Author Topic: สแครชมันกับ “ดีเจแตงโม” เกมออนไลน์ฝีมือเด็กไทยไปไกลเวทีโลก  (Read 671 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai




เยาวชนไทยจับมุมสร้างสรรค์ของเกมออนไลน์ สร้างชื่อในงาน Adobe Design Achievement Awards 2012 สาขา Game Design ที่ประเทศแคนาดา ด้วยผลงาน “ดีเจแตงโม” เกมจำลองผู้เล่นเป็นนักจัดรายการเพลง เจ้าตัวเผย “ใจรัก - เรียนรู้ด้วยตนเอง” เป็นเคล็ดลับการพัฒนา พลิกบทบาทจากผู้เล่นเป็นนักสร้างสรรค์เกม ใช้ ICT ให้เกิดประโยชน์ หมดสิทธิ์ก่อโทษ
       
       “เยน” นายกมลวิทย์ สิริธนนนท์สกุล บัณฑิตหนุ่มจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดใจถึงผลงานที่เขาภาคภูมิใจ “ดีเจแตงโม” (Dj T4ngMoo Plus) เกมออนไลน์ ที่จำลองให้ผู้เล่นเป็นนักจัดรายการเพลง หรือ “ดีเจ” สามารถเลือกเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เล่นกับเพื่อนๆ ผ่านระบบ Lan พร้อมลูกเล่นสนุกๆ อีกเพียบ จนผู้เล่นทนอยู่เฉยไม่ได้ ต้องขยับแข้งขยับขา โยกย้ายไปกับจังหวะดนตรี และการ “สแครช” แผ่นเหมือนกับดีเจตัวจริงเสียงจริง ที่นอกจากจะให้ความบันเทิงแก่ผู้เล่นแล้ว สิ่งหนึ่งที่เยนอยากให้ผู้เล่นได้รับคือการฝึกจับจังหวะดนตรี และฝึกไหวพริบ ประสาทตา และประสาทสัมผัสอื่นๆ ไปพร้อมกัน
       
       และไม่เพียงมีโอกาสโชว์ตัวไกลถึงต่างประเทศ ในประเทศ “ดีเจแตงโม” ยังคว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 9 (NSC 2010) และรางวัลรองชนะเลิศจากการแข่งขัน Thailand ICT Awards 2012 มาครองได้
       
       แต่กว่าวันแห่งความสำเร็จจะมาถึงได้ ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ๆ ก็ผุดบังเกิดขึ้น เยนเล่าว่าเส้นทางการเป็นนักพัฒนาเกมเริ่มต้นมาจากความชอบ บวกกับความมุ่งมั่นตั้งใจ วางกติกาให้ตัวเองในเรื่องการเรียน เจียดเวลาทำการบ้าน โดยอาศัยช่วงเวลาที่เหลือก่อนเข้านอนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากหนังสือภาษาต่างประเทศ ค้นหาเพิ่มเติมจาก google.com และกระทู้ถาม - ตอบของแวดวงคนรักการทำเกมในโลกอินเทอร์เน็ต ลองผิดลองถูกนานนับแรมปี เปลี่ยนเขาจากเด็กที่ไม่มีพื้นฐานด้านการพัฒนาเกม และไม่ได้เรียนจบในด้านนี้ มาเป็นนักผลิตเกมหน้าใหม่ ขณะที่คุณพ่อคุณแม่ก็ให้การสนับสนุน ผลักดันให้ลูกได้ทำในสิ่งที่รัก ให้กำลังใจหนุนเสริม และคอยใส่ใจดูแลสุขภาพ
       
