Author Topic: โอเพ่นซอร์ส...อ่อนไหวต่อแรงสะกิด  (Read 782 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


ล้มลุกคลุกคลานกันมาน่าดูสำหรับ "โอเพ่นซอร์ส" ไทย บางจังหวะดูเหมือนจะเกิดความตื่นตัว แต่พอเกิดเหตุกระทบกระเทือนแม้เพียงน้อยก็ซวดเซได้ทันใด

ล้มลุกคลุกคลานกันมาน่าดูสำหรับสถานการณ์ "โอเพ่นซอร์ส" ของไทย บางจังหวะดูเหมือนจะเกิดความตื่นตัวไปทั่วทั้งวงการผู้ใช้ ผู้พัฒนา ผู้สนับสนุนอย่างหน่วยงานรัฐ แต่พอเกิดเหตุกระทบกระเทือนแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลให้ซวดเซไปทันใด

ล่าสุด กรณีนิตยสารไอทีฉบับหนึ่งเขียนถึง "21 บั๊ก" ที่พบในโอเพ่นออฟฟิศ ก็เกิดการโต้แย้งกันอย่างมากมาย กว้างขวาง โดยเฉพาะบนโลกไซเบอร์ด้วยประเด็นที่ว่า บางเรื่องก็ไม่ใช่บั๊กจริง บางสิ่งเป็นลำดับขั้นการพัฒนา บั๊กจริงก็มีอยู่บ้างซึ่งต้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกันไป และแม้แต่ซอฟต์แวร์ไลเซ่นก็มีบั๊ก

ช่วงเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา แฟนพันธุ์แท้โอเพ่นซอร์ส และผู้ประกอบการดูจะเจ็บช้ำน้ำใจ เหนื่อยไม่รู้จบ ด้วยเหตุผู้บริหารของหน่วยงานผู้ใช้เกิดความกังวลว่า ใช้โอเพ่นซอร์สแล้วจะทำให้งานในองค์กรชะงักงันไปหรืออย่างไร ควรจะลงทุนโอเพ่นซอร์ส หรือกลับไปใช้ซอฟต์แวร์ไลเซ่นเดิมๆ ซึ่งการซื้อการลงทุนใหม่ๆ เรียกว่า ปิดประตูไปได้เลย

นานาอุปสรรคถล่ม
"ปัญหาที่เกิดขึ้นกระเทือนต่อลูกค้าองค์กร แต่โครงการอีโคโลนักซ์ ซึ่งติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีให้ลูกค้าไม่กระเทือนเท่าไร ได้รับข้อมูลมาว่า ลูกค้ารายใหม่ไม่ตัดสินใจซื้อ เกิดความลังเล ผู้ใช้เดิมก็มีคำถาม หากก็ยังมีองค์กรใหญ่ๆ ที่มั่นใจ" วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ผู้ฟูมฟัก "โอเพ่นซอร์สมาเฉียด 20 ปี "ตั้งแต่ลูกสาวคนเล็กผมยังไม่เกิด จนตอนนี้อยู่มหาวิทยาลัยปี 2 แล้ว" เล่า

เขาบอกด้วยว่า หน่อของโอเพ่นซอร์สยังเล็กมาก แม้จะมีกิจกรรมมาหลายปี แต่ก็ยังไม่ไปถึงไหน ระหว่างทางมีอุปสรรคขวากหนามตลอดมา หากเขาก็มีความสุข และภูมิใจที่สามารถสนองความต้องการซอฟต์แวร์ของตัวเอง

เขา พูดได้เห็นภาพว่า จากอดีตต้องงอนง้อบริษัทใหญ่ๆ พอสมควร เพราะเห็นว่า ตลาดไทยเล็กเกินกว่าจะเข้ามาปรับซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของตลาด แต่โอเพ่นซอร์สทำให้ทำเองได้

พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า แต่ละซอฟต์แวร์จะมีธรรมชาติของตัวเอง มีข้อจำกัด มีบั๊กบางอย่าง กระทั่งซอฟต์แวร์ค่ายใหญ่ที่ต้องเสียเงินสูงๆ ซื้อมาก็มี หากโอเพ่นซอร์สยังโดนกระหน่ำจากการล็อบบี้ของค่ายใหญ่ ถึงอุปสรรคการใช้งาน การหาบุคลากรที่เหมาะสมมาดูแล แก้ไขปัญหาไม่ได้

อย่างไรก็ตาม เขาหวังว่า ในอนาคตอันใกล้จะเกิดความร่วมมือระหว่างผู้ใช้งาน และผู้พัฒนาให้แก้ไขได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ การประชุมหน่วยงานผู้ใช้ขนาดใหญ่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (24 มิ.ย.) ได้ตกลงกันว่า จะหางบประมาณมาสนับสนุน และสร้างความมั่นใจ ปรับปรุงโอเพ่น ออฟฟิศ ให้ดีขึ้นถึงระดับใช้งานได้สะดวก มีทั้งการเคหะแห่งชาติ (กคช.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท เอส แอนด์ พี ชินดิเคท จำกัด (มหาชน) เครือปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งเบื้องต้น กฟผ. รับไปหางบประมาณช่วง 4-5 เดือนที่เหลือประมาณ 4-5 แสนบาทมาปรับแก้บั๊ก โดยเนคเทคจะเป็นตัวกลางหาผู้มีส่วนร่วม

