Author Topic: ดีแทคฝันไทยลุย 4G พร้อม 3G  (Read 768 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค

ซีอีโอดีแทคปิ๊งไอเดียสางปม "3G ประเทศไทยเต่าล้านปี" เผยแผนเตรียมเจรจา กสทช.-โอเปอเรเตอร์ไทยเทรวมคลื่น 1800 MHz แล้วจัดสรรใหม่อย่างเท่าเทียม เชื่อหากทำได้ไทยจะเป็นประเทศเดียวในโลกที่สามารถพัฒนาเครือข่าย 4G ไปพร้อมกับ 3G ย้ำกสทช.ควรพิจารณาแผนนี้เพราะมีโอกาส-ความเป็นไปได้-ความเหมาะสมเรื่องช่วงเวลาสูง ปัดการเสนอตัวคืนคลื่น 1800 MHz ครั้งนี้ไม่ใช่การสร้างภาพแม้ดีแทคมีแววต้องคืนคลื่นอยู่แล้ว ย้ำต้องการผลักดันให้กสทช. สามารถดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ในประเทศไทยบนมาตรฐานเดียว
       
       นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ยกกรณีความสำเร็จของเทเลนอร์ นอร์เวย์ บริษัทแม่ของดีแทคที่สามารถพัฒนาโครงข่ายข้อมูลไร้สายความเร็วสูง LTE (4G) ซึ่งสามารถรองรับการทำงานมาตรฐาน 3G และ 2G ได้ในเครือข่ายเดียวแล้วที่ประเทศนอร์เวย์ โดยระบุว่าดีแทคสามารถนำความพร้อมด้าน LTE ของบริษัทแม่มาปรับใช้ในประเทศไทยได้ทันทีที่กสทช.เปิดไฟเขียว
       
       ทั้งหมดนี้ดีแทคยินดีคืนความถี่ 1800 MHz ที่ตัวเองไม่ได้ใช้จำนวน 25 MHz เพื่อรวมกับทรูและดีพีซี (บริษัทในเครือเอไอเอส) ที่มีรายละ 12.5 MHz และจะหมดสัมปทานช่วง 2 ปีข้างหน้าพอดี ทำให้กสทช.สามารถจัดสรรคลื่นย่าน 1800 ทั้ง 50MHz ซึ่งสามารถรองรับ 4G ได้ ผลคือชาวไทยก็จะมี 4G ใช้งานภายใน 2 ปีนับจากนี้
       
       "นี่คือสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทย การสร้างโครงข่าย 4G พร้อมกับ 3G เป็นสิ่งที่ทำได้จริง ช่วงเวลา 2 ปีนับจากนี้ถือว่าเหมาะสมเพราะถึงตอนนั้นเทคโนโลยีและอุปกรณ์ 4G ก็จะถูกพัฒนาเต็มที่ รัฐบาลไทยควรพิจารณาเรื่องนี้จริงจังเพราะเป็นทางออกเดียวที่ทำให้ไทยก้าวล้ำเกินประเทศอื่น และไทยเป็นประเทศเดียวที่ได้รับโอกาสเช่นนี้ เพราะมันเป็นอะไรที่ประเทศอื่นไม่มี"
       
       เครือข่าย LTE หรือ Long Term Evaluation หนึ่งในมาตรฐานเทคโนโลยี 4G นั้นจะทำให้ชาวออนไลน์สามารถใช้อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ได้เร็ว 1.2Gbps หรือ 1,200Mbps เทเลนอร์เริ่มติดตั้งเครือข่าย LTE ของหัวเว่ยในนอร์เวย์ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2010 เพื่อให้บริการจริงในไตรมาส 1 ปีหน้า (2012) โดยกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ แต่เป็นผู้ใช้คอมพิวเตอร์พกพาที่ต้องการดองเกิลความเร็วสูงในการต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อโหลดภาพยนตร์ความละเอียดสูงในเวลาเสี้ยววินาที
       
       ตามข้อมูลจาก Rolv-Erik Spilling ประธานฝ่ายเทคโนโลยีหรือซีทีโอ เทเลนอร์นอร์เวย์ พบว่าเครือข่าย LTE สามารถรองรับได้ทุกแบนด์วิธบนความกว้างสัญญาณ 20MHz การติดตั้งนั้นใช้ไซต์กระจายสัญญาณที่น้อยกว่าแต่สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ไกลกว่าเมื่อครั้งติดตั้งโครงข่าย 3G ปกติ นี่เป็นอีกเหตุผลสนับสนุนที่ไทยซึ่งยังไม่ตั้งไข่ 3G ควรจะก้าวกระโดดไปสู่เทคโนโลยี LTE ในเวลาพร้อมกันกับการสร้างโครงข่าย 4G
       
