Author Topic: แจ้งเกิด "Color" ดาวรุ่งท้าชนเฟซบุ๊ก  (Read 1032 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


กลายเป็นข่าวที่สื่อต่างประเทศให้ความสนใจเหลือเกินสำหรับ "คัลเลอร์ (Color)" แอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ทโฟนฝีมือการพัฒนาของอดีตผู้บริหารแอปเปิลซึ่งชูธงพร้อมชนกับเครือข่ายสังคมยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) ด้วยการเป็นเครือข่ายสังคมบนโทรศัพท์มือถือที่ไร้ชื่อยูเซอร์เนมและรหัสผ่าน มั่นใจความเหนือกว่าเรื่องความเร็วและความยืดหยุ่นจะทำให้โลกเข้าสู่ยุคเครือข่ายสังคมที่ไม่มีคอมพิวเตอร์พีซีเข้ามาเกี่ยวข้อง งานนี้มีลุ้นเพราะกลุ่มทุนเทเงินมากกว่า 41 ล้านเหรียญพร้อมลุยโครงการชนช้างเฟซบุ๊กเรียบร้อย
       
       บิล เหงียน (Bill Nguyen) คืออดีตผู้บริหารแอปเปิลซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งทีมพัฒนาแอปพลิเคชันน้องใหม่นามคัลเลอร์ โดยเหงียนมีดีกรีเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ให้บริการเพลงออนไลน์ Lala (lala.com) ซึ่งแอปเปิลเข้าซื้อกิจการเมื่อปี 2009 จนมีข่าวลือว่าแอปเปิลอาจใช้ Lala เป็นบันไดแห่งการสร้าง "iTunes on the cloud" หรือร้านจำหน่ายคอนเทนต์มัลติมีเดียไอจูนส์บนเทคโนโลยีการประมวลผลกลุ่มเมฆมาแล้ว
       
       ล่าสุด เหงียนเปิดตัวเครือข่ายสังคมบนโทรศัพท์มือถือใหม่ซึ่งจะเป็นคู่แข่งกับแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กบนสมาร์ทโฟนอย่างเต็มตัว โดยคัลเลอร์จะเปิดให้ผู้ใช้ไอโฟนและโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี จุดเด่นคือผู้ใช้จะสามารถถ่ายและแบ่งปันภาพ วิดีโอ และข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือเครื่องอื่นที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้ทันทีหรือเรียลไทม์
       
       ไม่ซ้ำเฟซบุ๊ก-โฟร์สแควร์-ทวิตเตอร์
       
       คัลเลอร์คือแอปพลิเคชันที่ทำให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถแบ่งปันภาพ วิดีโอ และข้อความกับเพื่อนหรือคนแปลกหน้าที่อยู่ในระยะ 100 ฟุตได้ โดยตัวแอปพลิเคชันจะตรวจจับอัตโนมัติว่ามีใครที่เป็น "ชาวคัลเลอร์" อยู่ใกล้บริเวณนั้น และคัลเลอร์จะสร้างกลุ่มภาพหรือวิดีโอที่มีความเกี่ยวข้องกันเพื่อแบ่งปันข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยทุกภาพและวิดีโอในคัลเลอร์จะถูกตั้งค่าเป็นสาธารณะ รวมถึงผู้ใช้คัลเลอร์ในบริเวณนั้น (100 ฟุตจากผู้เล่น) จะสามารถมองเห็นภาพที่เราแบ่งปันออกไปได้ทั้งหมด (เป็นเครือข่ายสังคมแบบเปิดเต็มตัว) โดยรูปแบบเครือข่ายสังคมเช่นนี้คัลเลอร์เรียกว่าเป็นเครือข่ายแสนยืดหยุ่นหรือ “elastic network” ที่ใช้เทคนิคการตรวจจับแบบอัลกอริทึมเพื่อใช้ในการจัดอันดับเพื่อนของผู้ใช้ รวมถึงการจัดสรรเรื่องกลุ่มเพื่อนให้ผู้ใช้แบบอัตโนมัติและการแสดงความคิดเห็นรวมถึงกดชื่นชอบภาพเหล่านั้นด้วย
       
