Author Topic: ประมูลอีพาสปอร์ตฉาว ล็อกสเปกเอื้อบางบริษัท  (Read 1527 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      ยุคนี้ ฉาวมันทุกงานประมูล แม้แต่อีพาสปอร์ตก็ไม่ควรปล่อยให้มันลอยนวล สดุดีกรรมการร่างทีโออาร์ เพิ่มข้อความเด็ดในคุณสมบัติข้อ 1.4.4.3 'สำหรับนิติบุคคลร่วมทำงาน ให้ใช้ผลงานหรือประสบการณ์ต่างๆ ของบริษัทหลักเพียงรายเดียว' คนวงในชี้แค่นี้ก็สร้างแต้มต่อให้ 'จันวาณิชย์' หลายขุม สำหรับประมูลโครงการอีพาสปอร์ต 7 ล้านเล่ม 5.8 พันล้านบาท
       
       แหล่งข่าวในวงการไอที กล่าวว่าโครงการจัดจ้างผลิตเล่มหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย (อีพาสปอร์ต) จำนวน 7 ล้านเล่ม งบประมาณ 5,852 ล้านบาทของกระทรวงการต่างประเทศ กำลังเกิดการล็อปสเปก แก้ไขข้อกำหนด (ทีโออาร์) เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนบางราย ซึ่งผูกปิ่นโตหากินกับโครงการอีพาสปอร์ตมาตั้งแต่ปี 2545
       
       ประเด็นที่ถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ในร่างทีโออาร์ ประกาศบนเว็บครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ในหัวข้อ 1.4.4.3 ผลงานหรือประสบการณ์ต่างๆ ของแต่ละนิติบุคคลในกลุ่มกิจการร่วมค้า หรือ นิติบุคคลร่วมทำงาน ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของผลงานหรือประสบการณ์ของผู้เสนอราคาโครงการ สำหรับนิติบุคคลร่วมทำงาน ให้ใช้ผลงานหรือประสบการณ์ต่างๆ ของบริษัทหลักเพียงรายเดียว
       
       โดยข้อความที่ถูกเพิ่มเข้ามาคือ 'สำหรับนิติบุคคลร่วมทำงาน ให้ใช้ผลงานหรือประสบการณ์ต่างๆ ของบริษัทหลักเพียงรายเดียว' ซึ่งทีโออาร์ก่อนหน้านี้ไม่มีการใส่ข้อความดังกล่าวเข้าไป ทำให้ถูกมองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์เฉพาะเจาะจง เนื่องจาก 1.หากระบุ 'สำหรับนิติบุคคลร่วมทำงาน ให้ใช้ผลงานหรือประสบการณ์ต่างๆของบริษัทหลักเพียงรายเดียว' น่าจะหมายถึงบริษัทที่จะมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนดในประเทศไทยนั้น มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัท จันวาณิชย์
       
       2.กรณีต้องจดทะเบียนกิจการร่วมค้า ด้วยระยะเวลาที่จำกัดและกระชั้นชิด อาจไม่มีบริษัทใด สามารถดำเนินการได้ทัน ยกเว้นบริษัทนั้นได้ทราบข้อกำหนดดังกล่าวล่วงหน้าแล้ว และ 3.หากข้อกำหนดทางด้านคุณสมบัติระบุไว้เช่นนั้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการประกาศเชิญชวนเข้าร่วมประมูล เนื่องจากไม่มีบริษัทหลักอื่นใดที่ประสงค์เข้าร่วมในฐานะนิติบุคคลร่วมค้าที่จะมีคุณสมบัติดังกล่าวที่ระบุไว้
       
       'หากไม่มีการเพิ่มข้อความดังกล่าวเข้าไป ก็ไม่มีปัญหา เพราะถือเป็นการเปิดกว้างให้แข่งกันแบบแฟร์ๆ เหมือนที่ผ่านมา แต่อยู่ดีๆ กรรมการร่างทีโออาร์ก็เพิ่มเงื่อนไขเข้าไป ทำให้มองได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์บางบริษัทแค่นั้น และดูเหมือนจะไม่ยอมรับการทักท้วงใดๆทั้งสิ้น รวมทั้งการประกาศร่างทีโออาร์บนเว็บไซต์ยังระบุวันยื่นซองประกวดราคาไว้ที่ 2 มี.ค.ที่จะถึงนี้'
       
