Author Topic: กลุ่มทรู โต้กรรมาธิการ "สัญญา3G"  (Read 1090 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      ตามที่ได้มีข่าวว่าคณะกรรมการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้มีรายงานการศึกษาและตรวจสอบข้อเท็จจริง เรื่องการดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ (3G) ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับกลุ่มบริษัทในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) นั้น บริษัทฯ ขอใช้โอกาสนี้ในการเรียนชี้แจงความเห็นของบริษัทฯ ต่อความเห็นในรายงานการศึกษาดังกล่าว ดังนี้
      
       1. กรณีที่อ้างว่าขัดมาตรา 46 วรรค 2 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553 หรือ พ.ร.บ. กสทช.) ที่กำหนดห้ามโอนสิทธิในการครอบครองคลื่นความถี่ไปให้บุคคลอื่น
      
       บริษัทฯ ขอเรียนว่าการลงนามในสัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 3G HSPA ระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม กับ กลุ่ม บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น นั้น บมจ. กสท โทรคมนาคมเป็นผู้ประกอบกิจการด้วยตนเอง โดยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและมีอำนาจควบคุมสั่งการเครื่องและอุปกรณ์ในระบบ HSPA ซึ่ง บมจ. กสท โทรคมนาคมได้เช่าใช้จากบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด (บีเอฟเคที) โดยไม่ได้โอนคลื่นความถี่หรือมอบอำนาจให้กลุ่ม บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น บริหารจัดการการคลื่นความถี่แทนแต่อย่างใด นอกจากนี้ ใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมฯ และใบอนุญาตให้ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมฯ สำหรับการดำเนินโครงการ 3G HSPA ล้วนอยู่ในชื่อ บมจ. กสท โทรคมนาคม จึงเป็นหลักฐานแสดงว่า บมจ. กสท โทรคมนาคม เป็นผู้ใช้และบริหารคลื่นความถี่ในการให้บริการโทรคมนาคมด้วยตนเอง
      
       ทั้งนี้ กรณีนี้สอดคล้องกับมติเห็นชอบผลการศึกษาของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อศึกษามาตรา 46 ในการประชุมครั้งที่ 4/2555 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 ความว่าการให้บริการแบบ MVNO หรือผู้ประกอบการที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ไม่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ และไม่มีอำนาจเข้าไปควบคุมการใช้งานคลื่นความถี่ที่ได้เช่าใช้จากเจ้าของโครงข่าย ก็สามารถดำเนินการได้โดยไม่ขัดกับมาตรา 46 ซึ่ง บริษัท เรียล มูฟ จำกัด ก็ให้บริการแบบ MVNO นี้เช่นเดียวกัน
      
       2. กรณีที่อ้างว่า หลีกเลี่ยง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เนื่องจาก บีเอฟเคที ให้บริการโครงข่ายโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.
      
       บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า การประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามความหมายที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 นั้น หมายความว่า การประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านกิจการโทรคมนาคมแก่บุคคลอื่นทั่วไป แต่กรณีของ บีเอฟเคที เป็นเพียงผู้ประกอบกิจการให้เช่าและบริการบำรุงรักษาเครื่องและอุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับ บมจ. กสท โทรคมนาคม จึงไม่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมตามความของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
      
       3. กรณีอ้างว่า หลีกเลี่ยง พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท
      
       บริษัทฯ ขอยืนยันว่า โครงการ 3G HSPA ไม่เข้าข่ายกิจการที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงานหรือดำเนินในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) เนื่องจากโครงการ 3G HSPA ไม่เข้านิยามคำว่า "กิจการของรัฐ" เพราะการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้ถูกยุบเลิกและได้โอนสิทธิพร้อมใบอนุญาตประกอบธุรกิจกิจการโทรคมนาคมให้แก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ซึ่งได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนแล้วตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546 และมีสถานะเป็นบริษัทผู้ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. เช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตรายอื่นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2548 นอกจากนี้สำนักงานอัยการสูงสุดก็ได้มีการพิจารณาตรวจสอบสัญญาต่างๆ แล้วว่าเป็นไปตามกฎหมาย มิได้เข้าเกณฑ์ที่จะต้องปฏิบัติตาม พรบ.ร่วมทุนฯ แต่อย่างใด ดังนั้น โครงการ 3G HSPA จึงไม่ตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ จึงไม่ต้องพิจารณาในข้อต่อไปว่าโครงการดังกล่าวมีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทหรือไม่
      
       อนึ่ง บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงเพิ่มเติมว่าการให้บริการโครงการ 3G HSPAระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม กับ กลุ่ม บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น นั้นมิได้เป็นการผูกขาดหรือกีดกันการแข่งขัน เนื่องจากผู้ประกอบกิจการขายต่อบริการรายอื่นๆ ก็สามารถขอซื้อบริการจาก บมจ. กสท โทรคมนาคม โดยขอให้ บมจ. กสท โทรคมนาคม สร้างขยายความจุเพิ่มขึ้นเป็นเท่าใดก็ได้ ซึ่งจะทำให้จำนวนสัดส่วนการให้บริการของบริษัท เรียล มูฟ จำกัด ลดลงโดยธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการขายต่อ ทั้ง บริษัท เรียล มูฟ จำกัด ซึ่งให้บริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G HSPA ภายใต้แบรนด์ “True Move H” และยังมีผู้ให้บริการขายต่อภายใต้แบรนด์ “my” อีกหนึ่งรายด้วย
      
       บริษัทฯ ขอเรียนว่ารายงานการศึกษาของคณะกรรมการฯ ดังกล่าวไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ดังนั้น สัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 3G HSPA ระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคมกับกลุ่มบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นยังคงมีผลผูกพันและมีความสมบูรณ์อยู่ทุกประการ
      
       Company Related Link :
       True

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6208 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
7849 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
7586 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
5290 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6748 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
3522 Views
Last post July 03, 2011, 09:25:17 AM
by Nick
0 Replies
3389 Views
Last post July 08, 2011, 03:26:19 PM
by Nick
0 Replies
3275 Views
Last post December 02, 2011, 02:27:58 PM
by Nick
0 Replies
2722 Views
Last post December 03, 2011, 05:41:01 PM
by Nick
0 Replies
4894 Views
Last post January 18, 2012, 02:03:34 PM
by Nick