       อีกทั้ง “elastic network” ยังมีจุดเด่นอยู่ที่การดึงภาพที่เพื่อนของผู้ใช้ได้ถ่ายไว้ก่อนหน้านั้น ณ บริเวณที่ผู้ใช้ยืนอยู่ปัจจุบันกลับมาชมอีกครั้งเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับภาพถ่ายในปัจจุบันได้ ยกตัวอย่างเช่น นาย A เคยมาสยามเมื่อ 3 ปีก่อนและได้ใช้ "คัลเลอร์" ถ่ายเก็บภาพไว้ หลังจาก 3 ปีมาแล้วนาย B ซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อนเดียวกับนาย A ในคัลเลอร์ ได้มาที่สยามอีกครั้ง และได้ถ่ายภาพโดย "คัลเลอร์" นาย B จะสามารถมองเห็นภาพของสยามที่นาย A เคยถ่ายไว้เมื่อ 3 ปีก่อนได้ด้วย
       
       ซึ่งเพียง 24 ชั่วโมงแรกของการเปิดตัวแอปพลิเคชัน คัลเลอร์กลายเป็นแอปพลิเคชันยอดนิยมอันดับ 2 ในร้าน App Store ประเภท Social Networking รองจากเฟซบุ๊ก ท่ามกลางบทความที่กล่าวถึงความร้อนแรงของคัลเลอร์หลายร้อยบทความบนโลกออนไลน์ โดยเหงียนให้ความเห็นว่าคัลเลอร์จะเป็นประโยชน์กับกลุ่มสังคมปัจจุบันที่อยู่ในสถานที่เดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนบ้าน
       
       เสียงตอบรับแง่ลบของคัลเลอร์คือผู้ใช้หลายคนยังไม่สามารถรับอรรถรสของโปรแกรมได้เต็มที่เพราะกลุ่มเพื่อนยังไม่มีการใช้งานคัลเลอร์อย่างแพร่หลาย ทำให้ไม่พบข้อมูลของเพื่อนฝูงคนรู้จักบนคัลเลอร์ รวมถึงความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและรัศมีที่ตรวจจับใกล้เกินไป จุดนี้เหงียนให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศว่า อนาคตของคัลเลอร์คือการแก้ปัญหาการ "โดดเดี่ยว" บนคัลเลอร์ โดยอาจปรับให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าใช้คัลเลอร์ได้หากไม่มีคนรู้จักในบริเวณนั้นเลย หรืออาจเปิดให้ผู้ใช้เปลี่ยนแปลงรัศมีระยะห่างจากเพื่อนฝูงคนรู้จักให้กว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ที่อยู่ห่างจากเพื่อนคนละเมืองสามารถรู้ความคืบหน้ากิจกรรมของกันและกันได้ คาดว่าอัปเดทเหล่านี้จะปรากฏในคัลเลอร์ช่วงต้นเดือนเมษายนนี้
       
       เหงียนให้สัมภาษณ์ว่าได้รับอีเมลจำนวนมากจากชาวญี่ปุ่นซึ่งใช้คัลเลอร์แบ่งปันภาพพื้นที่เสียหายกับเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งถือเป็นประโยชน์จากความสามารถด้านการทำงานเรียลไทม์ หรือแม้แต่การใช้เมื่อเข้ารับชมคอนเสิร์ตจะช่วยให้กลุ่มคนที่เล่นคัลเลอร์สามารถแชร์ภาพหรือวิดีโอหลากหลายมุมมองทั้งใกล้และไกลจากเวทีไปให้กับเพื่อนๆ ที่อยู่ในคอนเสิร์ตเดียวกันได้รับรู้ เผื่อบางคนไม่สามารถมองเวทีได้ชัดเจน คัลเลอร์จะเข้ามาช่วยลดข้อจำกัดเหล่านี้ลงได้ โดยขณะนี้คัลเลอร์กำลังพัฒนาส่วนข่าว (News API) เพื่อให้นักข่าวสามารถโพสต์ภาพและตำแหน่งเกิดเหตุ ซึ่งผู้ใช้คัลเลอร์จะสามารถกดลิงก์ข่าวเพื่ออ่านรายละเอียดได้
       
       "คอมพิวเตอร์" ไม่เกี่ยว
       
       เหงียนระบุว่าเพราะการแบ่งปันภาพและวิดีโอคือกิจกรรมยอดนิยมที่สุดบนเฟซบุ๊ก เมื่อรวมกับธรรมชาติของคัลเลอร์เรื่องการเคลื่อนที่ตลอดเวลาจะทำให้โลกเกิด"เครือข่ายสังคมที่แตกต่าง" นั่นคือเครือข่ายสังคมที่ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง จุดนี้เหงียนระบุว่าเป็นไปตามแนวโน้มของเครือข่ายสังคมและแอปพลิเคชันที่สนับสนุนให้ผู้ใช้ทั่วโลกออกห่างจากคอมพิวเตอร์ไปทุกที
       
