Author Topic: แจงปัญหาบั๊ก โอเพนออฟฟิศ กล่าวหาเกินจริง  (Read 756 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


บก.บห.โอเพนซอร์สทูเดย์ ระบุ ข้อมูลของพีซีเวิล์ดเกี่ยวกับ 21 Bug ผิดพลาดเหมือนดิสเครดิต ชี้ ซอฟต์แวร์ทุกตัวมีบั๊ก แต่ความผิดพลาดบางข้อนั้นไม่ใช่ ย้ำโอเพนซอร์สรัฐต้องสนับสนุน ให้เป็นซอฟต์แวร์ของชาติ...

จากก่อนหน้านี้ที่ไทยรัฐออนไลน์ได้เสนอข่าว นิตยสาร PC World Thailand ได้เปิดเผยผลการทดสอบชุดโปรแกรม OpenOffice 3.2 โดยมีการพบ Bug อันตรายทีอาจทำให้ผู้ใช้งานและองค์กรได้รับความเสียหายจากกรณีข้อมูลสูญหาย หรือถูกเปลียนแปลงโดยไม่รู้ตัว และอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากองค์กรทีใช้งาน OpenOffice โดยเฉพาะภาครัฐฯ ทีได้รับการผลักดันให้ใช้งานมากขึ้นในปัจจุบัน โดยล่าสุดกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ได้ออกมาโต้แย้งถึงผลการทดสอบดังกล่าวแล้ว

นายภาณุภณ พสุชัยสกุล บรรณาธิการบริหาร และผู้ก่อตั้งนิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ดอทคอม ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็น 21 Bug บนชุดโปรแกรม Open office ว่า จากการที่มีนิตยสารพีซีเวิล์ด ประเทศไทย ทำบทความออกมาในรูปแบบเชิงโจมตีการทำงานของ Open Office.org ก็พบว่า 21 Bug ดังกล่าวนั้นมีทั้งจริงและความเข้าใจผิดเอามากๆ ในการทำงานและการใช้งาน การที่บอกว่า Bug ถึงขั้นรุนแรงขนาดเกิดการสูญเสียของข้อมูลทำให้ผู้ที่ไม่เคยใช้งาน Open Office มาก่อนเกิดการลังเล สงสัยว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือไม่

บก.บห.โอเพนซอร์สทูเดย์ ให้ความเห็นส่วนตัวถึงปัญหาบั๊กบนโปรแกรม Open Office ว่า จากการที่ได้ใช้งาน OpenOffice มาก็พบว่าหลายๆ ประเด็นที่ออกมาโจมตีนั้น เกิดจากความไม่รู้และความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างมาก ต้องบอกว่าเรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย ถ้าหากนิตยสารฉบับนั้นเป็นนิตยสารที่ไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรมากนัก แต่กับเป็นนิตยสารที่มีความน่าเชื่อถือในวงการคอมพิวเตอร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีผู้สนับสนุนมากมาย พิมพ์ด้วยสี่สีสวยงาม แต่มีข้อมูลที่ผิดพลาดเอามากๆ เหมือนจงใจที่จะทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์โอเพนออฟฟิศ และโอเพนซอร์สในตัวอื่นๆ อีกในอนาคต

นายภาณุภณ อธิบายต่อว่า จากที่อ่านในช่วงแรกๆ นั้นดูเหมือนว่าน่าจะเกิดความเข้าใจที่ผิดในเรื่องของการสนับสนุนจากทางภาครัฐจริงๆ แล้วภาครัฐเองไม่ค่อยได้ทุ่มเงินงบประมาณมาในส่วนของโอเพนซอร์สสักเท่าไร และไม่ได้เยอะขนาดเป็น10 ล้านบาท โอเพนซอร์สหลายๆ อย่างเกิดจากการต่อยอดของนักวิจัยไทย บางตัวเกิดจากบริษัทเอกชนที่เห็นช่องทางในการประกอบอาชีพก็หันมาพัฒนาต่อยอดซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และมีรายได้จากการให้บริการประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องการลดต้นทุนการนำเข้าซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ

“ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีการละเมิดลิขสิทธิ์สูงถึง 75% จากการเปิดเผยของ BSA เมื่อเดือน พ.ค.2553 ที่ผ่านมา นั่นทำให้เห็นว่าการใช้งานโอเพนซอร์สนั้นมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วประเทศมากกว่า 22 ล้านเครื่อง ตัวเลขนี้แค่เป็นตัวเลขปริมาณผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ก็ทำให้เห็นว่าตัวเลขของการละเมิดลิขสิทธิ์ที่สูงถึง 75% เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย ไม่ว่าจะซื้อจากแผง หรือ โหลดจากบิททอเรนต์ แต่ไม่ได้มาจากการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ภาครัฐเองก็เห็นถึงปัญหานี้เพราะที่ประเทศไทยเราถูกมองข้ามการลงทุนในธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เพราะปัญหาการทำซ้ำที่ผิดกฏหมาย การละเมิดลิขสิทธิ์ที่รุนแรง” บก.บห.โอเพนซอร์สทูเดย์ กล่าว