       สำหรับความถี่ย่าน 1800MHz ในประเทศไทย ปัจจุบันถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนโดยดีแทคถือครองอยู่ 50MHz แต่ใช้งานได้เพียง 25MHz อีกส่วนถือโดยทรู 12.5MHz และดีพีซีของเอไอเอส 12.5MHz ทั้งทรูและดีพีซีจะหมดอายุสัมปทานก่อนดีแทคในช่วง 2 ปีนับจากนี้ จุดนี้ซีอีโอดีแทคระบุว่าจะเดินหน้าเจรจาโอเปอเรเตอร์ทั้งคู่ให้คืนความถี่ เพื่อให้กสทช.เปิดประมูลไลเซนส์ 4G พร้อมกับ 3G ในช่วงก่อนการพิจารณาแผนจัดสรรความถี่ครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยไม่เปิดเผยแผน 2 หากการเจรจาไม่สำเร็จ
       
       อย่างไรก็ตาม การเสนอแนวทางให้กสทช.ประมูลไลเซนส์ 4G พร้อม 3G ของดีแทคในครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นการสร้างภาพเนื่องจากความถี่ 1800 จำนวน 25MHz ที่ดีแทคถือโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์นั้นสามารถถูกกสทช.เรียกคืนได้อยู่แล้ว และโครงการเปลี่ยนโครงข่าย (Network Swap) มูลค่า 1,200 ล้านบาทที่ดีแทคประกาศไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาก็รองรับ 4G เช่นกัน จุดนี้ดีแทคยืนยันว่าเรียกคืนไม่ได้และดีแทคไม่มีข้อได้เปรียบใดๆจากการเสนอตัวคืนคลื่นความถี่ เนื่องจากอายุสัมปทานของทรูและเอไอเอสนั้นหมดลงก่อนดีแทค และยืนยันว่า ประเทศไทยได้ประโยชน์เต็มๆจากการมีโครงข่ายเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่น
       
       "การเจรจาครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนโครงข่ายเพราะนั่นเป็นการลงทุนระยะยาวที่ต้องทำ แต่ประเด็นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจะดีต่อประเทศไทย"
       
       ซีอีโอดีแทคระบุว่าสิ่งที่จะเห็นจากดีแทคในช่วงครึ่งหลังของปีนี้คือการลุยต่อยอดเพื่อทดสอบบริการ 3G โดยมีแผนจะนำหนึ่งในนวัตกรรมจากเทเลนอร์สำนักงานใหญ่เช่น บริการสตรีมมิ่งเพลงออนไลน์นาม "WIMP" ซึ่งให้บริการลูกค้าบรอดแบนด์ทั้งโมบายล์และฟิกซ์ไลน์สามารถฟังเพลงมากกว่า 10 ล้านเพลงได้แบบไม่อั้นมาต่อยอดในเมืองไทย ซึ่งปัจจุบัน ค่ายเพลงไทยจำนวนหนึ่งได้เป็นพันธมิตรกับบริการดังกล่าวแล้วเรียบร้อย
       
       ไม่เพียงบริการเพลง ศูนย์วิจัยของเทเลนอร์นอร์เวย์ยังพัฒนาโซลูชั่นอื่นเพื่อให้บริษัทสามารถเพิ่มรายได้มากขึ้น โดยพันธมิตรผู้ผลิตสินค้าทั่วไปที่สนใจติดซิมการ์ดของเทเลนอร์ไว้ภายในเพื่อนำไปสร้างเป็นโซลูชั่นหรือโปรแกรมรับส่งข้อมูลทางไกล มีทั้งผู้ผลิตรถยนต์ อุปกรณ์การแพทย์ ระบบสื่อสารระหว่างพีซีและโทรศัพท์แบบไร้รอยต่อ (Unified Communication) และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ล้วนอำนวยความสะดวก ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารระยะไกลได้ดีขึ้น
       
       "เหตุผลที่เทเลนอร์พัฒนาโซลูชั่นเหล่านี้คือนโยบายบริษัทที่มองว่าเทเลนอร์จะไม่เติบโตในฐานะโอเปอเรเตอร์อย่างเดียว แต่จะขยายเข้ามาเป็นผู้ให้บริการคอนเทนต์ด้วย" ซึ่งจะเป็นนโยบายหลักที่บริษัทลูกในเครือเทเลนอร์จะเริ่มเดินตามในยุคที่รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือน (ARPU) ลดลงต่อเนื่อง
       
       ข้อมูลเดือนมกราคม 2554 ระบุว่ารายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือนของดีแทคช่วงปลายปี 2553 นั้นอยู่ที่ 212 บาทต่อคนต่อเดือน โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศเอเชียที่ทำรายได้ให้เทเลนอร์ถึง 38% ของรายได้รวม ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มจาก 14% ในปี 2005
Company Related Link :
       Dtac

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)