"อยากให้พัฒนา และแตกไลน์ในประเทศ ซึ่งดูอยู่หลายแพลตฟอร์ม แต่ความแพร่หลายของโอเพ่นซอร์สอาจไม่มาก ขอเพียงเกิดนักพัฒนา และปรับแต่งได้เองและเร็ว โอเพ่นซอร์สอายุไม่ยืน ไลฟ์ไซเคิลสั้น เปลี่ยนเวอร์ชั่นก็อาจเปลี่ยนโค้ดเลย จะเหนื่อยต่อการดูแล และการจะได้งบประมาณ หรือไม่ได้ ก็ยังไม่แน่นอน จากที่ของบไทยเข้มแข็งไป เนคเทคต้องดูความเหมาะสม และหาโมเดลที่ยั่งยืนของแนวทางสนับสนุน รวมทั้งงบประมาณ"

กฟผ. ยันทุกซอฟต์แวร์มีปัญหา
มาฟังเสียงผู้ใช้รายใหญ่อย่าง กฟผ. กันบ้าง "พิสิษฐ์ อิงคะสุวรรณ์" ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ บอกว่า กฟผ. ใช้โอเพ่นซอร์สมาตั้งแต่ปี 2549 ด้วยนโยบายพัฒนาโดยระบบเปิด ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ใดๆ ปัจจุบันพีซี 1 หมื่นเครื่องใช้งานไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 30% โอเพ่นออฟฟิศ 70%

"เมื่อมีข่าวออกมา ก็เทียบได้ระหว่างรู้กับไม่รู้ เหมือนการใช้ไฟ มีใช้กับไม่มีใช้ เลือกอย่างไหน เพราะไฟก็มีทั้งคุณและโทษ ที่ กฟผ. แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ผู้บริหาร ผู้ใช้ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ผู้บริหารเป็นกลุ่มผู้ใช้ไม่ใช่ผู้ผลิต พอเห็นข่าวก็สอบถามมา ซึ่งได้ชี้แจงไปก็หมดปัญหา ไม่ทำให้การใช้โอเพ่นซอร์สหยุดชะงักใดๆ ที่นี่เราเตรียมความพร้อมมานาน มีกระบวนการรองรับ ก่อนใช้เราศึกษารู้ว่าตรงไหนเป็นจุดอ่อน เราก็ปิดซะ เราอบรมการใช้งานทุกปี ใช้ซอฟต์แวร์ไลเซ่นก็ต้องอบรมทุกปีเช่นกัน"

ทั้งนี้ การเลือกใช้งานของ กฟผ. มีทั้งของแพง ของถูก การใช้โอเพ่นออฟฟิศไม่ใช่ของฟรีทั้งหมด แต่เป็นการให้อิสระแก่ระบบ สิ่งที่ได้เป็นการสร้างขึ้น ไม่ใช่ซื้อ หรือจ่ายเงินเพื่อได้มา และยังลดค่าบำรุงรักษาที่สูงขึ้นทุกวัน ทั้งเมื่อเป็นของตัวเองจะนำไปให้ใครใช้ก็ทำได้

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้งานซอฟต์แวร์ใดๆ ของ กฟผ. ขึ้นกับความจำเป็นต้องใช้ ผ่านการศึกษาว่างานใดจำเป็น และพัฒนาบุคลากรให้รู้จักเลือกของที่เหมาะสม ซึ่งจะประหยัดงบประมาณลงได้

"โอเพ่นซอร์ส ใช้กันทั้งองค์กร เริ่มจากเทรนคน ใครจำเป็นต้องใช้มาก หรือน้อย ใช้บางอย่าง ใช้ร่วมกับคนอื่น ไม่ใช่อ้างไม่สะดวก เพราะฝึกกันได้ สอนให้รู้ค่า คนรุ่นใหม่มีจิตสำนึก ไม่เลือกตามกระแส แต่ตามความเป็นจริง"

ยืนยันหนุนโอเพ่นซอร์ส
นายวิโรจน์ อัศวรังสี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิแอสไพเรอร์ส กรุ๊ป จำกัด เจ้าของลิขสิทธิ์การพิมพ์นิตยสารพีซีเวิลด์ฉบับภาษาไทย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่ร่วมโปรโมตโอเพ่นซอร์สมามากกว่า 10 ปี และในบริษัทก็แนะนำ แกมบังคับพนักงานใช้โอเพ่นซอร์ส โอเพ่น ออฟฟิศ ขอให้ก้าวข้ามปัญหา และมองไปข้างหน้าที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้น เพราะเป็นซอฟต์แวร์ของมหาชน มีผู้ใช้จำนวนมาก

"เราเป็นแบ็คอัพโอเพ่นซอร์สมายาว และเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อน เสียงวิจารณ์ที่ว่าแรงไป ก็พร้อมรับฟัง หากมีข่าวดีก็ขอให้เราเป็นช่องทาง และทำอย่างไรจะลดซอฟต์แวร์เถื่อนให้เหลือน้อยกว่า 75% ขอเป็นกลไกของซิป้า และเนคเทค ทำให้ไทยมีศักดิ์ศรียืนบนเวทีโลก"

ที่มา: bangkokbiznews.com


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)