Author Topic: Skyscanner แอปค้นหาตั๋วเครื่องบิน ยอดผู้ใช้คนไทยทะลุ 1 ล้านคนต่อเดือน  (Read 1286 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


นางสาวเกรซ ภพปภา อารีรัตน์ ผู้จัดการพัฒนาตลาดประเทศไทยของ Skyscanner

      ผู้ให้บริการเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันค้นหาตั๋วเครื่องบิน โรงแรมที่พัก และรถเช่า “สกายสแกนเนอร์ (Skyscanner)” เผยยอดผู้ใช้บริการในประเทศไทยมีประมาณ 1 ล้านคนต่อเดือน ระบุพฤติกรรมผู้ใช้บริการในประเทศไทย 60-70% ใช้บริการภาษาไทยโดยส่วนใหญ่ค้นหาข้อมูลการเดินทางในประเทศ ด้านรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุกปีตั้งแต่เข้ามาเปิดตัวในประเทศไทย ล่าสุด เปิดผล “รายงานการเดินทางในอนาคต” (Future of Travel Report) ในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนว่าเทคโนโลยี และวิธีการเดินทางจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ เบื้องต้นยังอุบแผนพัฒนาโครงการใหม่ที่จะบุกเฉพาะตลาดไทยในอนาคต
       
       น.ส.เกรซ ภพปภา อารีรัตน์ ผู้จัดการพัฒนาตลาดประเทศไทยของ Skyscanner กล่าวว่า หลังจากบริษัทเปิดให้บริการในประเทศไทยนานกว่า 3 ปี รายได้ของบริษัทก็เพิ่มขึ้นเท่าตัวทุกปีตั้งแต่เข้ามาเปิดตัวในประเทศไทย โดยจำนวนผู้เข้าใช้บริการในประเทศไทยเฉลี่ยที่ประมาณ 1 ล้านคนต่อเดือน ซึ่งเน้นค้นหาข้อมูลตั๋วเครื่องบิน โรงแรม และรถเช่า โดยในอนาคตจะขยายมาให้บริการข้อมูลที่เหมาะต่อประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
       
       “ผู้ใช้บริการในประเทศไทย 60-70% ใช้บริการเป็นภาษาไทย โดยปัจจุบัน Skyscanner รองรับภาษามากกว่า 30 กว่าภาษา ข้อมูลเรามีการปรับปรุง หรือรีเฟซทุก 15 นาที จุดเด่นของเราคือมีข้อมูลการเดินทางที่ครอบคลุมทั่วโลก ครอบคลุมหลายพันสายการบิน ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลการเดินทางได้ทั้งปี ไม่จำเป็นต้องระบุวันเดินทางก็ได้ ทำให้สามารถวางแผนการเดินทางที่คุ้มค่าที่สุด สะดวกที่สุดได้”
       
       Skyscanner นั้นเรียกตัวเองเป็นเสิร์ชเอนจินค้นหาตั๋วเครื่องบิน โรงแรมที่พัก และรถเช่าสัญชาติอังกฤษที่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลออนไลน์ได้ทันที ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2546 ปัจจุบัน Skyscanner มีผู้เข้าชมถึง 25 ล้านคนทั่วโลกต่อเดือนผ่านทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ นอกจากการรองรับ 30 ภาษา Skyscanner ยังรองรับค่าเงิน 70 สกุลเงิน โดยเฉพาะแอปพลิเคชันนั้นมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 30 ล้านครั้ง ขณะที่รายได้หลักของบริษัทมาจากพันธมิตรสายการบิน
       
       ความสามารถหลักที่ Skyscanner เชื่อว่าเป็นกุญแจสำคัญที่โกยความนิยมจากนักเดินทาง คือ การสามารถค้นหาตั๋วเครื่องบินโดยระบุต้นทาง แต่ไม่ต้องระบุสนามบินปลายทางได้ จุดนี้ผู้ใช้สามารถค้นหาตั๋วเครื่องบินตามพื้นที่ประเทศ ซึ่งทำให้ระบบสามารถแสดงราคาเริ่มต้นในการเดินทางไปประเทศนั้นๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผนการเดินทางได้อย่างยืดหยุ่นกว่าเดิม
       
       ล่าสุด Skyscanner เปิดตัวรายงานวิจัยการเดินทางในอนาคตแก่ผู้ใช้ในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า Future of Travel Report โดยระบุว่า เป็นการวิจัยในเชิงลึก และการสัมภาษณ์กับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเทคโนโลยี นักอนาคตศาสตร์ รวมถึงนายกาเร็ธ วิลเลียมส์ ประธานบริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง Skyscanner ส่วนหนึ่งที่ Skyscanner สรุปได้จากงานวิจัยว่านักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสผ่านเทคโนโลยีใดในอีก 10 ปีข้างหน้า คือ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือสวมใส่ติดตัว ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตั้งแต่ Google Glass ที่เพิ่งเปิดตัวจนถึงอุปกรณ์มือถือขนาดเล็กที่สามารถบรรจุลงบนคอนแทกต์เลนส์พอดี เพื่อให้บริการการแปลได้ทันที ทำให้ผู้ใช้หมดอุปสรรคและข้อวิตกกังวลด้านความแตกต่างทางภาษา
       
       อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ในประเทศไทยจะสามารถติดตามข้อมูลรายงานวิจัยได้เพียง 2 ส่วนในขณะนี้ นั่นคือ ส่วนวางแผนการเดินทาง และการจอง และส่วนบันทึกการเดินทาง โดยส่วนจุดหมายปลายทาง และโรงแรมจะพร้อมให้บริการในเดือนตุลาคมนี้
       
       “หนึ่งในผลสำรวจน่าสนใจคือ จากที่นักเดินทางทั่วโลกมองว่าสนามบินคือจุดแวะผ่าน แต่ขณะนี้นักเดินทางมองว่าสนามบินควรเป็นสถานที่มอบความเพลิดเพลิน กลุ่มตัวอย่างบอกว่าอยากเห็นโรงภาพยนตร์ในสนามบินเป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นสระว่ายน้ำ”
       
       แม้ Skyscanner จะการันตีว่ามีความร่วมมือกับเกือบทุกสายการบินในยุโรป แต่ในประเทศไทย Skyscanner ระบุว่ามีพันธมิตรสายการบินในประเทศคือ บางกอกแอร์เวย์ส เท่านั้น ยังไม่รวมผู้ให้บริการที่ได้รับความนิยมอย่างนกแอร์ หรือแอร์เอเชีย ซึ่งในอนาคต Skyscanner จะร่วมกับโลคอลแอร์ไลน์ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
       
       Company Related Link :
       Skyscanner

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)