Author Topic: กูเกิล และเฟซบุ๊ค เร่งถอดเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ออกจากเว็บฯ หลังศาลอินเดียมีคำสั่งเตือน  (Read 765 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


สองบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ กูเกิลและเฟซบุ๊ค เร่งดำเนินการถอดเนื้อหาไม่เหมาะสมที่ซึ่งปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ท้องถิ่นของอินเดียเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ตามคำสั่งเแจ้งตือนจากศาลที่มีบทลงโทษอันรุนแรงเฉกเช่นเดียวกับประเทศจีน ถ้าพวกเขาไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อปกป้องความอ่อนไหวในเรื่องศาสนา

โดยกูเกิลและเฟซบุ๊ค เป็นสองใน 21 บริษัทที่ได้รับคำสั่งให้ค้นหาวิธีทางในการบล็อกเนื้อหาที่ถือว่าล่วงละเมิดต่อศาสนา หลังจากที่มีผู้ร้องเรียนไปยังศาลว่ามีรูปภาพที่ดูเหมือนว่าล่วงละเมิดต่อศาสนาฮินดู มุสลิม และคริสเตียน "ทีมงานของเราได้ดูแลเนื้อหาและระงับการเรียกเนื้อหาเหล่านั้นจากโดเมนท้องถิ่นที่ปรากฏอยู่ในการค้นหาของกูเกิล, ยูทูป และบล็อกเกอร์แล้ว" Paroma Roy Chowdhury โฆษกหญิงจากกูเกิลอธิบาย นอกจากนี้ หัวใจหลักของข้อพิพาททางกฏหมายในอินเดียเมื่อปีที่ผ่านมา ยังได้ส่งผลให้บริษัทกูเกิลตัดสินใจที่จะรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่ผู้ใช้โพสลงในเว็บไซต์ และให้เวลาพวกเขา 36 ชั่วโมง สำหรับการนำเนื้อหาดังกล่าวออก ถ้าหากได้รับการร้องเรียน สำหรับจำนวนประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศอินเดียนั้นมีน้อยกว่า 1 ใน 10 ของประชากรทั้งหมด 1.2 พันล้านคน แต่อย่างไรก็ดีตัวเลขดังกล่าวถือเป็นลำดับที่สามของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก รองจากจีน และสหรัฐฯ และมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าหรือ ราว 300 ล้านคนในอีกสามปีข้างหน้า และถึงแม้กฏใหม่จะมีข้อกำหนดให้ปิดกั้นการเผยแพร่เนื้อหาที่มีการล่วงละเมิด แต่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอินเดียส่วนใหญ่ยังไม่ได้ถูกเซ็นเซอร์ สวนทางกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนที่ค่อนข้างมีความเข้มงวดเป็นอย่างมาก ในขณะที่กลุ่มสิทธิมนุษย์ชนได้มีการต่อต้านกฏหมายใหม่ ไม่แตกต่างจากนักการเมืองที่ได้ออกมาระบุว่า การโพสรูปที่มีการล่วงละเมิดในสังคมที่มีความอนุรักษ์นิยม ถือเป็นการทำลายประวัติศาสตร์ระหว่างกลุ่มศาสนา และอาจจะทำให้เกิดอันตรายในวงกว้างได้

Source : reuters

ที่มา: pantip.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)