Author Topic: 'ไมโครซอฟท์' เร่งรณรงค์ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ปลดล็อกประเทศเฝ้าระวัง  (Read 1423 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     ไมโครซอฟท์ เผยผลสำรวจความเสียหายล่าสุดจากการใช้งานซอฟต์แวร์ระเมิดลิขสิทธิ์พบพีซี 20 เครื่องจากไทยที่ถูกสำรวจมีอัตราการติดมัลแวร์สูง 84% พร้อมเร่งรณรงค์ผู้บริโภคเรียกหาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ขณะเลือกซื้อพีซี
       
       นายแมทเทียว มิลล์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ บริษัท ไมโครซอฟท์ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยถึง รายงานล่าสุดจากทางบริษัทวิจัยไอดีซี ที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ที่มีการสำรวจตลาดพีซีจากกลุ่มตัวอย่าง 203 เครื่อง ใน 11 ประเทศ ที่มีการติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ 61% มีมัลแวร์ติดมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น โทรจัน (Trojans) เวิร์ม (worms) ไวรัส (virus) แฮคทูลส์ (hacktools) รูทคิท (rootkit) และแอดแวร์ (adware) ที่สำคัญพีซี 20 เครื่องจากประเทศไทยที่ถูกตรวจสอบนั้น พบว่าอัตราการติดมัลแวร์มากับเครื่องมีมากถึง 84%
       
       "ในระดับองค์กรธุรกิจทั่วโลกจะสูญเสียเงินราว 1.27 แสนล้าน ไปกับการจัดการด้านระบบความปลอดภัย และอีก 3.64 แสน้ลานเหรียญในการแก้ปัญหาข้อมูลสำคัญ ขณะที่ในกลุ่มคอนซูเมอร์ทั่วโลกจะใช้เงินราว 2.5 หมื่นล้านเหรียญในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และสูญเสียเวลากว่า 1,200 ล้านชั่วโมงเพื่อจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น"
       
       ในจุดนี้ไมโครซอฟท์มองว่า ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากร้านค้า และแบรนด์ผู้ผลิตสินค้าไอทีหลายรายเลือกที่วางจำหน่ายพีซีแบบเครื่องเปล่า ที่ไม่ได้มาพร้อมระบบปฏิบัติการ ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเลือกที่จะซื้อเครื่องแบบไม่มีระบบปฏิบัติการแทน และมักจะมีข้อเสนอให้แก่ผู้บริโภคในการนำเครื่องไปลงซอฟต์แวร์เถื่อน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านมัลแวร์ได้ ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ทำได้ง่ายๆคือ เลือกซื้อโน้ตบุ๊กที่มาพร้อมซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์
       
       นอกจากนี้ภายในการศึกษาที่มีหัวข้อว่า “ความเกี่ยวข้องระหว่างซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์และการละเมิดระบบความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์” (“The Link Between Pirated Software and Cybersecurity Breaches” ) เผยให้เห็นว่า 60% ของผู้บริโภคที่ร่วมในการสำรวจ ระบุว่า สิ่งที่กลัวที่สุดคือการสูญเสียไฟล์ หรือข้อมูลส่วนตัว รองลงมาคือการลักลอบทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต 51% และการลักลอบเข้าอีเมล เครือข่ายสังคมออนไลน์ และบัญชีธนาคาร 50%
       
       แต่ทั้งนี้ ยังพบว่า การใช้งานพีซีของผู้บริโภคจากตัวอย่างการสำรวจพีซี 951 เครื่องพบว่า 43% ของปัญหาด้านการปลอดภัยจะมาจากที่ผู้บริโภคไม่ทำการอัปเดตซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทำให้ตัวเครื่องไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ได้
       
       ขณะที่ในมุมของเจ้าหน้าที่รัฐในประเทศต่างๆ กังวลเรื่องการสูญเสียความลับทางการค้าและข้อมูลการแข่งขันทางธุรกิจมากที่สุด 59% รองลงมาคือการลักลอบเข้าถึงข้อมูลลับของรัฐบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต 55% และการโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบสาธารณูปโภคสำคัญของประเทศ 55% ทั้งนี้ มีการประมาณการว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆ อาจสูญเงินกว่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมัลแวร์ที่มาจากซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
       
       นางสาวกฤติยา เอี่ยมศิริ ผู้จัดการฝ่ายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สิ่งที่ไมโครซอฟต์ทำได้คือการร่วมมือกับภาครัฐ อย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อนำส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินงาน รวมไปถึงออกแคมเปญรณรงค์การใช้งานซฮฟต์แวร์ลิขสิทธิ์กับผู้บริโภค
       
       "ที่ผ่านมาประเทศไทยถือเป็น 1 ในประเทศเฝ้าระวังเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่แล้ว ซึ่งจากการดำเนินการร่วมกับภาครัฐในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็คาดว่าไทยจะหลุดจากประเทศเฝ้าระวัง แต่ก็ยังไม่สามารถ ทำให้ในปีนี้ก็ต้องพยายามกันใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจของประเทศ"
       
       Company Relate Link :
       Microsoft

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)