       “ผมค้นพบว่าตัวเองชอบเกม ก็ตอนที่ได้มีโอกาสทำเกมลงบนหน้าเว็บแล้วมีคนมาเล่นเกมของเรา ทำให้ผมรู้สึกว่าถ้าผมได้ทำแบบนี้ก็น่าจะดี เพราะตัวผมเองก็มีความสุขด้วย” เยนเล่า โดยขั้นตอนที่ยากที่สุดในการพัฒนาเกม เขาบอกว่าคือช่วงที่ทำ “กราฟิกคอล ยูสเซอร์ อินเตอร์เฟส” (graphical user interface) หรือหน้าตาของเกมที่ผู้เล่นจะได้เห็นได้สัมผัสผ่านหน้าจอฯ เพราะบางครั้งเราอาจทำกราฟิกได้ดี แต่หากไม่สามารถสื่อความให้ผู้เล่นเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อได้ก็ไม่มีความหมาย และไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากเล่น อุปสรรคนี้จึงพลอยทำให้เยนได้ฝึกทักษะการสื่อสารไปในตัว ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นจุดแข็งของเกมดีเจแตงโมอย่างไม่ต้องสงสัย
       
       ขณะที่มุมมองต่อการแข่งขัน เยนก็มีแง่มุมการคิดที่น่าสนใจ “ สำหรับการประกวดรายการของ NSC 2010 สาเหตุที่ผมเลือกส่งผลงานเข้าประกวดเนื่องจากผมมองว่ามันเป็นการแข่งขันระดับประเทศ จากปกติที่เรามักจะแข่งกันแค่ในกลุ่มเพื่อนในระดับชั้น หรือในระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น ขณะที่การแข่งขันรายการระดับประเทศนั้น จะทำให้เราได้เปิดโลกใหม่ๆ ได้เห็นผลงานของเพื่อนคนอื่นๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และทำความรู้จักกับเพื่อน ๆ ต่างสถาบัน” และจากการแข่งขันรายการนี้เองที่ทำให้เยนได้รับการสนับสนุนต่อยอดจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ซึ่งมีความประสงค์ที่จะส่งเสริม และสนับสนุนให้เยาวชนเรียนรู้ผ่านการลงมือพัฒนายกระดับซอฟต์แวร์เกมให้มีคุณภาพ ฝึกฝนทักษะการคิด พูด และการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของเยาวชนไทย ให้ได้ไปรับประสบการณ์การแข่งขันในต่างแดนไกลถึงประเทศแคนาดา ซึ่งมีผลพลอยได้คือ เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ จากการได้มีโอกาสเยี่ยมชมการทำงานของบริษัททำเกมและกราฟิกชั้นนำของโลกทั่วเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา
       
       ทั้งนี้ เยนยังได้ฝากไปถึงผู้ใหญ่ใจดีในสังคมไทย ให้เปิดโอกาสและสนับสนุนเยาวชนที่รักการทำเกมมากขึ้น อยากให้มองเกมออนไลน์ในแง่มุมของความคิดสร้างสรรค์ และการเสริมสร้างทักษะให้กับเยาวชน ไม่ใช่เพียงเรื่องของสื่อที่ไม่สร้างสรรค์และความรุนแรง ขอเพียงพื้นที่และโอกาสให้เยาวชนในการสร้างสรรค์เกมที่ดี เกมที่สร้างสรรค์ ออกสู่สังคมในวงกว้าง
       
       “สำหรับผม นิยามคำว่าเกมคือความบันเทิงอย่างหนึ่งที่เราสามารถแบ่งปันให้คนอื่นได้ ผมคิดว่าเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่หาได้ยากจากชีวิตปกติ เติมเต็มชีวิตอีกส่วนหนึ่งที่เราไม่มี แต่เราสามารถทำได้ในเกม ถ้ามองในมุมของผู้สร้างด้วยแล้ว นอกเหนือจากความบันเทิง การพัฒนาเกมยังช่วยฝึกฝนเราในเรื่องของการเขียนโปรแกรม และช่วยให้เรามีทักษะที่จะตอบรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้รวดเร็วขึ้น เพราะเกมกับเทคโนโลยีเป็นสองสิ่งที่เติบโตไปคู่กันเสมอ” หนุ่มน้อยนักพัฒนาเกมปิดท้าย

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)