       สำหรับกรรมการร่างทีโออาร์ประกอบด้วย 1.นายธงชัย ชาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักจัดหาฯและบริหารทรัพย์สิน 2.นายจักรกฤษณ์ กาญจนศูนย์ ผอ.กองหนังสือเดินทาง 3.รศ.ดร.เอื้อน ปิ่นเงิน 4.นายสังคม ดำรงยุทธภูมิและ 5.นายวิเชียร สรสิริ
       
       ในส่วนขอบเขตงานของโครงการนี้ กระทรวงการต่างประเทศมีความประสงค์จัดจ้างเอกชนเพื่อผลิตหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหนังสือเดินทางที่มีการพิมพ์ป้องกันการปลอมแปลง (Security Printing) ตามรูปแบบที่กำหนด พร้อมด้วยไมโครชิปที่ฝังอยู่ภายในหนังสือเดินทาง ตลอดจนให้ทำการบำรุงรักษาระบบการผลิต ซึ่งประกอบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรม ระบบเครือข่ายและอุปกรณ์ทั้งหมด
       
       ทั้งนี้เอกชนจะได้รับค่าจ้างเป็นรายเล่มของหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานได้ และมีกำหนดสัญญาการผลิตเล่มหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวน 7 ล้านเล่มหรือ 7 ปี กรณีใดกรณีหนึ่งถึงก่อน โดยแบ่งระยะเวลาในการดำเนินการเป็น 3 เฟสเริ่มจากเฟสแรก จะเป็นการทดลองใช้งานในโครงการนำร่อง โดยมีรายละเอียดคือ 1. จัดสร้างฐานข้อมูลชีวมาตร(Biometrics) สำหรับดำเนินการจัดทำหนังสือเดินทาง 2.จัดทำโครงสร้างพื้นฐานและระบบสารสนเทศเพื่อการจัดทำหนังสือเดินทาง
       
       3. ดำเนินการผลิตหนังสือเดินทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนประมาณ 10,000 เล่มหรือมากกว่า 4.ผู้รับจ้างเปิดช่องบริการไม่น้อยกว่า 5 ช่อง เพื่อให้บริการออกหนังสือเดินทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ 5.ระยะเวลาการดำเนินงานภายใน 90 วันนับตั้งแต่เริ่มลงนามในสัญญา 6.เปิดให้บริการเฉพาะที่กรมการกงสุล กระทรวงฯ ถนนแจ้งวัฒนะ และ7.คุณภาพบริการให้บริการโดยรวมจะต้องไม่ต่ำกว่าการให้บริการในปัจจุบัน
       
       ส่วนเฟส 2 จะขยายงานในโครงการนำร่องโดย 1.ผลิตหนังสือเดินทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยกำลังผลิตไม่น้อยกว่า 2,000 เล่ม/วัน 2.ผู้รับจ้างเปิดช่องบริการไม่น้อยกว่า 20 ช่อง เพื่อให้บริการออกหนังสือเดินทางแบบอิเล็กทรอนิกส์ 3.ระยะเวลาดำเนินการภายใน 120 วัน ตั้งแต่ลงนามในสัญญาและ4. เปิดให้บริการที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะและสาขาทั้ง 3 แห่งในกทม.
       
       ส่วนเฟส 3 จะดำเนินการออกหนังสือเดินทางแบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มกำลังการผลิตโดย1.เปิดให้บริการรับคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สำนักงานสาขาของกรมการกงสุลในเขตกทม.และปริมณฑล สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ทุกสาขา 2. ระยะเวลาดำเนินการภายใน 150 วันนับตั้งแต่ลงนามในสัญญา

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)