Author Topic: กสท เล็งแบล็กลิสต์ 'ZTE' เอซอนล่าช้าเสียหายหนัก  (Read 1310 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


กสทช้ำหนัก โครงการเอซอนล่าช้ากว่า 1 ปี เล็งแบล็กลิสต์ ZTE หลังพบอุปกรณ์ DWDM ไม่ผ่านการตรวจรับทั่วประเทศ เผยป.ป.ช.กำลังพิจารณาประมูลไม่โปร่งใส เพราะอุปกรณ์ ZTE ตกสเปกตั้งแต่ต้น แต่ดันทะลุจนชนะการประมูล คนในกสทเผย ZTE เคยถูกจับแรงงานต่างด้าว แสดงเจตนาละเมิดกม.ไทย ไม่ควรร่วมสังฆกรรมด้วย
       
       นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่ากสทได้รายงานให้ที่ประชุมบอร์ดกสทปลายเดือนก.ย.ที่ผ่านมาให้รับทราบความล่าช้าของโครงการจัดสร้างระบบเชื่อมโยง Optical Fiber ภายในประเทศ จำนวน 5 พื้นที่ หรือโครงการเอซอน (ASON : Automatically Switched Optical Network) มูลค่า 2.1 พันล้านบาท โดยพบว่า โครงการมีความล่าช้ามากกว่า 1 ปีแล้ว ซึ่งทำให้กสท ได้รับความเสียหายมาก จนทำให้มีการพิจารณาว่าอาจจะขึ้นบัญชีดำบริษัทและพาร์ตเนอร์ที่เป็นคู่สัญญาโครงการเอซอน
       
       'ตามสัญญาต้องส่งมอบระยะที่ 1 ตั้งแต่ 15 พ.ค.52 แต่จนถึงขณะนี้ผ่านไป 1 ปีกว่าแล้ว มีปัญหามากโดยเฉพาะอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ DWDM ของ ZTE ที่ไม่ผ่านการตรวจรับ ทำให้กสทอาจต้องขึ้นแบล็กลิสต์ ZTE เพราะทำให้โครงการล่าช้าและกสทเสียหายมาก'
       
       ทั้งนี้โครงการเอซอนกสทเซ็นสัญญากับบริษัท มารูเบนิ (ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 17 ก.ย.51 โดยเป็นการใช้อุปกรณ์หลัก DWDM (Dense Wavelength Division Multiplexing) ของ ZTE ตามสัญญากำหนดให้ส่งมอบ 3 ระยะแบ่งเป็น ระยะที่ 1 ต้องส่งมอบอุปกรณ์ทั้งสิ้น 280 สถานี ภายใน 240 วันนับจากวันที่ลงนามในสัญญาหรือภายในวันที่ 15 พ.ค.52 ระยะที่ 2 ต้องส่งมอบอุปกรณ์ 147 สถานี ภายใน 360 วันหรือ 12 ก.ย.52 และระยะที่ 3 ต้องส่งมอบอุปกรณ์ 138 สถานี ภายใน 550 วัน หรือภายใน 22 มี.ค.53
       
       สำหรับความล่าช้าของโครงการจากข้อมูลล่าสุดที่กสทเสนอบอร์ดระบุว่าในเดือนส.ค.53 พบว่าสามารถดำเนินการไปได้ 66.35% และคาดว่าจะดำเนินโครงการทั้งหมดครบถ้วนในเดือนก.ย.53 แต่จนถึงปัจจุบันโครงการก็ยังไม่แล้วเสร็จ โดยพื้นที่ซึ่งติดตั้งอุปกรณ์ได้ล่าช้ามาก อาทิ ในเขตภาคใต้ ดำเนินการได้เพียง 31% เท่านั้น หรือในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ทำได้เพียง 46% โดยในส่วนการติดตั้งอุปกรณ์ของ ZTE หากพูดในภาพรวมจำนวนทั้งสิ้น 565 สถานี สามารถติดตั้งได้เพียง 74.21% เท่านั้น
       