       "การเปลี่ยนแปลงไปยังโลกยุค"หลังพีซี"นั้นกำลังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานอุตสาหกรรมไอทีครั้งใหญ่ เรากำลังจะแบ่งปันข้อมูลเรียลไทม์มากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต"
       
       มีข่าวลือว่าเหงียนนั้นสามารถจำหน่าย Lala ให้แอปเปิลเป็นเงินถึง 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนจะร่วมงานกับแอปเปิลได้ราว 1 ปี โดยเดือนกันยายนที่ผ่านมา รายงานระบุว่าเหงียนได้รับเงินทุนสนับสนุน 14 ล้านเหรียญจากกลุ่มทุน Bain Capital Ventures และ Silicon Valley Bank จากนั้นไม่นาน หนึ่งในกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ของซิลิกอนวัลเลย์นาม Sequoia Capital ก็ตัดสินใจให้เงินทุนกับเหงียนอีก 25 ล้านเหรียญ พร้อมกับเงินสนับสนุนรอบ 2 มูลค่า 2 ล้านเหรียญจาก Silicon Valley Bank ทำให้เหงียนพร้อมรบกับเฟซบุ๊กด้วยไอเดียมูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐ
       
       เหตุที่ทำให้ไอเดียนี้มีผู้สนใจ คือการไม่ได้เป็นแอปพลิเคชันแบ่งปันภาพธรรมดา แต่เป็นหนทางใหม่ในการสร้างเครือข่ายสังคมด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลมหาศาลที่เกี่ยวกับกิจกรรมและสถานที่อยู่ของผู้คน โดยไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆเพื่อการระบุตัวตน ทั้งชื่อ อีเมลแอดเดรส หรือแม้แต่รหัสผ่าน แนวคิดเหล่านี้อยู่บนเทคโนโลยีแสนอัจฉริยะที่ทีมพัฒนาขึ้น
       
       และเพราะระบบของคัลเลอร์จะสามารถตรวจจับได้ว่าผู้ใช้ถ่ายภาพอะไรได้จากสถานที่ใดอย่างอัตโนมัติ ทำให้ทีมพัฒนาคัลเลอร์เชื่อว่าจะนำไปสู่การสร้างเงินจากการโฆษณาและบริการการตลาดแบบอิงสถานที่ (location-based) โดยปัจจุบัน คัลเลอร์มีทีมงานทั้งสิ้น 30 ชีวิต หนึ่งในนั้นคือดีเจ พาติล (DJ Patil) หัวหน้าทีมพัฒนาเครือข่ายสังคมเพื่อโลกธุรกิจนาม LinkedIn ซึ่งทำให้ภาพความอัจฉริยะด้านเทคโนโลยีอิงสถานที่ของคัลเลอร์ยิ่งเด่นชัดมากขึ้นอีก
       
       คัลเลอร์ถือเป็นกิจการใหม่ชิ้นที่ 8 ของเหงียน ซึ่งมีอายุ 40 ปีในขณะนี้ โดยก่อนหน้านี้ เหงียนเคยจำหน่ายบริการ Onebox แก่บริษัท Phone.com ด้วยราคา 850 ล้านเหรียญในปี 2001
       

       Company Related Link :
       Color

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
4466 Views
Last post April 12, 2009, 12:43:47 AM
by IT
0 Replies
4060 Views
Last post May 07, 2010, 09:26:49 AM
by Nick
0 Replies
6207 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
7848 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick
0 Replies
2251 Views
Last post December 09, 2010, 12:09:40 PM
by Nick
0 Replies
7585 Views
Last post January 13, 2011, 04:29:26 PM
by Nick
0 Replies
1715 Views
Last post January 31, 2011, 01:24:25 PM
by Nick
0 Replies
5288 Views
Last post February 27, 2011, 11:13:31 PM
by Nick
0 Replies
6747 Views
Last post March 11, 2011, 04:59:35 PM
by Nick
0 Replies
3709 Views
Last post May 28, 2013, 01:25:51 AM
by Nick