Author Topic: กสท. เปรยประมูลทีวีดิจิตอล ส่อแววเลื่อน  (Read 663 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


    บอร์ด กสท. มีมติเปลี่ยนจากให้สำนักงานกสทช.ทำเงื่อนไขประมูลทีวีดิจิตอล เป็นทำร่างประกาศฯ ที่ต้องผ่านการประชาพิจารณ์แทน เพื่อความรอบคอบ คาดกรอบเวลาการประมูลอาจเลื่อนไปอีก พร้อมปรับแก้สเปก Set Top Box ใหม่เป็นเวอร์ชัน .1.2.1 ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลายทั่วโลก
       
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 18 ก.พ. มีมติให้ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ร่างประกาศกสทช.เกี่ยวกับการประมูลทีวีดิจิตอล ประกอบไปด้วย 1.ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ สำหรับการประกอบกิจการทางธรุกิจ พ.ศ.... 2.ร่างประกาศ กสทช. เรื่องรายละเอียดเกี่ยวกับการประมูลทีวีดิจิตอล จากเดิมที่จะให้เป็นการมอบอำนาจให้สำนักงานกสทช.เป็นผู้ออกประกาศทำหนังสือเชิญชวน (IM)
       
       'หลักเกณฑ์การประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอลอาจจะเลื่อนออกไปหน่อย เพราะต้องใช้เวลาเกือบ 3 เดือน หลังการทำประชาพิจารณ์'
       
       สำหรับกรอบเวลาการให้ใบอนุญาตโครงข่ายทีวีดิจิตอลในเบื้องต้น จะสามารถดำเนินการได้ปลายไตรมาส 1/2556 และการคัดเลือกการประกวดราคาช่องบริการสาธารณะเดือนพ.ค. 2556 ส่วนช่องบริการชุมชน ปลายปี 2556 ขณะที่ราคาเริ่มต้นการประมูลใบอนุญาต หรือ ไลเซ่นส์ทีวีดิจิตอล ประเภทธุรกิจจำนวน 24 ช่อง (รวมช่องความละเอียดสูง (HD) 4 ช่อง) นั้นจะแล้วเสร็จในเดือน ก.พ.2556 ส่วนหลักเกณฑ์การประมูลช่องธุรกิจจะแล้วเสร็จเดือน มี.ค. และจะเปิดประมูลช่วง ก.ค.-ส.ค.56 ตามลำดับ
       
       ที่ประชุมบอร์ดกสท. ยังได้มีการหารือเรื่องช่อง 7 ได้สอบถามประเด็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้อนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ตามคลื่นอนาล็อกเดิม ให้แก่ใคร โดย กสท.จะพิจารณาเรื่องนี้ในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปี 57แทน ซึ่งหลังจากช่อง 7 ได้รับใบอนุญาตแล้วต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้ใบอนุญาต 2% ของรายได้ให้แก่ กสทช. ส่วนเจ้าของสัมปทานของช่อง 7 คือกองทัพบก จะต้องส่งรายได้ค่าสัมปทานให้กระทรวงการคลัง หลังจากนั้น กระทรวงการคลังจะนำส่งรายได้ 2% เข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) ของ กสทช.ต่อไป
       
       พ.อ.นที กล่าวว่า ที่ประชุมยังมีมติเบื้องต้นให้ไปรับฟังความคิดเห็นการประชุมกลุ่มย่อย (Industry Forum) เรื่องเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ในวันที่ 27 ก.พ.2556 ในการประชุมผู้ผลิตและผู้จำหน่าย เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (Set Top Box) เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยพิจารณาให้ปรับเพิ่มมาตรฐานทางเทคนิคของกล่อง Set Top Box จากที่ใช้มาตรฐาน DVB-T2 1.3.1 ให้เป็นการใช้มาตรฐานฉบับ (Version) 1.2.1 หรือที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า เนื่องจากปัจจุบันเวอร์ชัน 1.2.1 เป็นกล่องSet Top Box ที่มีความแพร่หลายในตลาดและราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับเวอร์ชัน 1.3.1 โดยเวอร์ชัน 1.3.1 สามารถรองรับโมบายทีวี
       
       'การปรับเวอร์ชัน Set Top Box เป็น 1.2.1 เพราะเป็นเวอร์ชันที่มีความแพร่หลายในตลาดทีวีดิจิตอลทั่วโลก'
       
       อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าว ยังไม่อนุญาตให้นำเข้า Set Top Box และทีวี โดยจะเปิดให้นำเข้าได้ในเดือน มี.ค.-เม.ย.2556 ซึ่งปัจจุบันมีเอกชนเพียง 1 ราย ที่ยื่นขอนำเข้า ได้แก่ บริษัท โซนี่ ไทย และ มีผู้ที่ผลิตกล่อง Set Top Box เวอร์ชัน 1.3.1 อาทิ บริษัท สามารถ ไอ- โมบาย จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตชิบา เป็นต้น
       
       นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบให้เพิ่มมาตรฐาน EN 55013 สำหรับข้อกำหนดทางเทคนิคด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กสำหรับกล่อง Set Top Box โดยการเพิ่มมาตรฐานทางยุโรปเข้าไป พร้อมทั้งเพิ่มเติมข้อกำหนดทางเทคนิคด้านกำลังไฟฟ้าสำหรับกล่อง Set Top Box ดังนี้ 1. Set Top Box (On Mode ค่ากำลังไฟฟ้าไม่เกิน 10 วัตต์ 2. Set Top Box (Standby Mode) ค่ากำลังไฟฟ้าไม่เกิน 2 วัตต์ 3.จอโทรทัศน์ (Standby Mode) ค่ากำลังไฟฟ้าไม่เกิน 2 วัตต์
       
       Company Relate Link :
       กสทช.

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)