Author Topic: แรงงาน-ไอซีทีผนึกกำลังรับรองคนไอที  (Read 955 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

ไอซีที-แรงงาน จัดทำมาตรฐานรับรองอาชีพคนไอที เริ่ม 3 ตำแหน่ง ปูทางเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอาเซียนอีก 5 ปีข้างหน้า

นางเมธินี เทพมณี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เตรียมจัดทำระบบรับรองแรงงานวิชาชีพไอทีระดับอาเซียน รองรับอีก 5 ปีข้างหน้า หรือปี 2558 ที่จะเกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปในบรรดาประเทศสมาชิก ด้วยมาตรฐานความรู้ความสามารถ และค่าแรงที่ยอมรับได้

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะจัดทำระบบการสอบ และออกใบรับรองกลางที่เป็นมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งต้องเริ่มจากการจัดทำมาตรฐานในประเทศก่อน เริ่มด้วย 3 ตำแหน่ง คือ ผู้จัดการโครงการ (โปรเจค แมเนเจอร์) นักวิเคราะห์ระบบ (ซิสเต็ม อนาลิสต์) และผู้ดูแลความปลอดภัยระบบ

"กระทรวงแรงงานจะใช้เวลา 2 เดือน หากมาตรฐานผ่าน ก็จะเสนอเข้าคณะกรรมการมาตรฐานฝีมือแรงงานชุดใหญ่ และต้องมี ก.พ.รับรอง" นางเมธินี กล่าว

นายมนู อรดีดลเชษฐ์ คณะทำงานร่างกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 (ไอซีที 2020) กล่าวว่า แนวทางดำเนินการดังกล่าวจะเป็นเพียงการส่งเสริมสนับสนุนให้สอบใบรับรอง ไม่ได้เป็นข้อบังคับ ซึ่งยังเป็นห่วงอนาคตที่จะมีเอาท์ซอร์สงานไอที แต่ไทยจะไม่มีอำนาจต่อรอง จึงต้องสร้างมาตรฐานขึ้นมา สามารถรับรองได้

"อนาคตยังมีอันตรายจากเว็บเครือข่ายสังคม (โซเชียล เว็บ) ที่จะมีคนทำงานจากโซเชียล เว็บ มีเฮด ฮันเตอร์บนเว็บ ก็จะเลือกบุคลากรไอทีจากประเทศอื่น ยกเว้นถ้าไทยมีเซอร์ติฟิเคต ก็จะสร้างความมั่นใจได้มากขึ้น ถือเป็นการเตรียมพร้อมรับมือตลาด ซึ่งทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์เหมือนกัน ต้องสร้างมาตรฐานที่ยอมรับ และมีรัฐบาลรับรอง" นายมนู กล่าว

ส่วนร่างกรอบนโยบายไอซีที 2020 ที่กระทรวงไอซีที มอบหมายศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัดทำเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาไอซีทีของไทยในระยะเวลา 10 ปีนั้น ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือน มิ.ย.2552 มีกำหนดเสร็จภายในเดือน ส.ค.2553 ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์หลัก คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารแห่งอนาคต ไอซีทีเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทุนมนุษย์ไอซีทีสำหรับปี 2020 การพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีที ไอซีทีเพื่อการให้บริการของภาครัฐ ไอซีทีเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม และไอซีทีเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ที่มา: bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)