ไม่สร้างสรรค์ และไม่ช่วยให้สังคมได้รับความกระจ่างในประเด็นการละเมิดของกูเกิล
       
       ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ แต่ความพยายามหลีกเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอดภัยบนเบราว์เซอร์ของกูเกิลนั้นก็ส่อเจตนาไม่สุจริตในทุกกรณี โดยกลุ่มรักษาสิทธิมนุษยชนได้ออกมาเรียกร้องให้คณะกรรมการการค้ายุติธรรมสหรัฐฯหรือ US Federal Trade Commission ออกมาตรวจสอบกูเกิลอย่างจริงจัง
       
       ความเคลื่อนไหวล่าสุดของกูเกิล คือการออกแถลงการณ์ถึงกรณีที่เบราว์เซอร์ซาฟารีสามารถทำให้คุกกี้ของกูเกิลถูกส่งไปยังเครื่องของผู้ใช้ได้ ว่าเป็นผลลัพท์ที่กูเกิลไม่คาดหวังให้เกิดขึ้น โดยยังไม่มีความเห็นอื่นต่อกรณีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม
       
       นอกจากซาฟารีและไออี ยังไม่มีรายงานจากเบราว์เซอร์ที่มีผู้ใช้งานหลายล้านคนอย่างไฟร์ฟ็อกซ์ (Firefox) ว่าพบการเลี่ยงระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อติดตามการใช้งานของผู้ใช้หรือไม่ ซึ่งคาดว่าผลการสอบสวนของเรื่องนี้จะได้รับความสนใจจากชาวออนไลน์ทั่วโลกอีกนาน
       
       Company Related Link :
       Google

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
5529 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
7084 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
6683 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
4596 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6005 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
1989 Views
Last post July 03, 2011, 09:25:17 AM
by Nick
0 Replies
2094 Views
Last post July 08, 2011, 03:26:19 PM
by Nick
0 Replies
2085 Views
Last post December 02, 2011, 02:27:58 PM
by Nick
0 Replies
1580 Views
Last post December 03, 2011, 05:41:01 PM
by Nick
0 Replies
3986 Views
Last post January 18, 2012, 02:03:34 PM
by Nick