Author Topic: ไมโครซอฟท์ เผย 8 ใน 10 พีซีซอฟต์แวร์เถื่อนติดมัลแวร์  (Read 779 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


       “ไมโครซอฟท์” เผยรายละเอียดการศึกษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ที่ได้ดำเนินการตรวจสอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ยี่ห้อต่างๆ ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ รวมทั้งซอฟต์แวร์และดีวีดีปลอมจากประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม
       
       โดยผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากประเทศไทย ระบุ 70% ของดีวีดีละเมิดลิขสิทธิ์และ 84% ของฮาร์ดไดรฟ์ที่ตรวจสอบพบติดมัลแวร์ที่เป็นอันตราย ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงกว่าอัตราการติดมัลแวร์โดยเฉลี่ยของทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งอยู่ที่ 69%
       
       สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อัตราการติดมัลแวร์ของซอฟต์แวร์แสดงผลอย่างมีนัยสำคัญ โดยในฟิลิปปินส์กลุ่มตัวอย่างพบจำนวนมัลแวร์ต่ำที่สุดที่ 42% อย่างไรก็ดี ทุก 2 ใน 5 คอมพิวเตอร์และดีวีดีที่ตรวจสอบพบว่าติดมัลแวร์ ส่วนเวียดนาม เป็นประเทศที่พบการติดมัลแวร์สูงสุด จากดีวีดีละเมิดลิขสิทธิ์ 66% ส่วนฮาร์ดไดรฟ์พบที่ 92%
       
       ผลการศึกษายังพบว่า ทุกเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี 3 เครื่อง (33%) ที่ตรวจสอบในประเทศไทย ฮาร์ดไดรฟ์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นฮาร์ดไดรฟ์ปลอม ซึ่งค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอัตราการที่ฮาร์ดไดรฟ์ถูกเปลี่ยนอยู่ที่ 28% จากกลุ่มตัวอย่างคอมพิวเตอร์พีซีที่ตรวจสอบ
       
       การศึกษาดังกล่าวดำเนินการโดยทีมตรวจสอบความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ (Microsoft Forensics Team) โดยเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2555 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยได้ตรวจสอบคอมพิวเตอร์พีซีและดีวีดีจำนวนทั้งสิ้น 282 รายการ
       
       นายวิพูล สันต์ ผู้อำนวยการฝ่าย Genuine Software Initiative ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไมโครซอฟท์ เปิดเผยว่า ระบบปฏิบัติการที่ติดมัลแวร์อาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์และข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลผู้ติดต่อ หรือข้อมูลเกี่ยวกับธนาคาร ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามจากเหล่าแฮกเกอร์หรืออาชญากร
       
       ผู้บริโภคควรได้รับประสบการณ์การใช้งานจากแบรนด์ชื่อดัง ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่มีปัญหาขัดข้องหรือมีความไม่สมบูรณ์ในทางใดทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ไมโครซอฟท์จึงมุ่งมั่นให้ความรู้กับผู้ค้าปลีก ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภคเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้ซอฟต์แวร์ของแท้
       
       จากการศึกษา ไมโครซอฟท์พบว่ามีมัลแวร์และการติดไวรัสที่แตกต่างกันถึง 1,131 สายพันธุ์ในกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมไปถึงโทรจันตัวฉกาจ อย่าง “ซุส” (Zeus) ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงมาก
       
       ซุส เป็นโทรจันที่ขโมยรหัสผ่านโดยอาศัยการดักจับและบันทึกการพิมพ์บนแป้นพิมพ์ หรือที่เรียกว่า “keylogging” และกลไกอื่นๆ เพื่อติดตามกิจกรรมออนไลน์ของผู้ใช้ โดยโทรจันตัวนี้จะดักจับและบันทึกการพิมพ์บนแป้นพิมพ์ หรือ keyloggers จะบันทึกทุกจังหวะการพิมพ์ของผู้ใช้งานเพื่อทำการขโมยข้อมูลส่วนตัว ซึ่งรวมไปถึงชื่อบัญชีผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน โดยอาชญากรจะนำข้อมูลในส่วนนี้ ไปขโมยความเป็นตัวตนของเหยื่อ และเข้าใช้งานบัญชีส่วนตัว
       
       ข้อมูลจากทีมงานตรวจสอบความปลอดภัย (Security Forensics) ของไมโครซอฟท์ยังได้ระบุอีกว่า พบวินโดวส์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีมัลแวร์ฝังอยู่แพร่ขยายไปยังคอมพิวเตอร์พีซีที่เป็นที่รู้จักหลายแบรนด์ ไมโครซอฟท์เชื่อว่ารูปภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือมัลแวร์ไม่ได้มาจากหรือติดตั้งโดยผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พีซีโดยตรง หากแต่ถูกติดตั้งโดยบุคคลที่สามหรือบริษัทในซัปพลายเชนหรือช่องทางการค้าปลายทาง เพื่อมาแทนที่ระบบปฏิบัติการของแท้ที่ไม่ได้ติดตั้งมาจากผู้ผลิตติดตั้งแต่แรก อัตราการติดมัลแวร์ของแต่ละแบรนด์มีตั้งแต่ขั้นต่ำที่ 33% ไปจนถึงขั้นสูงถึง 88%
       
       นายวิพูลกล่าวเสริมว่า หลายคนคิดว่าการซื้อคอมพิวเตอร์พีซีที่มีแบรนด์จะสามารถรับประกันได้ว่าได้รับการปกป้องจากซอฟต์แวร์ที่แฝงไว้ด้วยไวรัสหรือโทรจันที่เป็นอันตรายได้ แต่ผู้บริโภคควรระลึกว่า หากตนเองไม่สามารถระบุว่าคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาได้ถูกส่งมาพร้อมกับซอฟต์แวร์วินโดวส์ของแท้หรือไม่ พวกเข้าก็เปิดประตูรับความเสี่ยงได้เช่นกัน
       
       Company Relate Link :
       Microsoft

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)