Author Topic: กสท.รับวางเงิน10%ไม่ทันประมูลไลเซ่นส์3จี  (Read 769 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง

กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ยอมรับวางเงิน10% จากมูลค่าประมูลไลเซ่นส์3จี 12,800 ล้านบาท ไม่ทัน และยังไม่ถอยประมูล ระบุหากประมูลต้องร่วมมือเอกชน...

นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ส่งข้อสรุปไม่พบความเสียหายจากการปรับแก้ไขสัญญาสัมปทาน กรณีการขยายอายุสัญญาสัมปทานให้แก่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค บริษัท ทรูมูฟ จำกัด การเปิดโรมมิ่งให้แก่บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี และการปรับลดส่วนแบ่งรายได้ของโทรศัพท์มือถือในระบบพรีเพด (เติมเงิน)

ส่วนแนวทางที่ได้เสนอให้ไอซีทีพิจารณา คือ การแก้ไขสัญญาที่ไม่ถูกต้องก็ให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขณะเดียวกัน กสท จะพิจารณาเงื่อนไขของสัญญาสัมปทานอีกครั้ง เพื่อดูว่าสัญญาใดที่ยัง ไม่ชัดเจนก็อาจจะเข้าไปแก้ไขเพื่อให้มีความถูกต้องมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อสรุปและแนวทางดังกล่าวเป็นของ กสท ที่ไม่ได้มาจากคณะกรรมการตามมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงานหรือดำเนินในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน

ทั้งนี้ เนื่องจากคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดดังกล่าวอยู่ระหว่างการตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ใหม่ อีกครั้งในสมัย (บอร์ด)ชุดที่มีนายนัที เปรมรัศมี ประธาน แต่ในระหว่างนั้นอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ทำให้บอร์ดบางท่านได้ลาออกไปก่อนจึงทำให้การแต่งตั้งยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ในขณะที่ นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.ไอซีที ต้องการให้สรุปผลความเสียหายโดยกำหนดให้ส่งรายงานจากการแก้ไขสัมปทาน ในวันที่ 7 ก.ค.2553 ที่ผ่านมา

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสทฯ กล่าวต่อว่า คาดการณ์ว่าประมาณสัปดาห์หน้าจะแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรา 22 ชุด ใหม่ขึ้นมา โดย กสท ก็จะส่งผลสรุปดังกล่าวไปยังคณะกรรมการฯชุดใหม่ เพื่อให้เป็นข้อมูลในการพิจารณาควบคู่กันไป แต่ผลสรุปจากคณะกรรมการฯอาจจะไม่ตรงกับกสทก็ได้

รายงานข่าวแจ้งว่า สมัยที่ ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็น รมว.ไอซีที นั้น กสท ได้สรุปมูลค่าความเสียหายที่เป็นผลสืบเนื่องจาก คำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีการปรับลดค่าโรมมิ่ง จากนาทีละ 2.10 บาท เหลือนาทีละ 1.00-1.10 บาท ให้กับบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส พบมูลค่าเสียหายอยู่ที่ 600 ล้านบาท โดยมูลค่าดังกล่าวยังไม่รวมกับการแปลงสัญญาสัมปทานไปเป็นภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม

นายจิรายุทธ กล่าวอีกว่า บริษัทยังคงให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต หรือ ไลเซ่น 3จีบน คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตช ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. โดยขณะนี้ กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าประมูล คือ ต้องดูกฎกติกาและเงื่อนไข หากกสท จะร่วมประมูลควรทำในรูปแบบใด และถ้าได้ไลเซ่นแล้วจะดำเนินธุรกิจรูปแบบใด ทั้งนี้ ประเด็นเหล่านี้ฝ่ายบริหารจะนำเสนอบอร์ดต่อไป

อย่างไรก็ตาม มองว่าการเข้าร่วมประมูลไลเซ่น 3 จี ของ กสท อาจเป็นในรูปแบบการร่วมมือกับพันธมิตร ขณะเดียวกัน กำลังพิจารณาผู้ประกอบการต่างชาติ เอกชนในประเทศ รวมทั้ง คู่สัญญาสัมปทาน เพราะการเปิดประมูลไลเซ่นในช่วงเดือน ก.ย.2553 หากกสท จะเข้าประมูลด้วยตัวเอง คงดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ผ่านความเห็นชอบจากครม. การวางเงินประกันการประมูล 10% ของราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 12,800 ล้านบาท คงไม่ทันแน่นอน

ที่มา: thairath.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)