       แหล่งข่าวในกสทกล่าวว่าปัญหาของโครงการเอซอน ยังมีเรื่องคาอยู่ที่ป.ป.ช.ในประเด็นการประกวดราคาไม่โปร่งใส โดยเฉพาะสเปกอุปกรณ์ DWDM (Dense Wavelength Division Multiplexing) เนื่องจากอุปกรณ์ที่ ZTE เสนอเป็นของยี่ห้อ SIENA แล้วโออีเอ็มมาติดยี่ห้อของ ZTE ซึ่งถูกปรับให้ตกสเปกในตอนแรกแล้ว แต่กลายเป็นว่าสามารถผ่านขั้นตอนต่างๆ จนท้ายสุดชนะการประกวดราคา ซึ่งผลเสียจากการใช้อุปกรณ์ที่ตกสเปก ทำให้โครงการเอซอนล่าช้าเป็นอันมาก ซึ่งข้ออ้างหนึ่งของบริษัทคือปัญหาการพาดสายของการไฟฟ้านครหลวง ก็ไม่น่าจะเป็นประเด็นหลัก เพราะปัญหาดังกล่าวกลับไม่เกิดขึ้นกับการไฟฟ้าภูมิภาค แต่ปัญหาที่แท้จริงเกิดกะบอุปกรณ์ของ ZTE มากกว่า
       
       'ความเสียหายของกสทที่เกิดขึ้นคืออุปกรณ์ DWDM ของ SIENA ที่ ZTE เสนอมาไม่ผ่านการตรวจรับ เพราะเครื่องเสียงดังมาก แถมกินไฟเยอะ ทำงานไม่ได้ตามความต้องการที่ระบุในทีโออาร์ ทำให้กสทไม่สามารถตรวจรับได้ ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศ'
       
       แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกตว่าการที่ ZTE เริ่มแผ่อิทธิพลในกสทมากขึ้นเพราะได้รับแรงสนับสนุนจากการประชาธิปัตย์สายใต้ และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีบางคน โดยพฤติกรรมพิสูจน์ได้จากกรณีที่เข้าไปช่วยเคลียร์ปัญหาแรงงานต่างด้าวของ ZTE ในช่วงเดือนส.ค.2553 เจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองได้รับการแจ้งเบาะแสว่ามีคนงานต่างด้าว ผิดกฎหมาย จำนวนมาก กำลังปฏิบัติงานอยู่ในบริษัท ZTE ซึ่งเจ้าหน้าที่จากกองตรวจคนเข้าเมือง จึงเดินทางไปยัง ZTE โดยได้ตรวจสอบหนังสือเดินทางและใบอนุญาตทำงานของพนักงานแซดทีอี ในที่สุดพบว่ามีพนักงานมากกว่า 30 คน กำลังทำงานอยู่ในบริษัทดังกล่าว โดยไม่มี "ใบอนุญาต" ทำงาน ส่วนใหญ่พนักงานเหล่านั้นมีเพียงวีซ่าประเภทท่องเที่ยวเท่านั้น
       
       ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่าพนักงาน ZTE เหล่านั้นฝ่าฝืนกฏหมายประเทศไทยแล้ว ซึ่งต่อมาพนักงานเหล่านั้นได้ถูกนำตัวไปยังสถานีตำรวจเพื่อพิจารณาคดีต่อไป แต่ด้วยความช่วยเหลือของบางคนทำให้พนักงาน ZTEเหล่านั้นได้ถูกปล่อยตัว หลังจากพวกเขาจ่าย 'เงินค่าปรับก้อนโต' ให้แก่กองตรวจคนเข้าเมือง
       
       โดยปกติแล้วเป็นที่ทราบกันดีว่าบริษัทต่างประเทศจะต้องขอใบอนุญาตทำงานให้กับพนักงานที่เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งการกระทำของ ZTE ถือเป็นการจงใจฝ่าฝืนกฏหมายโดยเจตนา ดังนั้นการทำธุรกิจหรือให้ความร่วมมือกับบริษัทเช่นนี้ อาจนำไปสู่ความสุ่มเสี่ยงด้านกฏหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือ อาจส่งผลกระทบถึงชื่อเสียงของบริษัท
       
       'ด้วยความช่วยเหลือจากการเมือง ได้มีการขอแบบดื้อๆ ให้กสท ต้องซื้ออุปกรณ์ ZTE ครึ่งหนึ่งสำหรับการขยายโครงข่าย CDMA ซึ่งหากทำตามความต้องการของที่ปรึกษาคนดังกล่าว ก็จะทำให้เกิดปัญหาการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของเวนเดอร์รายเดิม ซึ่งสุดท้ายความเสียหายก็จะเกิดกับกสท เหมือน อุปกรณ์ ZTE ในโครงการเอซอน'
       
       Company Related Link :
       กสท
       ZTE

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)