นายภาณุภณ อธิบายเสริมว่า ขณะนี้ ประเทศไทยขาดแคลนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ มีแต่นัก “Copy and Paste” เยาวชนที่จบออกมา ไม่ค่อยมีใครทำงานในธุรกิจซอฟต์แวร์ ในวงการโอเพนซอร์สเองก็ขาดบุคลากรอย่างรุนแรง ปัญหาของซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่คนไทยต้องแก้ไขเอง แต่ใครจะทำเพราะโปรแกรมเมอร์ก็ต้องกินต้องใช้ มีค่าบ้าน มีค่าเช่า บางคนก็ใช้เวลาหลังเลิกงานมาทำให้ซอฟต์แวร์เหล่านั้นรองรับภาษาไทย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภาครัฐต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน แต่ทุนที่สนับสนุนก็น้อยลงทุกปี และสิ่งที่ได้กลับไปก็ คือ ซอฟต์แวร์ที่เป็นของทุกคนที่เป็นคนไทย และทั่วโลกก็ได้ใช้งาน ภาษีที่ประชาชนที่จ่ายให้รัฐ ก็ทำให้ได้ประโยชน์กลับไปทั้งภาคเอกชน ตั้งแต่บริษัทขนาดเล็กและบริษัทขนาดใหญ่ รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนองค์กรของรัฐ

บก.บห.โอเพนซอร์สทูเดย์ อธิบายอีกว่า ประเด็นซอฟต์แวร์มีบั๊กจริง แต่ที่แสดงออกมาบางอย่างไม่ใช่บั๊ก นักคอมพิวเตอร์ทุกคนตลอดจนผู้ใช้งานรู้กันอยู่ว่า ไม่มีซอฟต์แวร์อะไรที่ไม่มีบั๊กแต่การแยกบั๊กกับเรื่องการใช้งานไม่ถูกวิธี ควรจะต้องแยกกันให้ออก หรือ บางครั้งการใช้งานผิดประเภทของซอฟต์แวร์ก็มักจะมีให้เห็นกันอยู่มากมาย ผมก็เพิ่งจะเห็นว่าการเปิดโปรแกรมช้านี่ก็เป็นบั๊กด้วย หรือบางคนจากแทรกภาพลงไปในเอกสารกลับใช้วิธี Copy รูปมา paste ลงในไฟล์เอกสาร ซึ่งจริงๆ แล้ว ต้องใช้วิธีเลือกเมนู Insert -> Picture -> FormFile

นายภาณุภณ อธิบายเพื่มเติมว่า โดยทั่วไปแล้วเมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จก็ลงมือใช้งานทันที โดยที่ยังไม่ได้ตั้งค่าอะไรเลย แม้แต่ Font ที่จะใช้งานแบบนี้ก็ทำให้เกิดปัญหาได้ว่า เวลาเปลี่ยนภาษาไทยเป็นอังกฤษ Font thai และ English ก็ไม่เหมือนกันทำให้ตัวอักษร และขีดเส้นใต้นั้นไม่เท่ากัน หรือบางครั้งต้องการจะนำข้อมูลตารางจากอีกโปรแกรมหนึ่ง มาใช้กับอีกโปรแกรมหนึ่งแทนที่จะใช้วิธี Insert กับใช้วิธี copy และนำมา paste ในอีกโปรแกรมความคลาดเคลื่อนต้องมีแน่นอน เพราะการ copy ด้วยวิธีลากเมาส์ แน่ใจได้อย่างไรว่า ข้อมูลที่ copy มานั้น ได้ทำการเลือกข้อมูล และคุณสมบัติของข้อมูลนั้นมาครบ

บก.บห.โอเพนซอร์สทูเดย์ อธิบายด้วยว่า บางปัญหาแทนที่จะโทษว่าท่านได้ติดตั้ง Driver ของ Printer ผิดเวอร์ชั่นของระบบปฏิบัติการ ทำให้พิมพ์เลขไทยผิดพลาดก็กลับมาโทษว่า เกิดจากโปรแกรมOpen Office มีบางปัญหา เกิดจาก Theme ของ Windows 7 ที่ไม่รองรับกับ Font ภาษาไทยทำให้เกิดการทับซ้อนแค่เปลี่ยนมาใช้ Theme แบบ Windows classic ก็จะไม่เกิดปัญหาดังกล่าว แต่ทางนิตยสารชื่อดังก็กลับมาเขียนบอกว่าเป็นบั๊ก ซึ่งปัญหาแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในWindows XP  แต่เพิ่งเห็นว่าเกิดขึ้นใน Windows 7 ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดของปัญหาบั๊กทั้ง 21 ข้อ และคำชี้แจงของกลุ่มนักพัฒนาโอเพนซอร์สได้ที่เว็บไซต์ http://open-is-better.blogspot.com/2010/05/openofficeorg-open-source.html


ที่มา: thairath.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)