Author Topic: อาการคัน ปัญหาผิวในผู้ป่วยโรคไต  (Read 174 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline siritidaporn

  • Pro Member
  • *
  • Posts: 776
  • Karma: +0/-0

อาการคัน ปัญหาผิวในผู้ป่วยโรคไต

50% ของผู้ที่เป็นโรคไต จะมีอาการทางผิวหนังอย่างน้อย 1 ชนิด โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ผิวแห้งและคัน

วิธีการดูแลผิว

1. ทาครีมที่ให้ความชุ่มชื้นหรือมอยส์เจอร์ไรเซอร์ ควรเป็นมอยส์เจอร์ไรเซอร์เนื้อหนักที่ให้ความชุ่มชื้นยาวนานคงอยู่ 24 ชั่วโมง ในบางกรณีที่อาการคันรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่สนิท อาการเหล่านี้บ่งชี้ให้มาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ และจัดมอยส์เจอร์ไรเซอร์ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย

2. หลีกเลี่ยงแสงแดด ใส่เสื้อแขนยาว สวมหมวก กางร่ม และทาครีมกันแดดที่มีค่าป้องกัน UVA UVB

3. หลีกเลี่ยงการใช้ครีมทาผิวที่มีกลิ่นหอมฉุนมากเกินไป ครีมที่ทำให้ผิวขาวและครีมลดรอยเหี่ยวย่น

4. ไม่ควรซื้อยาแก้คัน หรือยาสมุนไพรมารับประทานเอง ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

5. การดูแลผิวสำหรับผู้ป่วยโรคไตรูปแบบอื่นๆ

ยาต้านฮีสตามีน ในผู้ป่วยบางรายมีอาการคันมาก อาจได้รับยาเพื่อช่วยลดอาการคัน
ฉายแสงอาทิตย์เทียม มีความปลอดภัยสูง ลดอาการคันได้ดีที่สุด แต่ข้อเสียคือต้องมาทำที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ และอาจใช้เวลาหลายเดือนจนกว่าจะหายสนิท

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันในผู้ป่วยโรคไต

ต่อมเหงื่อลดลง และต่อมไขมันฝ่อ เกิดจากโรคไตหรือการกินยาขับปัสสาวะ พบได้บ่อยถึง 60 – 90% ทำให้มีการขับเหงื่อลดลง ความชุ่มชื้นบนผิวจึงลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะผิวแห้ง มีลักษณะเป็นขุย ระคายเคือง และเกิดอาการคัน
ฟอสฟอรัสในเลือดสูง ซึ่งผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับออกทางไตได้ ส่งผลให้ระดับแคลเซียมต่ำ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์หลั่งออกมามากกว่าปกติ และเกิดการสะสมตัวของผลึกแคลเซียมและแมกนีเซียมบริเวณผิวหนัง จึงทำให้เกิดอาการคัน
การฟอกไต ทั้งการฟอกไตที่ไม่เพียงพอ หรือการฟอกไตบ่อยอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับภาวะของเสียคั่งของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการคันตามมา นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการแพ้ไส้กรองล้างไต
กลไกทางระบบภูมิคุ้มกัน เกิดภาวะอักเสบทั่วร่างกายจากการเพิ่มขึ้นของเซลล์บางชนิด ซึ่งทำให้เกิดอาการคันทั่วร่างกาย
ระบบประสาทส่วนปลายทำงานผิดปกติ จึงทำให้เส้นประสาทที่มาเลี้ยงผิวหนังทำงานผิดปกติ นำไปสู่อาการคัน




 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)