Author Topic: อาชญากรไซเบอร์ ขายข้อมูลส่วนบุคคลเริ่มต้น 13 บาท!  (Read 883 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       ผลสำรวจพบการซื้อขายสินค้าออนไลน์เป็นการเปิดช่องให้อาชญากรไซเบอร์ เผยข้อมูลบนบัตรเครดิตถูกซื้อขายในราคาเท่ากับกาแฟแก้วเดียว
       
       ตามผลการสำรวจรายงานการฉ้อโกงออนไลน์ (Online Fraud Report) ฉบับล่าสุดจากทางบริษัท RSA พบว่า สินค้าที่มีการเสนอขายใต้ดิน มีตั้งแต่ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมยมา บริการโฮสติ้งสำหรับเว็บไซต์ผิดกฎหมาย บริการโทรศัพท์ล่อลวง ไปจนถึงชุดสร้างโทรจันเพื่อโจมตีธนาคาร
       
       อภิเชษฐ์ ชัยเพ็ชร ที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีจากบริษัทอาร์เอสเอ หนึ่งในกลุ่มธุรกิจระบบความปลอดภัย บริษัทอีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น กล่าวให้ความเห็นว่า ข้อมูลโจรกรรมที่เป็นที่นิยมในตลาดใต้ดินอย่างเลขบัตรเครดิตพร้อมวันหมดอายุและรหัสยืนยันหลังบัตร (CVV) ถูกซื้อขายกันในตลาดมืดด้วยราคาเท่ากับกาแฟเพียงแก้วเดียว ซึ่งนับว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เจ้าของบัตร ธนาคารและร้านค้าออนไลน์จะได้รับ นี่ยังไม่รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่อาจประเมินมูลค่าความเสียหายได้
       
       
       “นอกจากนี้ิ ในปัจจุบันแนวโน้มการใช้โทรจันในการโจรกรรมและโจมตีธนาคารมากขึ้น จากรายงานจะเห็นว่าอาชญกรไซเบอร์สามารถลงทุนซื้อชุดโทรจันพร้อมโฮสติ้งได้ในราคาที่นับว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับผลที่ได้รับจากการโจมตีแต่ละครั้ง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านเทคโนโลยีเลย”
       
       ตารางแสดงถึงช่วงราคาซื้อขายสินค้าจากตลาดมืดใต้ดิน





     วิธีการง่ายๆ ในการระวังตัวจากภัยร้ายเหล่านี้คือ
       
       1.ในการเข้าใช้งานธนาคารออนไลน์ ให้พิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์เข้าไปบนบราวเซอร์ด้วยตนเอง อย่ากดตามลิงค์จากอีเมล์
       
       2.สังเกตว่าเว็บไซต์เป็นของจริงได้ง่ายๆ โดยดูสัญลักษณ์รูปกุญแจที่บราวเซอร์ทุกครั้ง ปัจจุบันเกือบทุกธนาคารมีการใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แบบ EV ซึ่งสามารถสังเกตสีเขียวบนบราวเซอร์ได้ง่าย
       
       3.พยายามอย่าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่สาธารณะ เช่น อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ หรือเครื่องตามโรงแรมในการทำธุรกรรมธนาคาร
       
       4.หากธนาคารมีการยืนยันตัวตนแบบสองชั้นด้วย SMS ให้สังเกตข้อมูลเลขที่บัญชีและจำนวนเงินใน SMS อย่างละเอียด ก่อนที่จะป้อนรหัสเพื่อยืนยันธุรกรรม พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกธนาคารไม่มีนโยบายส่งอีเมล์ให้ลูกค้าเพื่อขอหรือบังคับให้แก้ไขข้อมูล ดังนั้นหากได้รับอีเมลลักษณะนี้ให้ลบทิ้งได้ทันที
       
       5.ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและทำการปรับปรุงข้อมูลไวรัสใหม่ๆ และทำฟูลสแกนอย่างสม่ำเสมอ
       
       6.หากพยายามเข้าระบบแล้วได้รับแจ้งว่ารหัสผ่านไม่ถูกต้อง ให้สงสัยไว้ก่อนว่าถูกขโมยแอ็กเคาต์และให้ติดต่อธนาคารโดยเร็วที่สุด


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)